นกกินปลีแดง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไม่ได้จัดลำดับ: Archosauria
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
อันดับย่อย: Passeri
วงศ์: Nectariniidae
สกุล: Aethopyga
สปีชีส์: A.  temminckii
ชื่อทวินาม
Aethopyga temminckii
(Müller S., 1843)
นกกินปลีแดงตัวเมีย ที่ดอยอ่างขาง ประเทศไทย

นกกินปลีแดง (อังกฤษ: Temminck's sunbird; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aethopyga temminckii) เป็นนกกินปลีในสกุล Aethopyga ของวงศ์นกกินปลี พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่เกาะบอร์เนียว, เกาะสุมาตรา, คาบสมุทรมลายู และภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ในเขตร้อนชื้น แถบป่าภูเขา พบได้ที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,800 เมตร[2][3]

อนุกรมวิธาน แก้

นกกินปลีแดง ได้รับการตั้งชื่อสามัญภาษาอังกฤษและชื่อทวินามเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ เคินราด จาคอบ เทมมิงค์ (Coenraad Jacob Temminck) ขุนนางชาวดัตช์และนักสัตววิทยา[4]

นกกินปลีแดงได้รับการพิจารณาว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่เป็นชนิดเดียวกับ นกกินปลีชวา (Aethopyga mystacalis) ซึ่งสามารถเรียกอย่างกว้าง ๆ ได้ทั้งชื่อ Aethopyga mystacalis หรือ temminckii (sensu lato)[5] นกชนิดนี้ไม่มีชนิดย่อย

ชื่อภาษาอินโดนีเซีย คือ burung-madu ekor-merah หรือ burungmadu ekor-merah และเรียกชื่อ burung kelicap merah ในภาษามลายู[5]

ลักษณะทางกายวิภาค แก้

นกกินปลีแดงจัดเป็นนกขนาดกลางในกลุ่มนกกินปลีต่าง ๆ[6] ตัวเมียมีลำตัวยาว 10 เซนติเมตร และนกตัวผู้ยาว 12.5 เซนติเมตร นกตัวผู้มีหางยาว และขนทั้งตัวและหางส่วนใหญ่เป็นสีแดง ยกเว้นท้องสีเทา แถบสีเหลืองและสีม่วงที่โคนหาง (สะโพก) และมีแถบสีม่วงสี่แถบคาดตรงโคนจะงอยปากเป็นรูป 4 แฉก[2][7] นกตัวผู้เมื่อยังไม่โตเต็มวัยคล้ายตัวเมียแต่มีจุดแดงประปรายที่คอและท้ายทอย[8][9] ตัวเมียเป็นสีมะกอกเข้ม ยกเว้นขนที่ปีกและหางเป็นสีน้ำตาลแดง[2]

ถิ่นที่อยู่อาศัยและการกระจายพันธุ์ แก้

นกกินปลีแดงอาศัยในป่าดิบเขาและตีนเขา ในเขตร้อน ในประเทศไทย มาเลเซีย ทั้งบนคาบสมุทรมลายูและเกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย [1][5] มีถิ่นที่อยู่อาศัยค่อนข้างกว้างประมาณ 2,610,000 ตารางกิโลเมตร[10]

ในประเทศไทยมีรายงานพบที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช, อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี จังหวัดสงขลา, อุทยานแห่งชาติบางลางและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ในเขตปกครองจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส[2]

นิเวศวิทยาและการอนุรักษ์ แก้

นกกินปลีแดงจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของประเทศไทย ตั้งแต่พ.ศ. 2546 ในประเภทสัตวป่าจําพวกนกลำดับที่ 179[11]

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 BirdLife International (2016). "Aethopyga temminckii". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T103804369A104300960. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T103804369A104300960.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Parks, Creative Commons Attribution-ShareAlike 4 0 International Thai National. "Aethopyga temminckii, Temminck's sunbird". Thai National Parks (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]
  3. Haan, W. de; Korthals, P. W.; Müller, Salomon; Schlegel, H.; Temminck, C. J.; Oost-Indië (Netherlands), Natuurkundige Commissie in (1839). Verhandelingen over de natuurlijke geschiedenis der Nederlandsche overzeesche bezittingen. Vol. 1. Leiden: In commissie bij. S. en J. Luchtmans en C.C. van der Hoek.
  4. Beolens, Bo; Watkins, Michael (2003). Whose Bird? Men and Women Commemorated in the Common Names of Birds. London: Christopher Helm. pp. 335–336.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Aethopyga temminckii (Temminck's Sunbird) - Avibase". avibase.bsc-eoc.org.
  6. "นกกินปลีแดง - eBird". ebird.org.
  7. "นกกินปลีแดง Temminck's Sunbird – ภาพถ่ายนกทุกชนิดที่พบในประเทศไทย".
  8. Naden, Benjamin (2017-08-09), Aethopyga temminckii - young male, สืบค้นเมื่อ 2022-07-16
  9. Naden, Benjamin (2017-08-09), Aethopyga temminckii - young male, สืบค้นเมื่อ 2022-07-16
  10. "Temminck's Sunbird (Aethopyga temminckii) - BirdLife species factsheet". datazone.birdlife.org.
  11. กฎกระทรวง พ.ศ. 2546.[ลิงก์เสีย]ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 120 ตอนที่ 74ก วันที่ 1 สิงหาคม 2546.
บรรณานุกรม