ธงชาติสหภาพโซเวียต
ธงชาติสหภาพโซเวียต ประกอบด้วยพื้นธงสีแดงและรูปค้อนเคียวบนขอบธงด้านซ้ายบน สีแดงแสดงถึงสีของพรรคคอมมิวนิสต์ และระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ส่วนค้อนเคียวแสดงถึงชนชั้นกรรมาชีพ อันเป็นชนชั้นที่สำคัญที่สุดในระบอบคอมมิวนิสต์
ธงแดง (The Red Banner[1]) | |
การใช้ | ธงพลเรือน ธงเรือพลเรือน ธงราชการ และ ธงเรือรัฐบาล |
---|---|
สัดส่วนธง | 1:2 |
ประกาศใช้ | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 (แบบแรกสุด) 15 สิงหาคม พ.ศ. 2523 (แบบสุดท้าย) |
ลักษณะ | ธงแดงเกลี้ยง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปค้อนเคียวไขว้สีทอง และดาวแดงขอบทอง |
ธงกองทัพแดง | |
การใช้ | ธงกองทัพ |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ลักษณะ | ธงแดงมีรูปดาวแดงขอบทอง[2] |
ธงนาวี | |
การใช้ | ธงนาวี |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ลักษณะ | ธงพื้นขาวมีรูปดาวแดงและค้อนเคียวสีแดง เบื้องล่างของธงเป็นแถบสีฟ้า |
ธงค้อนเคียวดาวแดงแบบแรกสุดประกาศใช้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 รัฐบัญญัติเกี่ยวกับธงฉบับใหม่ได้ออกบังคับใช้ ให้มีการแก้ไขรูปค้อนเคียวในธงเล็กน้อย โดยแก้ให้ด้ามค้อนยาวขึ้นและเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเคียวใหม่ ครั้งสุดท้ายที่มีการแก้ไขธงคือในปี พ.ศ. 2523 ได้แก้ให้พื้นสีแดงในธงสว่างขึ้นและได้ใช้ต่อมาจนถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในวันที่ 25 ธันวาคมในปี พ.ศ. 2534เมื่อเวลา 19.32 น. มีการลดธงชาติสหภาพโซเวียตลงจากเครมลินเป็นครั้งสุดท้ายและแทนที่ด้วยธงไตรรงค์ของรัสเซีย
ความหมายและการออกแบบ
แก้ในวัฒนธรรมรัสเซีย สีแดงเป็นสีที่มีความหมายในเชิงบวก คำว่า "แดง" (รัสเซีย: красный, krasny) มีที่มาที่เกี่ยวข้องกับคำว่า "ดีมาก" และ "ดีที่สุด" ในภาษารัสเซีย เช่นเดียวกับคำว่า "งดงาม" สิ่งนี้สามารถเห็นได้จากชื่อของจัตุรัสแดงในกรุงมอสโก และพีธีอีสเตอร์แดงของชาวคริตส์ในนิกายออร์โธดอกส์ในรัสเซีย
ในธงนี้สามารถแลเห็นอุดมคติของลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ชัดเจน พื้นสีแดงกล่าวกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของเลือดที่รินไหลของชนชั้นกรรมาชีพและชาวนา รูปดาวแดงและค้อนเคียวหมายถึงลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิสังคมนิยม โดยรูปค้อน หมายถึงชนชั้นกรรมาชีพหรือแรงงานอุตสาหกรรม รูปเคียวหมายถึงชนชั้นชาวนาหรือเกษตรกร ดาวแดงขอบทองหมายถึงกฎของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ชี้นำระบอบการปกครองของประเทศ รูปเหล่านี้ประดับไว้ที่บริเวณมุมธงบนด้านคันธง ส่วนด้านหลังธงนั้น ตามแบบของรัฐบาลสหภาพโซเวียตจะเป็นพื้นสีแดงไม่มีรูปสัญลักษณ์ใดๆ หรืออาจจะมีก็ได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีรูปสัญลักษณ์แบบเดียวกับด้านหน้าธง โดยวางตำแหน่งให้รูปดังกล่าวหันกลับด้าน [3]
แบบของธงได้กำหนดไว้ในกฎหมายชัดเจนในปี พ.ศ. 2498 เพื่อให้สามารถกำหนดลักษณะและสรางธงได้ง่ายขึ้น การกำหนดแบบธงครังนี้ได้แก้ให้ความยาวของด้ามค้อนมากขึ้น และแก้รูปทรงของเคียวเสียใหม่ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายธงดังนี้[4]
