ทีมชิงตัวประกัน

ทีมชิงตัวประกัน (อังกฤษ: Hostage Rescue Team; อักษรย่อ: HRT) เป็นหน่วยยุทธวิธีชั้นยอดของสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ)[3] ทีมชิงตัวประกันได้รับการก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ความสามารถในการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลกลางเต็มเวลา เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ก่อการร้ายที่สำคัญทั่วทั้งสหรัฐ[3] ปัจจุบันนี้ ทีมชิงตัวประกันมีการบังคับใช้กฎหมายจำนวนหนึ่ง รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ความมั่นคงของชาติในสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขที่มีความเสี่ยงสูง ตลอดจนกรีธาพลข้ามน้ำข้ามทะเลร่วมกับหน่วยทหารกองบัญชาการร่วมปฏิบัติการพิเศษ (JSOC)[4]

ทีมชิงตัวประกัน
Hostage Rescue Team
แผ่นปะทีมชิงตัวประกัน
ประจำการสิงหาคม ค.ศ. 1983 (1983-08)[1]
ประเทศ สหรัฐ
หน่วยงานสำนักงานสอบสวนกลาง
รูปแบบหน่วยตำรวจยุทธวิธี
บทบาทการบังคับใช้กฎหมาย
การต่อต้านการก่อการร้าย
การปฏิบัติการพิเศษ
ขึ้นกับกลุ่มรับมือเหตุฉุกเฉิน
กองบัญชาการควอนติโก รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐ
คำขวัญเซร์บาเร บิตัส ("เพื่อช่วยชีวิต")
ชื่อย่อHRT
โครงสร้างหน่วย
กำลังปฏิบัติการ149 นาย (ค.ศ. 2020)[2]
ผู้บังคับบัญชา
ผบ.ที่มีชื่อเสียงแดนนี โคลสัน

ทีมชิงตัวประกัน, หน่วยเจรจาต่อรองในสถานการณ์วิกฤติ (CNU), ทีมหน่วยสวาตสนาม และหน่วยเฮลิคอปเตอร์ทางยุทธวิธี (THU) ประกอบเป็นหมวดยุทธวิธีกองตอบโต้สถานการณ์วิกฤติ (CIRG) ของเอฟบีไอ[4] ทีมชิงตัวประกันได้รับการก่อตั้งใน ค.ศ. 1982 โดยแดนนี โคลสัน อดีตรองผู้ช่วยผู้อำนวยการของเอฟบีไอ และเสร็จสิ้นแบบฝึกฝนที่ได้รับรองขั้นสุดท้ายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1983[5]

ประวัติ แก้

 
ตัวแทนของทีมชิงตัวประกันแห่งเอฟบีไอ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006

ทีมชิงตัวประกันได้รับการสร้างขึ้นมาแต่เดิมตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 และก่อตั้งขึ้นหลังจากผู้อำนวยการเอฟบีไอ วิลเลียม เอช. เว็บสเตอร์ ได้เห็นการสาธิตโดยกองกำลังเดลตาของกองทัพบกสหรัฐ[เมื่อไร?] เมื่อเว็บสเตอร์ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้โดยกองกำลังเดลตา และสังเกตเห็นว่าไม่มีกุญแจมือ เขาจึงถามเกี่ยวกับมัน ผู้ปฏิบัติการได้ตอบกลับอย่างน่ากลัว "เราใส่สองรอบบนหน้าผากของพวกเขา คนตายไม่จำเป็นต้องใส่กุญแจมือ"[6] ทีมชิงตัวประกันเดิมเป็นสวาตและทีมต่อต้านการก่อการร้าย มีความสามารถในการจัดการสถานการณ์ตัวประกันเป็นพิเศษ, ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายขนาดใหญ่, สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์หรือสารชีวภาพ หรือปฏิบัติการที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายท้องถิ่นหรือสำนักงานเขตเอฟบีไอประจำภูมิภาคไม่ได้รับการฝึกหรือมีความพร้อมในการจัดการ การอนุมัติขั้นสุดท้ายสำหรับทีมชิงตัวประกันได้รับในต้น ค.ศ.1982 และการวางแผนอย่างเป็นทางการได้เริ่มในเดือนมีนาคมของปีดังกล่าว หลักสูตรการคัดเลือกทีมชิงตัวประกันเริ่มต้นจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1982 และประกอบด้วยผู้สมัคร 30 คนสามกลุ่ม ผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นสมาชิกทีมสวาตที่มีประสบการณ์ ในกลุ่มนี้มีผู้สมัคร 50 คนที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อดำเนินการฝึกขั้นสูงต่อไป

