บิยอร์น บอร์ก
บิยอร์น บอร์ก (สวีเดน: Björn Borg; ออกเสียง [bjœːɳ bɔrj] ) เป็นอดีตนักเทนนิสชายมือวางอันดับหนึ่งของโลกชาวสวีเดน เขาครองตำแหน่งมือวางอันดับหนึ่งรวม 109 สัปดาห์ และเป็นเจ้าของตำแหน่งชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมในประเภทชายเดี่ยว 11 สมัย โดยชนะเลิศเฟรนช์โอเพน 6 สมัย และวิมเบิลดัน 5 สมัย[1] บอร์กได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักเทนนิสชายที่เก่งที่สุด รวมทั้งเป็นหนึ่งในนักกีฬาชาวสวีเดนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[2][3][4] เขามีฉายาว่า "The Ice Man"[5] หรือมนุษย์น้ำแข็งเนื่องจากสไตล์การเล่นอันสุขุมเยือกเย็น[6][7]
บอร์กในปี 2014 | |
ชื่อเต็ม | Björn Rune Borg |
---|---|
ประเทศ (กีฬา) | สวีเดน |
ถิ่นพำนัก | Monte Carlo, Monaco |
วันเกิด | Stockholm, Sweden | 6 มิถุนายน ค.ศ. 1956
ส่วนสูง | 1.80 เมตร (5 ฟุต 11 นิ้ว) |
เทิร์นโปร | 1973 (comeback in 1991) |
ถอนตัว | 1984, 1993 |
การเล่น | Right-handed (two-handed backhand) |
ผู้ฝึกสอน | Lennart Bergelin (1971–1983) Ron Thatcher (1991–1993) |
เงินรางวัล | US$3,655,751 |
Int. Tennis HoF | 1987 (member page) |
เดี่ยว | |
สถิติอาชีพ | 654–140 (82.4%) |
รายการอาชีพที่ชนะ | 66 (8th in the Open Era) |
อันดับสูงสุด | No. 1 (23 August 1977) |
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว | |
ออสเตรเลียนโอเพน | 3R (1974) |
เฟรนช์โอเพน | W (1974, 1975, 1978, 1979, 1980, 1981) |
วิมเบิลดัน | W (1976, 1977, 1978, 1979, 1980) |
ยูเอสโอเพน | F (1976, 1978, 1980, 1981) |
การแข่งขันอื่น ๆ | |
Tour Finals | W (1979, 1980) |
WCT Finals | W (1976) |
คู่ | |
สถิติอาชีพ | 86–81 (51.2%) |
รายการอาชีพที่ชนะ | 4 |
ผลแกรนด์สแลมคู่ | |
ออสเตรเลียนโอเพน | 3R (1973) |
เฟรนช์โอเพน | SF (1974, 1975) |
วิมเบิลดัน | 3R (1976) |
ยูเอสโอเพน | 3R (1975) |
การแข่งขันแบบทีม | |
Davis Cup | W (1975) |
บอร์กเป็นนักเทนนิสชายคนแรกที่ถือสถิติชนะเลิศวิมเบิลดันติดต่อกัน 5 สมัย จากการเข้าชิงติดต่อกัน 6 สมัย (ชนะเลิศปี 1976-1980 จากการเข้าชิงในปี 1976-1981 โดยพ่ายแพ้ต่อจอห์น แม็กเอนโรในปี 1981)[8] และสถิติชนะเลิศเฟรนช์โอเพน 6 สมัย จากการเข้าชิง 6 ครั้ง ระหว่างปี 1974-1981 (6-0) ถือเป็นสถิติที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 4 ในการเข้าชิงชนะเลิศแกรนด์สแลม[9] เป็นรองเพียง พีต แซมพราส ในวิมเบิลดัน (7-0), นอวาก จอกอวิช ในออสเตรเลียนโอเพน (9-0) และราฟาเอล นาดัล ในเฟรนช์โอเพน (13-0) เขายังเป็นหนึ่งในสองผู้เล่นชาย (ร่วมกับ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์) ที่สามารถเข้าชิงชนะเลิศรายการเฟรนช์โอเพนและวิมเบิลดันติดต่อกัน 4 ปี (1978-81) และเป็นผู้เล่นคนเดียวที่สามารถชนะเลิศแกรนด์สแลมทั้ง 2 รายการดังกล่าวได้ 3 สมัยติดต่อกัน (1978-80)
