นิจิเร็นชู

(เปลี่ยนทางจาก นิกายนิจิเร็ง)

นิจิเร็นชู (ญี่ปุ่น: 日蓮宗โรมาจิNichiren-shū) เป็นนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธมหายาน นิกายนิจิเร็ง ที่ถูกตั้งขึ้นโดยศิษย์ของพระนิจิเร็ง นิกายนี้เป็นที่รู้จักในทางนานาชาติน้อยกว่า นิจิเร็นโชชู ในทางนานาชาติ นิจิเร็นชู จะหมายถึง นิกายสายคุอนจิ

นิกายนิจิเร็นชู ไม่ยอมรับที่ นิจิเร็นโชชู อ้างว่าพระนิจิเร็งได้แต่งตั้ง พระนิกโก ให้เป็นผู้สืบทอดของท่านอย่างถูกต้อง แม้ว่าพระนิกโคเองเดิมทีจะเป็นสหายของพระสงฆ์อาวุโสที่เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนิจิเร็นชูก็ตามที นิกายนี้เชื่อว่า พระพุทธะที่ปรากฏในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตรคือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า ไม่ใช่ พระนิจิเร็ง อย่างที่นิจิเร็นโชชูกล่าวอ้าง โดยเชื่อว่า พระนิจิเร็งนั้นเป็นเพียง พระโพธิสัตว์โจเกียว หรือ พระวิศิษฐ์จาริตรโพธิสัตว์ มาปรากฏตัวตามคำพยากรณ์ในสัทธรรมปุณฑริกสูตรบทที่ 21 ที่มาทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนหลังการปรินิพพานของพระศากยมุนีพุทธเจ้าเท่านั้น

เกี่ยวกับนิกาย

แก้

นิจิเร็นชูเคารพ พระนิจิเร็ง ในฐานะที่เป็น พระโพธิสัตว์ ไม่ใช่ในฐานะ พระพุทธเจ้าเหมือนที่นิจิเร็นโชชูเชื่อ โดยเชื่อว่า พระนิจิเร็งนั้นเป็นเพียง พระโพธิสัตว์โจเกียว หรือ พระวิศิษฐ์จาริตรโพธิสัตว์ มาปรากฏตัวตามคำพยากรณ์ในสัทธรรมปุณฑริกสูตรบทที่ 21 ที่มาทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนหลังการปรินิพพานของพระศากยมุนีพุทธเจ้าเท่านั้น โดยนิกายนี้จะเคารพว่า พระนิจิเร็ง เป็นทูตของพระพุทธเจ้า แต่ยังคงเชื่อว่า พระพุทธะแท้จริงนั้นคือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า อยู่และไม่ได้กล่าวว่า พระนิจิเร็งนั้นสำคัญกว่า พระศากยมุนี จึงกล่าวขนานนามท่านเป็น นิจิเร็นโชนิง เท่านั้น

ความแตกต่างอีกข้อคือ นิกายนี้จะนับถือและปฏิบัติตาม บทธรรมนิพนธ์ของพระนิจิเร็ง ซึ่งเป็นจดหมายที่ท่านเขียนถึงลูกศิษย์ต่างๆ เพียงบางฉบับเท่านั้น โดยกล่าวว่าจะเลือกเฉพาะบทธรรมนิพนธ์ที่เห็นว่าแท้จริง และเห็นจริงเท่านั้นซึ่งแตกต่างจากนิจิเร็นโชชู ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งก็คือ ในเรื่องการปฏิบัติเช่น การสวดบทธรรสารถัต "นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว" และสิ่งสักการระบูชาอย่างโงะฮนซน ซึ่งนิจิเร็นชูมองว่านี่เป็นยอดแห่งการปฏิบัติ แต่ไม่ได้ปฏิเสธการปฏิบัติแบบนิกายอื่นเช่น การนั่งสมาธิ วิปัสสนา หรือการศึกษาแบบหินยานเช่น อริยสัจ 4 เป็นต้น

นิจิเร็นชูยังปฏิเสธและไม่ยอมรับ ไดโงฮนซง ของนิจิเร็นโชชู โดยกล่าวว่าไม่มีหลักฐานใดบอกว่า พระนิจิเร็งได้จารึกไดโงฮนซงลงบนแผ่นไม้ และเชื่อว่าโงะฮนซนทุกๆองค์มีความศักดิ์สิทธิ์และพลังเท่ากัน

