นกเอี้ยงสาลิกา
เสียงร้อง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Sturnidae
สกุล: Acridotheres
สปีชีส์: A.  tristis
ชื่อทวินาม
Acridotheres tristis
(Linnaeus, 1766)
ชนิดย่อย
  • Acridotheres tristis melanosternus
  • Acridotheres tristis naumanni
  • Acridotheres tristis tristis
  • Acridotheres tristis tristoides
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีน้ำเงิน-ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม, สีแดง-ถิ่นที่ที่ถูกนำเข้าไป)

นกเอี้ยงสาลิกา[2] หรือ นกสาลิกา[3] หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า นกเอี้ยง[3] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Acridotheres tristis) เป็นนกในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae)

นกเอี้ยงสาลิกาเป็นนกที่พบเห็นได้ง่ายในเขตเมืองหรือชุมชนของมนุษย์ มีความยาวประมาณ 25-26 เซนติเมตร ขาเรียวเล็ก นิ้วตีนแข็งแรง หัวและคอสีดำ ปากและหนังรอบตาสีเหลือง ลำตัวสีน้ำตาล ขอบปีกและปลายหางสีขาว หน้าอก, ท้อง และก้นสีน้ำตาลอ่อน ตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน หากินอยู่ตามพื้นดินปะปนกับนกชนิดอื่น ๆ มักเดินสลับวิ่งกระโดด มีความปราดเปรียว ชอบจิกตีต่อสู้กันเองหรือทะเลาะวิวาทกับนกชนิดอื่น ๆ

นกเอี้ยงสาลิกากินแมลงและเมล็ดพืชต่าง ๆ รวมทั้งผลไม้เป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามชายทุ่ง พื้นที่ทำการเกษตรใกล้หมู่บ้าน อาจอยู่เป็นคู่หรือรวมฝูง ชอบลงมาหากินอยู่ตามพื้นดิน ขณะหาอาหารมักส่งเสียงร้องไปด้วย มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ทำรังตามชายคาบ้านเรือนหรือตามต้นไม้ด้วยกิ่งไม้ หรือใบหญ้าแห้ง วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ผลัดกันกกไข่ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ประมาณ 14 วัน ไข่จึงฟักเป็นตัว พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ อินเดีย, อัฟกานิสถาน, พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค และปัจจุบันได้ถูกนำเข้าไปในบางพื้นที่ที่ไม่ใช่ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมด้วย[4]

นกเอี้ยงสาลิกาเป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[2]

อ้างอิง

แก้
  1. BirdLife International (2012). "Acridotheres tristis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
  2. 2.0 2.1 "นกเอี้ยงสาลิกา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-24. สืบค้นเมื่อ 2013-12-31.
  3. 3.0 3.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 1224.
  4. "Acridotheres tristis (bird) (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2013-12-31.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Acridotheres tristis ที่วิกิสปีชีส์