อุทกวิทยา (อังกฤษ: hydrology) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก คือ νερό ซึ่งแปลว่า น้ำ (water) และ μελέτη ซึ่งแปลว่า การศึกษา (study)เป็นการศึกษาการเคลื่อนที่ การกระจาย และคุณภาพของน้ำ รวมถึงวงจรอุทกวิทยา ทรัพยากรน้ำ และการดูแลน้ำอย่างยั่งยืน นักอุทกวิทยาจะมีพื้นความรู้ในด้าน ภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์โลก วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมโยธา และ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม "อุทกวิทยา" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ.2542) หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยน้ำที่มีอยู่ในโลก ดังนั้น งานด้านอุทกวิทยาจึงหมายถึง งานที่เกี่ยวกับการสำรวจ เก็บสถิติข้อมูล การศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อนำข้อมูลและความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำและการพัฒนาประเทศ คำว่า ไฮโดรโลจี (hydrology) ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษากรีกคำว่า ὕδωρ (ไฮโดร) ที่แปลว่า "น้ำ" และ λόγος (โลโกส) ที่แปลว่า "ศึกษา"

น้ำปกคลุมร้อยละ 70 ของพื้นที่ผิวโลก

ขอบเขตวิชา

แก้

ขอบเขตของวิชาอุทกวิทยา แบ่งออกเป็น 8 แขนง คือ

  • อุทกวิทยาพื้นผิวดิน
  • อุตุ-อุทกวิทยา
  • อุทกวิทยาธรณี
  • อุทกวิทยานิเวศ
  • อุทกวิทยาเกษตรกรรม
  • อุทกวิทยาไอโซโทป
  • อุทกวิทยาเคมี
  • สารสนเทศอุทกวิทยา

อ้างอิง

แก้
  • หวังวงศ์วิโรจน์, นิตยา (พ.ศ. 2551). อุทกวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  • แต้สมบัติ, ดร. วีระพล. หลักอุทกวิทยา. กรุงเทพฯ: หจก.สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์. ISBN 974-7414-37-6.