ในสังคมญี่ปุ่น นิจิเร็นชู นั้นมีอิทธิพลมากกว่า นิจิเร็นโชชู เพราะยังสามารถปฏิบัติพิธีแบบนิกายอื่นๆได้ เช่นการกราบไหว้พระพุทธรูป การบูชาบรวงรวงเทพเจ้า การนั่งสมาธิ การไหว้เจ้าตามศาลเจ้าต่างๆ ซึ่งแตกต่างจากนิจิเร็นโชชู ที่จะสักการะเฉพาะโงะฮนซนเท่านั้น

ข้อแตกต่างระหว่างนิจิเร็นโชชู และ นิจิเร็นชู

แก้
  • นิจิเร็นโชชูเชื่อว่า พระนิจิเร็ง เป็นพระพุทธะ ซึ่งเป็นพระพุทธะแห่งสมัยปัจฉิมธรรม ในขณะที่นิจิเร็นชู เชื่อว่า พระนิจิเร็ง เป็นเพียงพระวิศิษฐ์จาริตรโพธิสัตว์ มาปรากฏตัวตามคำพยากรณ์ในสัทธรรมปุณฑริกสูตรบทที่ 21 ที่มาทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนหลังการปรินิพพานของพระศากยมุนีพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่ได้เป้นพระพุทธะแต่อย่างใด และจะยังคงนับถือรูปเคารพของพระศากยมุนีและรวมเทวรูปของนิกายอื่นเข้าด้วยกันต่อไป
  • นิจิเร็นชู ยังคงกราบไหว้พระพุทธรูป นั่งสมาธิ วิปัสนา ต่าง ๆ ตามแบบนิกายอื่น แต่นิจิเร็นโชชูจะไม่กราบไหว้พระพุทธรูป หรือ นั่งสมาธิ วิปัสนา
  • นิจิเร็นชู ประมุขสงฆ์ ซึ่งแตกต่างกับ นิจิเร็นโชชู ที่จะมีพระสังฆราชทำหน้าที่เป็นประมุขสงฆ์ และเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในศาสนจักร
  • กลุ่มของสมาชิกของนิจิเร็นโชชูจะเรียกว่า "ฮกเคะโคะ" (Hokkeko) ในขณะที่นิจิเร็นชูเรียกว่า "ฮกเคะเคียว" (Hokkekyo)
  • พระสงฆ์นิจิเร็นโชชูจะนุ่งจีวรสีขาวและเทาเท่านั้น ในขณะที่นิกายนิจิเร็นชูจะนุ่งสีเหลือง ม่วง หรือน้ำตาลด้วย
  • นิจิเร็นชู ปฏิเสธไดโงฮนซงของนิจิเร็นโชชู โดยอ้างว่า ไม่มีหลักฐานว่าพระนิจิเร็งได้จารึกโงะฮนซนลงบนแผ่นไม้
  • ทั้งสองนิกายจะมีสิ่งสักการบูชาที่เหมือนกันคือโงะฮนซน เพียงแต่โงะฮนซนของนิจิเร็นโชชูถอดแบบออกมาจากไดโงฮนซง ส่วนนิจิเร็นชูก็จะถอดแบบมาจากโงะฮนซนต้นฉบับที่ พระนิจิเร็งมอบให้กับเหล่าพระอาวุโส และโงะฮนซนในวัดคุอนจิ
  • แม้ทั้งสองนิกายจะสักการะโงะฮนซนเหมือนกัน แต่นิกายนิจิเร็นชูนั้นจะมีการบูชาแบบผสมผสาน เช่นอาจนำพระพุทธรูปมาวางไว้ในตู้พระ (บุทสึดน) ควบคู่กับโงะฮนซน แตกต่างกับนิจิเร็นโชชูที่จะไม่เชื่อและไม่กราบไหว้รูปเคารพ โดยกล่าวว่า พระพุทธรูปเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังพระศากยมุนีปรินิพพานไปแล้วนับร้อยๆปี และไม่มีคำสั่งใดๆของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกของนิกายหินยานให้นมัสการรูปเคารพ
  • ทั้งสองนิกายจะสวดมนต์บทธรรมสารถัต (นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว) เหมือนกัน แต่นิจิเร็นโชชูจะสวดคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตรเพียงแค่บทที่ 2 และ 16 เท่านั้น ในขณะที่นิจิเร็นชูสวดทั้ง 28 บท
  • นิจิเร็นโชชูมีศูนย์กลางที่วัดไทเซกิจิ ในขณะที่ศูนย์กลางของนิจิเร็นชูคือ วัดคุอนจิ

อ้างอิง

แก้