นอกจากนี้ บอร์กยังเป็นผู้เล่นคนแรกที่เข้าชิงชนะเลิศวิมเบิลดัน 6 ปีติดต่อกัน[10] ก่อนที่สถิติดังกล่าวจะถูกทำลายโดยเฟเดอเรอร์ซึ่งเข้าชิงชนะเลิศ 7 ปีติดต่อกัน (2003-09) และยังเป็นผู้เล่นคนแรกที่เข้าชิงชนะเลิศเฟรนช์โอเพน, วิมเบิลดัน และยูเอสโอเพนในปีเดียวกันได้ถึง 3 ครั้ง (1978, 80-81) ก่อนที่สถิติดังกล่าวจะถูกทำลายโดยเฟเดอเรอร์เช่นกัน (2006-09) เขาคว้าตำแหน่งมือวางอันดับ 1 ของโลกเมื่อจบสิ้นปี 3 ครั้ง และชนะเลิศรายการซูเปอร์ซีรีย์ (รายการเอทีพี มาสเตอร์ ในปัจจุบัน) รวม 16 สมัย เขาได้รับการยอมรับว่าสามารถเล่นได้ดีในทุกพื้นผิวสนาม[11][12] และสามารถเข้าชิงชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมได้ในทั้ง 3 พื้นคอร์ต (เฟรนช์โอเพน, วิมเบิลดัน และ ยูเอสโอเพน)
เขาถือเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ จอห์น แม็กเอนโร ยอดผู้เล่นชาวอเมริกัน ซึ่งทั้งคู่แย่งชิงความสำเร็จกันอย่างดุเดือดในช่วงทศวรรษ 70-80[13][14][15] จึงมีการนำเรื่องราวการชิงชัยของทั้งคู่ไปทำเป็นภาพยนตร์อัตชีวประวัติที่มีชื่อเรื่องว่า Borg vs McEnroe[16] ซึ่งอ้างอิงจากเหตุการณ์การแข่งขันในแกรนด์สแลมวิมเบิลดันรอบชิงชนะเลิศเมื่อปี 1980 ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนัดชิงชนะเลิศแกรนด์สแลมเทนนิสที่สนุกตื่นเต้นที่สุดครั้งหนึ่ง[17][18] โดยได้เริ่มออกฉายในปี 2017 และได้รับเสียงตอบรับจากแฟนกีฬาเทนนิสเป็นอย่างดี[19]
บอร์กเลิกเล่นอาชีพในวัยเพียง 26 ปี (ค.ศ. 1984)[20] เนื่องจากความกดดันจากการลงเล่นอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลต่อสภาพร่างกาย และความเบื่อหน่ายในการเล่นอาชีพ และได้หันไปประกอบอาชีพเป็นนักธุรกิจหลายประเภทซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ก่อนจะกลับมาลงแข่งขันเทนนิสอาชีพอีกครั้งในวัย 33 ปี และเลิกเล่นอย่างถาวรในปี 1993 เขาไดรับการเสนอชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศของสมาคมเทนนิสนานาชาติใน ค.ศ. 1987
ชีวิตส่วนตัว
แก้บียอร์น บอร์ก เกิดที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 1956[21] เป็นลูกชายคนเดียวของนายรูน ซึ่งประกอบอาชีพช่างไฟฟ้าและอดีตนักปิงปองอาชีพ และนางมาร์กาเรธา บอร์ก เขาเติบโตขึ้นมาในบริเวณใกล้เคียง Södertälje ในวัยเด็กเขาประทับใจไม้เทนนิสสีทองที่พ่อของเขาได้รับจากการชนะเลิศการแข่งขันการกุศลรายการหนึ่ง (คุณพ่อของเขาแข่งขันปิงปองแต่กลับได้รางวัลเป็นไม้เทนนิส) ซึ่งพ่อของเขามอบแร็กเกตนั้นให้กับเขา และนั่นเป็นแรงบันดาลใจทีทำให้บอร์กอยากเป็นนักเทนนิส
เมื่อเห็นว่าลูกชายมีความฝัน พ่อและแม่ของบอร์ก จึงสนับสนุนลูกชายคนนี้อย่างเต็มที่ พร้อมกับถ่ายทอดเรื่องความเป็นมืออาชีพในฐานะของนักกีฬา ความมุ่งมั่นตั้งใจ อดทนกับการฝึกฝน จนทำให้บอร์กพัฒนาฝีมือของตัวเองอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เริ่มต้นอาชีพนักเทนนิส เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนักกีฬาที่เก่งกาจและมีความอดทนสูง เขามีสไตล์การเล่นที่โดดเด่น โดยสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างว่องไว กล้ามเนื้ออันแข็งแรงของเขาทำให้เขาสามารถตีลูกท็อปสปินได้อย่างหนักๆหน่วง ทั้งโฟร์แฮนด์และแบ็คแฮนด์สองมือ ทำใหเขาสามารถเล่นได้ดีทั้งในคอร์ตดินและคอร์ตหญ้า เมื่ออายุได้ 13 ปี เขาก็เอาชนะผู้เล่นรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปีที่ดีที่สุดของสวีเดนและคว้าแชมป์ระดับเยาวชนได้
ประวัติการเล่นอาชีพ
