ห้าแก่นเรื่องทางภูมิศาสตร์

ห้าแก่นเรื่องทางภูมิศาสตร์ (อังกฤษ: five themes of geography) เป็นเครื่องมือทางการศึกษาสำหรับการสอนทางภูมิศาสตร์ โดยสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกัน (Association of American Geographers) ได้นำมาใช้ใน ค.ศ. 1984 ทั้งห้าแก่นเรื่องได้รับการเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาภูมิศาสตร์ (National Council for Geographic Education) ร่วมกับสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกันหรือ NCGE / AAG เรื่อง แนวทางสำหรับการศึกษาภูมิศาสตร์ โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (Guidelines for Geographic Education, Elementary, and Secondary Schools) ในชั้นเรียนด้านภูมิศาสตร์และสังคมศึกษาของประเทศสหรัฐส่วนใหญ่นำห้าแก่นเรื่องมาใช้ในการเรียนการสอน[1]

ที่ตั้ง
สถานที่
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
การเคลื่อนย้าย
ภูมิภาค

แก่นเรื่อง

แก้

ห้าแก่นเรื่องถูกแทนที่โดยมาตรฐานภูมิศาสตร์เพื่อชีวิต (the Geography for Life standards) ซึ่งเผยแพร่โดยสมาคมภูมิศาสตร์แห่งชาติ (National Geographic Society) ของสหรัฐอเมริกา มาตรฐานมีทั้งหมดสิบแปดตัวชี้วัดและประกาศใช้ใน ค.ศ. 1994 อย่างไรก็ตามทั้งห้าแก่นเรื่องยังคงถูกใช้ในสถานศึกษาหลายแห่ง[1] ห้าแก่นเรื่องประกอบด้วย[2]

ที่ตั้ง

แก้

ทุกจุดบนพื้นโลกมีที่ตั้ง ที่ตั้งสามารถระบุได้สองประเภท ดังนี้

  • ที่ตั้งสัมบูรณ์ (Absolute location) คือ ที่ตั้งที่ระบุด้วยละติจูดและลองจิจูดของโลก ตัวอย่างเช่น พิกัดของเมืองออลบานี รัฐนิวยอร์กอยู่ที่ 42.6525 องศาเหนือ และ 73.7572 องศาตะวันออก
  • ที่ตั้งสัมพันธ์ (Relative location) คือ ที่ตั้งที่ระบุด้วยสถานที่ใกล้เคียง ตัวอย่างเช่น เมืองออลบานี รัฐนิวยอร์ก อยู่ห่างจากนครนิวยอร์กประมาณ 140 ไมล์ทางเหนือ

สถานที่

แก้

สถานที่เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่นั้น ๆ ทุกสถานที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัวและทำให้แตกต่างจากสถานที่อื่น ๆ ประกอบด้วย

  • ภูมินาม (Toponym) คือ ชื่อของสถานที่ โดยเฉพาะชื่อที่ตั้งตามลักษณะภูมิประเทศ
  • ตำแหน่ง (Site) คือ บริเวณพื้นที่ที่การก่อสร้างเมือง อาคาร หรืออนุสาวรีย์
  • สภาพแวดล้อม (Situation) คือ ที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของสถานที่
  • ประชากร (Population) คือ จำนวนของผุ้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

แก้

แก่นเรื่องนี้อธิบายถึงว่าผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างไรและสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบกลับมาอย่างไร ประกอบด้วยแนวคิดหลักสามประการ[3] คือ

  • การพึ่งพา (Dependenc) คือ มนุษย์ขึ้นอยู่กับกับสิ่งแวดล้อม
  • การปรับตัว (Adaptation) คือ มนุษย์ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
  • การเปลี่ยนแปลง (Modification) คือ มนุษย์เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม

การเคลื่อนย้าย

แก้

การเคลื่อนย้าย คือการเดินทางของผู้คน สินค้า และความคิดจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น ๆ อาทิเช่น การขยายอาณาเขตไปทางตะวันตกของประเทศสหรัฐ การปฏิวัติสารสนเทศ และการย้ายถิ่นเข้าประเทศ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เช่นเครื่องบินและอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของสินค้าและอุดมการณ์สามารถผ่านไปในระยะทางที่ยาวไกลแต่ใช้เวลาน้อย การเดินทางของบุคคลจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่และตัวเลือกในการเดินทางของพวกเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนย้ายด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น รถยนต์ รถโดยสารประจำทาง เครื่องบิน และเรือ เป็นต้น

ภูมิภาค

แก้

ภูมิภาคเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ประกอบด้วยลักษณะของมนุษย์ อาทิ ประชากร หรือการเมือง และลักษณะทางกายภาพ อาทิ ภูมิอากาศ และพืชพรรณ ตัวอย่างเช่น สหรัฐถือเป็นภูมิภาคทางการเมืองเนื่องจากสหรัฐมีรัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารประเทศ

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Ganzel, Karen. "Geography Lesson Plans Using Google Earth". Lesson Planet. สืบค้นเมื่อ April 28, 2010.
  2. Rosenberg, Matt. "The Five Themes of Geography". About.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-06. สืบค้นเมื่อ November 16, 2013.
  3. "The Five Themes of Geography" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-18. สืบค้นเมื่อ 2 June 2015.