นกปลีกล้วยลาย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Nectariniidae
สกุล: Arachnothera
สปีชีส์: A.  magna
ชื่อทวินาม
Arachnothera magna
(Hodgson, 1837)

นกปลีกล้วยลาย (อังกฤษ: streaked spiderhunter; ชื่อวิทยาศาสตร์: Arachnothera magna) เป็นนกในสกุลนกปลีกล้วย (Arachnothera) ของวงศ์นกกินปลี มีลักษณะเด่นคือลายริ้วที่กระจายตลอดตัวยกเว้นที่หาง จะงอยปากที่ยาวโค้งกว่านกปลีกล้วยอื่น ๆ นกปลีกล้วยลายมีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในป่าดิบเขาเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน[3] ของเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นกปลีกล้วยลายเป็นนกปลีกล้วยในประเทศไทยเพียงชนิดเดียวที่จำกัดถิ่นอาศัยอยู่ในป่าบนภูเขา[4]

อนุกรมวิธาน แก้

นกปลีกล้วยลายมีชนิดย่อยที่ได้รับการรับรอง 5 ชนิดย่อยคือ[5]

ลักษณะทางกายวิภาค แก้

นกปลีกล้วยลายมีขนาดพอ ๆ กับนกกระจอก[6] ขนที่ลำตัวด้านบน ปีก และหางสีเหลืองแกมเขียวไพล คอและลำตัวด้านล่างเทาแกมขาว ทั้งลำตัวด้านบนและด้านล่างมีลายขีดเป็นริ้วตามยาวหนาแน่น แข้งและตีนสีส้มสด[3][7] หางสั้นและปีกสีเขียวไพล (เขียวมะกอกเข้ม) ปลายขนหางอาจมีจุดดำรูปใบหอก มีลักษณะเด่นต่างจากนกปลีกล้วยอื่น ๆ คือ ขนาดที่ใหญ่กว่า จะงอยปากสีดำยาวโค้ง และมีลายริ้วสีดำที่ขน

พฤติกรรม แก้

การหาอาหาร แก้

นกปลีกล้วยลายกินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังต่างที่พบบนใบไม้ แต่โดยมากมักอาศัยวนเวียนอยู่รอบ ๆ ดอกไม้ เดินไต่ไปตามกิ่งไม้เพื่อหากินน้ำหวาน ที่พบบ่อยคือ ดอกกล้วยป่า[4] มักเคลื่อนไหวเป็นฝูง และร้องเสียงดังถี่ ๆ "จี้บ จิบ ๆ"[3]

การทำรัง แก้

นกปลีกล้วยลายมักทำรังที่สานอยู่ใต้ใบกล้วย ในช่วงเลี้ยงลูกอ่อนรังของนกปลีกล้วยลายมักเป็นเป้าหมายหลักที่นกคัคคูเหยี่ยวใหญ่ (large hawk cuckoo) มักแอบมาวางไข่ให้เลี้ยง[4]

ถิ่นที่อยู่อาศัยและการกระจายพันธุ์ แก้

นกปลีกล้วยลายเป็นนกที่อาศัยป่าที่สูง (ป่าดิบเขา) ความสูง 300–1,800 เมตร[8] ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปเช่น ประเทศลาว[9] เวียดนาม มาเลเซีย และพม่า ในประเทศไทยนกปลีกล้วยลายเป็นนกประจำถิ่น[10] มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบเทือกเขาสาขาของเทือกเขาหิมาลัย ได้แก่ทางภาคเหนือและอีสานตอนเหนือ และทางภาคตะวันตกในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อาจพบได้บนภูเขาสูงทางตอนใต้สุดของประเทศไทยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา[4] และมีรายงานพบที่ป่าดิบเขาในเขตเขาช่อง จังหวัดตรัง และอุทยานแห่งชาติทะเลบัน จังหวัดสตูล[11]

นิเวศวิทยาและการอนุรักษ์ แก้

นกปลีกล้วยลายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของประเทศไทย[12] ตั้งแต่ปี 2546 ในประเภทสัตวป่าจําพวกนกลำดับที่ 594[13]

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. BirdLife International. 2016. Arachnothera magna. The IUCN Red List of Threatened Species 2016: e.T22718128A94568754. https://dx.doi.org/10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T22718128A94568754.en. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฏาคม 2022.
  2. BirdLife International (2016). "Arachnothera magna". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2016.10.
  3. 3.0 3.1 3.2 "นกปลีกล้วยลาย - eBird". ebird.org.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "นกปลีกล้วยลาย (Streaked Spiderhunter; Arachnothera magna) จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net". www.oknation.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-17. สืบค้นเมื่อ 2022-07-17.
  5. "Arachnothera magna (Streaked Spiderhunter) - Avibase". avibase.bsc-eoc.org.
  6. Ali, Salim (1996). The Book of Indian Birds. India: Oxford University Press. หน้า 299.
  7. "นกปลีกล้วยลาย Streaked Spiderhunter ( Arachnothera magna (Hodgson, 1837) )". www.lowernorthernbird.com.
  8. "นกปลีกล้วยลาย Streaked Spiderhunter ( Arachnothera magna (Hodgson, 1837) )". www.lowernorthernbird.com.
  9. พงศ์ศรัณย์ จันทร์ชุ่ม, พูขัน สายะวงสา. ความหลากหลายของนกเมืองปากซอง แขวงจําปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.[ลิงก์เสีย] �2558.
  10. "นกปลีกล้วยลาย Streaked Spiderhunter – ภาพถ่ายนกทุกชนิดที่พบในประเทศไทย".
  11. Parks, Creative Commons Attribution-ShareAlike 4 0 International Thai National. "Arachnothera magna, Streaked spiderhunter". Thai National Parks (ภาษาอังกฤษ).
  12. "นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน - ระบบฐานข้อมูลชนิดนกในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี". rspg.svc.ac.th.[ลิงก์เสีย]
  13. กฎกระทรวง พ.ศ. 2546.[ลิงก์เสีย]ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 120 ตอนที่ 74ก วันที่ 1 สิงหาคม 2546.