แก้ความแข็งแกร่งของ บอร์ก ทำให้ เลนนาร์ท เบอร์เยลิน นักเทนนิสชายอันดับหนึ่ง 1 ของสวีเดน ในช่วงปลายยุค 60 เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนจนบอร์กได้ติดทีมชาติสวีเดน ลงแข่งขันรายการเดวิส คัพ (Davis Cup) ในปี 1972 ในวัยเพียง 15 ปี[22]
หลังจากเก็บประสบการณ์ในการแข่งขันระดับชาติ บอร์กเปิดตัวอย่างเป็นทางการด้วยการคว้าแชมป์วิมเบิลดันในระดับเยาวชน ในปีเดียวกัน ทำให้เมื่อเข้าสู่ปี 1973 บอร์กในวัย 16 ปี ได้รับอนุญาตลงแข่งขันในรายการอาชีพ โดยไม่ต้องรอให้อายุครบ 18 ปี[23] และในปีแรกที่เขาเริ่มเล่นอาชีพเขาสามารถเข้าชิงชนะเลิศได้ถึง 4 รายการแต่ยังไม่สามารถคว้าแชมป์รายการใดมาครองได้
อย่างไรก็ตามในปี 1974 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ในอาชีพของเขาอย่างแท้จริง โดยบอร์กสามารถคว้าแชมป์อย่างเป็นทางการได้ตั้งแต่รายการแรกของปีที่ นิวซีแลนด์ โอเพน ก่อนจะคว้าแชมป์เพิ่มได้อีก 6 รายการรวมเป็น 7 รายการในปีนี้ รวมทั้งสามารถชนะเลิศแกรนด์สแลมได้เป็นครั้งแรกจากรายการเฟรนช์โอเพน ในวัยเพียง 18 ปี 8 วัน[24] กลายเป็นแชมป์เฟรนช์โอเพนที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ณ เวลานั้น (สถิตินี้ของบอร์กถูกทำลายในปี 1989 โดย ไมเคิล ชาง นักเทนนิสชาวสหรัฐอเมริกา)[25][26][27]
เขายังคงครองสถิติคว้าแชมป์เฟรนช์โอเพน ได้ 6 สมัยจากการเข้าชิงทั้งหมด 6 ครั้งในช่วงระหว่างปี 1974-1981 นอกจากนี้ยังประกาศศักดาคว้าแชมป์วิมเบิลดันได้ถึง 5 สมัยติดต่อกัน ก่อนจะประกาศเลิกเล่นเทนนิสแบบเหนือความคาดหมายในปี 1983 ด้วยวัยเพียงแค่ 26 ด้วยเหตุผลเรื่องของความกดดันจากการแข่งขันที่ทำให้สภาพร่างกายเหนื่อยล้าเกินไป ในช่วงปี 1991 บอร์กได้ตัดสินใจหวนคืนสู่วงการเทนนิสอีกครั้ง แต่การกลับคืนสู่วงการในครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนอย่างตำนานที่เคยทำได้ และเขาไม่สามารถคว้าชัยชนะจากการแข่งขันได้อีกเลยแม้แต่นัดเดียว จึงได้ตัดสินใจเลิกเล่นอาชีพอย่างถาวรในปี 1993[28]
ภาพลักษณ์
แก้บอร์ก มีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น ติดตาแฟนเทนนิสโลกในช่วงยุค 80 เนื่องจากเจ้าตัวชอบไว้ผมยาว[29] และหนวดเครารุงรัง[30] พ่อและแม่รวมถึงแฟนเทนนิสบางคนพยายามที่จะเกลี้ยกล่อมให้เขาเปลี่ยนภาพลักษณ์เพื่อให้ดึงดูดสปอนเซอร์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เขากลับมาเล่นอาชีพเป็นครั้งที่สองในช่วงต้นปี 90 บอร์กได้มีการเปลี่ยนภาพลักษณ์โดยการตัดผมและโกนหนวดเคราเป็นบางครั้ง
สถิติโลก
แก้บิยอร์น บอร์ก ครองสถิติโลกในวงการเทนนิสจำนวน 4 รายการได้แก่
- ทำสถิติคว้าชัยชนะในแกรนด์สแลมวิมเบิลดันจำนวน 41 นัดติดต่อกัน (ค.ศ.1976-81)
- เป็นผู้เล่นที่มีเปอร์เซนต์การคว้าชัยชนะในแกรนด์สแลมวิมเบิลดันมากที่สุด (92.73%)
- ชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมโดยเสียคะแนนให้คู่แข่งตลอดการแข่งขันน้อยที่สุด (เฟรนช์โอเพน ค.ศ. 1978)
- เป็นผู้เล่นที่มีสถิติการคว้าชัยชนะจากการแข่งขันเซตตัดสิน (เซตที่ 5) ที่ดีที่สุดในเอทีพี (ชนะ 20, แพ้ 3: 86.96%)
อ้างอิงและเชิงอรรถ
แก้- ↑ "Compare and contrast" เก็บถาวร 2012-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jon Wertheim, Sports Illustrated, September 23, 2002
- ↑ "Björn Borg". IMDb.
