การขยายเขตเมือง

(เปลี่ยนทางจาก นคราภิวัฒน์)

การขยายเขตเมือง หรือ กระบวนการกลายเป็นเมือง (อังกฤษ: Urbanisation/Urbanization) หมายถึงการโยกย้ายประชากรจากพื้นที่ชนบทมายังพื้นที่เมือง การค่อย ๆ เพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เมือง และวิธีทางที่สังคมปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้[1] การขยายเขตเมืองถือเป็นขั้นตอนเด่นที่เมืองนั้นเกิดขึ้นและขยายตัวตามจำนวนผู้คนที่เริ่มเข้ามาอยู่อาศัยและทำงานในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลาง[2] ถึงแม้แนวคิดทั้งสองแบบนี้สามารถใช้แทนที่กันได้ การขยายเขตเมืองนั้นแตกต่างจากการเจริญเติบโตของเมือง (Urban growth) เพราะการขยายเขตเมืองคือ “สัดส่วนของประชากรในชาติที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่กำหนดว่าเป็นเขตเมือง” ("the proportion of the total national population living in areas classed as urban") ในขณะที่การเจริญเติบโตของเมืองหมายถึง “จำนวนผู้คนสัมบูรณ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดว่าเป็นเขตเมือง” ("the absolute number of people living in areas classed as urban")[3] องค์การสหประชาชาติระบุว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะอาศัยในเขตเมืองภายในสิ้นปี 2008[4] มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 ประมาณ 64% ของประเทศกำลังพัฒนา และ 86% ของประเทศพัฒนาแล้วจะกลายเป็นเขตมืองจากการขยายเขตเมือง[5] มีค่าเทียบเท่ากับ 3 พันล้านชาวนคร (urbanites) ภายในปี 2050 ส่วนมากจะเกิดข้นในแอฟิกาและเอเชีย[6]

ร้อยละการนคราภิวัฒน์ในแต่ละประเทศ ข้อมูลปี 2015
กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรเยอะและหนาแน่นที่สุดของประเทศไทย
มุมไบ เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในประเทศอินเดีย และหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของโลก

การขยายเขตเมืองเกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบหลายส่วน รวมถึงการออกแบบผังเมือง ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ สถาปัตยกรรม เศรษฐกิจ และการสาธารณสุข ปรากฏการณ์นี้ถือว่าเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการทำให้ทันสมัย (Modernisation) การปรับให้เป็นอุตสาหกรรม (Industrialisation) และการบวนการหาเหตุผล (Rationalisation) ในเชิงสังคมศาสตร์[7]

ในปัจจุบัน กลุ่มเมืองนคร (Urban agglomerations) ในเอเชียทั้ง โอซากะ, โตเกียว, กวางโจว, การาจี, จาการ์ตา, มุมไบ, เซี่ยงไฮ้, มะนิลา, โซล และปักกิ่ง ล้วนมีประชากรมากกว่า 20 ล้านคน ในขณะที่เดลี มีการคาดการณ์ว่าจะมีประชากรเกิน 40 ล้านคนในปี 2035[8] ส่วนเมืองเช่น เตหะราน, อิสตันบูล, เม็กซิโกซิตี, เซาเปาโล, ลอนดอน, มอสโก, นิวยอร์กซิตี, เลกอส, ลอสแอนเจลิส และไคโร ล้วนมี หรือกำลังจะมีประชากรเกิน 15 ล้านคน

อ้างอิง

แก้
  1. แปลจากภาษาอังกฤษ "Urbanization". MeSH browser. National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 5 November 2014. The process whereby a society changes from a rural to an urban way of life. It refers also to the gradual increase in the proportion of people living in urban areas.
  2. "Urbanization in". demographic partitions. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015.
  3. Tacoli, Cecilia (2015). Urbanisation, rural-urban migration and urban poverty. McGranahan, Gordon, Satterthwaite, David. London: International Institute for Environment and Development. ISBN 9781784311377. OCLC 942419887.
  4. "UN says half the world's population will live in urban areas by end of 2008". International Herald Tribune. Associated Press. 26 February 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2009.
  5. "Urban life: Open-air computers". The Economist. 27 October 2012. สืบค้นเมื่อ 20 March 2013.
  6. "Urbanization". UNFPA – United Nations Population Fund.
  7. Gries, T. and Grundmann, R., 2018. Fertility and modernization: the role of urbanization in developing countries. Journal of International Development, 30 (3), pp.493-506.
  8. worldpopulationreview.com http://worldpopulationreview.com/world-cities/delhi-population/. สืบค้นเมื่อ 2019-05-01. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)