นักภูมิศาสตร์
นักภูมิศาสตร์ เป็นผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาปรากฏการณ์ของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นบนโลก
แม้ว่านักภูมิศาสตร์จะเป็นที่รู้จักในฐานะของผู้สร้างแผนที่มาตั้งแต่อดีต แต่ความจริงแล้วแผนที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสาขาการทำแผนที่ และการทำแผนที่ก็เป็นส่วนหนึ่งของสาขาภูมิศาสตร์เช่นกัน นักภูมิศาสตร์ไม่ได้ศึกษาเพียงแต่รายละเอียดของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมมนุษย์เท่านั้น แต่รวมถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองสิ่งว่ามีผลกระทบต่อกันและกันอย่างไรบ้าง
หากแบ่งแยกตามสาขาวิชาของภูมิศาสตร์ นักภูมิศาสตร์กายภาพจะศึกษาถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติขณะที่นักภูมิศาสตร์มนุษย์จะศึกษาถึงสังคมมนุษย์ ปัจจุบันนักภูมิศาสตร์สมัยใหม่ได้มีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การรับรู้จากระยะไกล เป็นต้น มาใช้ในการทำงานทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
ขอบเขตในการศึกษา
แก้นักภูมิศาสตร์สามารถแบ่งขอบเขตการศึกษาได้ออกเป็นสามสาขาย่อยของภูมิศาสตร์ ดังนี้
- ภูมิศาสตร์กายภาพ รวมถึงธรณีสัณฐานวิทยา อุทกวิทยา วิทยาธารน้ำแข็ง ภูมิอากาศวิทยา อุตุนิยมวิทยา ปฐพีวิทยา สมุทรศาสตร์ ภูมิมาตรศาสตร์ และภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- ภูมิศาสตร์มนุษย์ รวมถึงภูมิศาสตร์เมือง ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์การเมือง ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ ภูมิศาสตร์การตลาด ภูมิศาสตร์สุขภาพ และภูมิศาสตร์เชิงสังคม
- ภูมิศาสตร์ภูมิภาค รวมถึงบรรยากาศ ชีวมณฑล และธรณีภาค
สมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิกได้กำหนดห้าหลักสำคัญของนักภูมิศาสตร์[1] ประกอบด้วย
- ที่ตั้ง (Location)
- สถานที่ (Place)
- ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (Human-Environment Interaction)
- การเคลื่อนย้าย (Movement)
- ภูมิภาค (Region)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Geography Education @". Nationalgeographic.com. 2008-10-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-07. สืบค้นเมื่อ 2016-07-17.