- ↑ Keady, Martin (18 เมษายน 2020). "The Greatest: The Men and Women Who Made Tennis. No. 3 – Björn Borg". Last Word On Tennis (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Fincher, Donald. "Best Tennis Player of All Time: Bjorn Borg". Bleacher Report (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Bjorn Borg dominated Wimbledon and was known to many as The Ice Man of tennis". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Björn Borg: the man with ice in his stomach". www.newstatesman.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "January 15, 1981: The day ice-man Bjorn Borg lost his cool". Tennis Majors (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 15 มกราคม 2021.
- ↑ มีนักเทนนิสสองคนที่ทำสถิติเทียบเท่าหรือดีกว่า ได้แก่ พีท แซมพราส ชนะเลิศ 7 ครั้งจากการเข้าชิง 7 ครั้ง ระหว่างปี 1993-2000 เว้นปี 1996 ที่ไม่ได้เข้าชิง และโรเจอร์ เฟเดอเรอร์ ชนะเลิศ 6 ครั้งจากการเข้าชิง 7 ครั้งติดต่อกัน ระหว่างปี 2003-2009 โดยชนะเลิศ 5 ครั้งติดต่อกันระหว่างปี 2003-2007
- ↑ "Borg still making the shots", Douglas Robson, USA Today, May 25, 2006
- ↑ "Bjorn Borg | Overview | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
- ↑ "The greatest: Bjorn Borg – enigma with a bomb-proof winning mentality | Tim Lewis". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 10 กรกฎาคม 2020.
- ↑ Subra, Rohan. "Men's Tennis: The 5 Best Clay-Court Players of All Time". Bleacher Report (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "BBC Two - Borg vs McEnroe". BBC (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ Maiorana, Sal (14 กรกฎาคม 2020). "40 years ago, Bjorn Borg and John McEnroe put forth a brilliant Wimbledon final". Medium (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Bjorn Borg VS John McEnroe | Head 2 Head | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
- ↑ Haylock, Zoe; Haylock, Zoe (15 เมษายน 2018). "'Borg vs. McEnroe': 5 Cast Members and Their Real-Life Inspirations". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Wimbledon - July 5, 1980: The Borg vs McEnroe final". Tennis Majors (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 5 กรกฎาคม 2021.
- ↑ Keady, Martin (10 กรกฎาคม 2021). "The Five Finest Wimbledon Men's Finals Ever". Last Word On Tennis (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Borg vs. McEnroe (2017) - IMDb (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน), สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2021
- ↑ "A Life In Reverse: How The Ice-Borg warmed with age". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 23 ตุลาคม 2011.
- ↑ "Who is Björn Borg? Everything You Need to Know". www.thefamouspeople.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "December 21, 1975: Bjorn Borg leads Sweden to Davis Cup glory". Tennis Majors (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 21 ธันวาคม 2020.
- ↑ "Happy Birthday Bjorn Borg: Records of the Legendary 'Ice Man' of Tennis". News18 (ภาษาอังกฤษ). 6 มิถุนายน 2021.
- ↑ "1974 - Roland-Garros - The 2021 Roland-Garros Tournament official site". www.rolandgarros.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "RG 1989: Michael Chang's path to history - Roland-Garros - The 2021 Roland-Garros Tournament official site". www.rolandgarros.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "The Day Michael Chang Stunned Ivan Lendl At Roland Garros: 'It Was About Survival' | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
- ↑ "How Michael Chang defeated Ivan Lendl at the French Open in 1989". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 21 พฤษภาคม 2013.
- ↑ "International Tennis Hall of Fame". www.tennisfame.com.
- ↑ Nast, Condé (28 สิงหาคม 2017). "As Tennis Fever Hits Fashion Week Stockholm (and the Movies), We Look Back at Björn Borg's Smashing Style". Vogue (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Bjorn Borg Story - Bio, Facts, Networth, Family, Auto, Home | Famous Tennis Players | SuccessStory". successstory.com.