ซีโมนเปโตร

พระสันตะปาปาพระองค์แรกแห่งคริสต์จักรโรมันคาทอลิก อัครบิดรแห่งแอนติออก และสาวกของพระเยซ
(เปลี่ยนทางจาก นักบุญปีเตอร์)

ซีโมนเปโตร[1][2] (กรีก: Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (กรีก: Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร[3] (Saint Peter) (สิ้นพระชนม์ระหว่างปี ค.ศ. 64 ถึง ค.ศ. 68 ที่ เนินเขาวาติกัน)[4] เป็นอัครทูตของพระเยซู และเป็นหนึ่งในผู้นำกลุ่มแรก ๆ ของศาสนจักรยุคแรก จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ร่วมสมัย คาดว่าตำแหน่งสันตะปาปาของพระองค์จะกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 30 ไปจนถึงการสิ้นพระชนม์ ซึ่งจะทำให้พระองค์เป็นพระสันตปาปาที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดตั้งแต่ 34 ถึง 38 ปี;[4] อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของพระองค์ไม่เคยได้รับการยืนยัน

สมเด็จพระสันตะปาปา นักบุญ

เปโตร อัครทูต

Peter the Apostle
บิชอปแห่งโรม
บิชอปเเห่งแอนติออก
นักบุญเปโตร วาดโดยปีเตอร์ พอล รูเบนส์
สมณนามPetrus, Episcopus Romanus (ละติน)
เริ่มวาระค.ศ. 30?
สิ้นสุดวาระค.ศ. 64? หรือ ค.ศ. 68?
องค์ก่อนไม่มี
องค์ถัดไปสมเด็จพระสันตะปาปาลินุส
ข้อมูลส่วนพระองค์
ประสูติไม่ทราบ
สิ้นพระชนม์ประมาณ ค.ศ. 64
ข้อมูลอื่น
อัครทูต พระสันตะปาปา และมรณสักขี
นิกายโรมันคาทอลิก
อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์
แองกลิคัน
วันฉลอง29 มิถุนายน
สัญลักษณ์กุญแจ, คนถูกตรึงกางเขนห้อยหัว
องค์อุปถัมภ์ดูรายการ

คริสตชนเชื่อว่าเปโตรถูกตรึงกางเขนที่กรุงโรมภายใต้พระบัญชาของจักรพรรดิเนโร ตามธรรมเนียมแล้วเขาเป็นผู้ก่อตั้งแลบิชอปองค์แรกของคริสตจักรกรุงโรมและแอนติออก[4] แต่มีทัศนคติที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการเป็นผู้สืบทอดของเขา ตามคำสอนของคาทอลิก พระเยซูสัญญากับเปโตรถึงตำแหน่งพิเศษในคริสตจักร[5]

เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34)

หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15 ; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11)

เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19)

ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41 ; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจารย์

อ้างอิง แก้

  1. "2 เปโตร 1:1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-11. สืบค้นเมื่อ 2011-10-17.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59
  3. ประวัตินักบุญตลอดปี:นักบุญเปโตร เก็บถาวร 2012-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เขตมิสซังกรุงเทพฯ
  4. 4.0 4.1 4.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ newadvent
  5. Matthew 16:18

ดูเพิ่ม แก้

ก่อนหน้า ซีโมนเปโตร ถัดไป
   
พระสันตะปาปา
(ค.ศ. 30 — ค.ศ. 67)
  สมเด็จพระสันตะปาปาลินุส