- สัดส่วนกว้างยาวธงคือ 1:2
- รูปค้อนเคียวจัดรวมกันในโครงสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งกว้างเป็น 1 ใน 4 ของส่วนกว้างธง ปลายแหลมของเคียวนั้นให้อยู่ตรงกึ่งกลางของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตอนบน ปลายด้ามค้อนและเคียวอยู่ตรงมุมล่างของสี่เหลี่ยมจตุรัสแต่ละด้าน ความยาวของด้ามค้อนนั้นเป็น 3 ใน 4 ของความยาวทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยม
- ดาวห้าแฉกจัดอยู่ในโครงสร้างรูปวงกลมขนาด 1 ใน 8 ส่วนของด้านกว้างธง ขอบวงกลมนั้นสัมผัสกับด้าบนของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
- ระยะห่างของแกนตั้งแห่งรูปดาวและค้อนเคียวจากด้านคันธงเป็น 1 ใน 3 ส่วน ของด้านกว้างธง และระยะห่างจากริมธงตอนบนเป็น 1 ใน 8 ส่วนของด้านกว้างธง
แบบธงที่มีการแก้ไขครั้งสุดท้ายได้ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2523 โดยเป็นการแก้พื้นสีแดงให้มีความสว่างขึ้น
พัฒนาการของธง
แก้-
ธงแบบไม่ป็นทางการ
พ.ศ. 2466 -
ธงชาติผืนแรก
ธันวาคม พ.ศ. 2465 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 -
ธงชาติผืนที่ 2
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 และ 12 - 18 เมษายน พ.ศ. 2466 -
ธงชาติผืนที่ 3
18 เมษายน พ.ศ. 2466 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2479 -
ธงชาติผืนที่ 4
12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 และ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2479 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2498 -
ธงชาติผืนที่ 5
19 สิงหาคม พ.ศ. 2498 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2523
ยอดธง
แก้ยอดธงคือวัตถุที่ใช้ประดับส่วนบนสุดของคันธง ในกฎหมายธงของสหภาพโซเวียตได้ระบุว่า หากธงชาตินั้นมีการใช้โดยองค์กรของทางราชการในบางโอกาส เช่นในพิธีการสำคัญ ธงชาติหรือธงราชการนั้นจะต้องมีการประดับยอดธงไว้ด้วย ลักษณะของยอดธงนั้น มีรูปทรงอย่างสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ภายในส่วนฐานของยอดธงเป็นรูปค้อนเคียว และ ส่วนยอดของยอดธงเป็นรูปดาวนั้นมีห้าแฉก[5] ยอดธงดังที่ระบุไว้ข้างต้นเป็นสีทองหรือสีเงิน มีปลอกสำหรับสวมเข้ากับด้ามคันธง หากธงดังกล่าวนี้ใช้โดยองค์กรทางทหาร แพรแถบหูกระต่ายสีแดงนั้นจะต้องผูกไว้ที่ปลอกนี้ หรือมีพิธีศพของประธานาธิบดีก็จะผูกริบบิ้นสีดำไว้ที่ยอดธงเพื่อเป็นการแสดงความอาลัย
อ้างอิง
แก้- ↑ Whitney Smith (2008). "Flag of Union of Soviet Socialist Republics". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2008-11-05.
- ↑ Volker Preuß. "Soviet Union Kriegsflagge 1918–1924" (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2008-05-05.
- ↑ https://www.fotw.info/flags/su.html#rev Flags of the World Soviet Union page
- ↑ ПОЛОЖЕНИЕ О ГОСУДАРСТВЕННОМ ФЛАГЕ СОЮЗА СОВЕТСКИХ СОЦИАЛИСТИЧЕСКИХ РЕСПУБЛИК (УТВ. УКАЗОМ ПРЕЗИДИУМА ВС СССР ОТ 19.08.1955) (รัสเซีย)
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อpresby
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ธงชาติสหภาพโซเวียต ที่ Flags of the World (อังกฤษ)
- ธงชาติโซเวียตในสมัยต่างๆ