เมื่อเสร็จสิ้นการเลือกครั้งแรก ทีมชิงตัวประกันที่ตั้งขึ้นใหม่ได้เริ่มจัดหาอุปกรณ์ที่คิดว่าจำเป็นและอัปเกรดสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกที่ควอนติโก หนึ่งในโครงการแรกคือการสร้าง "ชูตเฮาส์" ที่สร้างจากยางรถยนต์เก่าทั้งหมด เพื่อให้ทีมฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง

การปิดท้ายได้รับการเพิ่มเข้าไปในสิ่งอำนวยความสะดวกก่อนวันขอบคุณพระเจ้า ค.ศ. 1982 และหลังจากหยุดพักช่วงวันหยุดสั้น ๆ ทีมงานก็เริ่มโปรแกรมการฝึกเบื้องต้น หลังจากได้รับการแนะแนวหน่วยสวาตทางยุทธวิธีแล้ว แต่ละคนจะได้รับความเชี่ยวชาญในการวิจัย เช่น วัตถุระเบิดและยุทธวิธีการพังประตู โดยผู้ปฏิบัติการแต่ละนายยังทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับหนึ่งในทีมต่อต้านการก่อการร้ายที่มีอยู่จากทั่วโลก

ในฐานะส่วนหนึ่งของหน้าที่ประสานงาน ชายเหล่านี้ได้เข้าร่วมการฝึกซ้อมที่จัดขึ้นโดยหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายที่ได้รับมอบหมายและแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขากับทีม ทีมดังกล่าวใช้เวลาส่วนใหญ่ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1983 ในการฝึกทักษะการยิงปืนและยุทธวิธีที่ควอนติโก จากนั้นเดินทางไปที่ค่ายแบรกก์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา ในเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อรับการฝึกและชี้แนะร่วมกับเดลตาฟอร์ซของกองทัพบกสหรัฐ แล้วทีมดังกล่าวกลับไปที่ควอนติโกเพื่อรับการฝึกเพิ่มเติม จึงค่อยเริ่มปฏิบัติการในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1983[7]

 
เจ้าหน้าที่ทีมชิงตัวประกัน

แบบฝึกหัดการรับรองขั้นสุดท้ายของทีม ชื่อรหัสโอเปอเรชันอีควัสเรด ได้จัดขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1983 ที่ฐานทัพอากาศเคิร์ตแลนด์ รัฐนิวเม็กซิโก ในระหว่างการฝึก ทีมชิงตัวประกัน, ทีมสวาตในพื้นที่ และทีมค้นหาเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ (NEST) ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ได้รับมอบหมายให้โจมตีฐานที่มั่นของผู้ก่อการร้าย ยังเชื่อกันว่ากลุ่ม "ผู้ก่อการร้าย" ได้ครอบครองวัตถุระเบิดนิวเคลียร์เลียนแบบ ซึ่งอยู่ในสถานที่แยกต่างหาก และต้องได้รับการกู้คืนหรือหรือทำให้หมดสภาพ หลังจากที่อากาศยานของทีมค้นหาเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ได้ยืนยันตำแหน่งของวัตถุดังกล่าว เจ้าหน้าที่ทีมชิงตัวประกันได้แทรกซึมเข้าไปในเซฟเฮาส์ของผู้ก่อการร้าย, ทำให้ปลอดภัยจากวัตถุ และจัดการ "สังหาร" ผู้ก่อการร้ายที่เกี่ยวข้องในเวลาประมาณ 30 วินาที ผู้นำระดับสูงของเอฟบีไอมองว่าการฝึกซ้อมนี้ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์และได้ให้การอนุมัติขั้นสุดท้ายเพื่อให้ทีมสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่[7]

เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติการรับรอง ทีมชิงตัวประกันก็เริ่มขยายขีดความสามารถโดยส่งทีมผู้ปฏิบัติการกลุ่มเล็ก ๆ ออกไปสำหรับหลักสูตรการฝึกเฉพาะทางเพิ่มเติม ผู้ปฏิบัติการประมาณหนึ่งโหลได้เยี่ยมชมฐานทัพเรือสะเทินน้ำสะเทินบกโคโรนาโด เพื่อรับการฝึกนักดำน้ำยุทธวิธี, ปฏิบัติการทางทะเล และยุทธวิธี (เช่น การจัดชุดตรวจค้นและจับกุมเรือต้องสงสัย—VBSS) จากเนวีซีลสหรัฐ ส่วนสมาชิกในทีมคนอื่น ๆ ดำเนินการปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์ และฝึกการแทรกทางอากาศกับกองกำลังเฉพาะกิจ 160 ของกองทัพบกสหรัฐ รวมทั้งผู้ปฏิบัติการทุกนายยังได้รับการฝึกอบรมทางการแพทย์ 80 ชั่วโมงเช่นกัน ทีมชิงตัวประกันดังกล่าวได้เดินทางไปยังแคมป์เพียรี ใกล้เมืองวิลเลียมสเบิร์ก รัฐเวอร์จิเนีย เพื่อเข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมการต่อต้านการก่อการร้าย เพื่อพัฒนาทักษะในการทำลายสิ่งกีดขวาง, การกีดขวางบนถนน และการขับรถเชิงป้องกัน[7]

เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ปฏิบัติการทีมชิงตัวประกันได้ศึกษาร่วมกับกองทัพสหรัฐ พร้อมด้วยทีมยุทธวิธีในประเทศ, รัฐบาลกลาง และต่างประเทศ ตลอดจนเข้าร่วมหลักสูตรส่วนบุคคลเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับยุทธวิธีการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ, การโรยตัว, การต่อสู้ระยะประชิด, สารเคมี, จิตวิทยาการก่อการร้าย, วิธีการเฝ้าระวัง, การซุ่มยิง/ต่อต้านการซุ่มยิง, การสื่อสาร และอื่น ๆ ยุทธวิธีที่เรียนรู้ระหว่างการฝึกได้แบ่งให้แก่ทีมนี้ ในที่สุด สำหรับการฝึกการสู้รบอันเกิดขึ้นในระยะประชิด ทีมชิงตัวประกันได้ตัดสินใจที่จะทำให้สิ่งต่าง ๆ สมจริงมากขึ้นตามคำแนะนำจากริชาร์ด มาร์ซินโก ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาซีลทีมซิกซ์ (ภายหลังเป็นที่รู้จักในชื่อกองพัฒนาสงครามพิเศษทางเรือสหรัฐ หรือเดฟกรู) และทีมชิงตัวประกันได้แนะนำถุงเลือดกับกระสุนขี้ผึ้ง โดยกระสุนขี้ผึ้งดังกล่าวใช้สำหรับการฝึกแบบทีมปะทะทีม[6]

ทีมชิงตัวประกันกลายเป็นส่วนหนึ่งของกองตอบโต้สถานการณ์วิกฤติ (CIRG) เมื่อมีการก่อตั้งใน ค.ศ. 1994 เนื่องจากความจำเป็นในการรวมทรัพยากรที่จำเป็นต่อการตอบสนองต่อเหตุการณ์วิกฤตไว้ในกลุ่มเดียว นับตั้งแต่ได้รับการเพิ่มเข้าในกองตอบโต้สถานการณ์วิกฤต ทีมชิงตัวประกันก็ได้นำมาใช้เพื่อดำเนินการบังคับใช้กฎหมายและปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก โดยมักจะประจำการร่วมกับกองกำลังปฏิบัติการพิเศษทางทหารและหน่วยข่าวกรอง

ความสามารถ แก้

อุปกรณ์และยุทธวิธีของทีมชิงตัวประกันนั้นล้ำหน้าที่สุดใน 56 ทีมสวาตของเอฟบีไอ และทีมสวาตที่ยกระดับ 14 ทีม ตลอดจนความสามารถของทีมชิงตัวประกันมีความโดดเด่นเนื่องจากผู้ปฏิบัติการทีมชิงตัวประกัน (ทีมจู่โจมและซุ่มยิง) เข้าประจำการเต็มเวลาและฝึกทุกวัน

ทีมชิงตัวประกันมีศักยภาพ "ในการกรีธาพลภายในสี่ชั่วโมง พร้อมด้วยกำลังพลและทรัพยากรบางส่วนหรือทั้งหมด ไปยังสถานที่ใด ๆ ภายในสหรัฐหรือดินแดนของตน"[7] หน่วยนี้สามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย (ไม่ว่าจะทางสารเคมี, เย็นจัด, กลางคืนและแสงน้อย หรือสภาพแวดล้อมในชนบท)[8] ทีมยุทธวิธีของทีมชิงตัวประกันมีความสามารถในการโรยตัวด้วยเชือกเร่งด่วนซึ่งเป็นเทคนิคที่ทีมนี้ลงเชือกอย่างรวดเร็วจากด้านข้างของเฮลิคอปเตอร์ เทคนิคนี้มีประโยชน์สำหรับการส่งกองกำลังไปยังพื้นที่ที่เฮลิคอปเตอร์ไม่สามารถแตะพื้นได้ ความสามารถขั้นสูงยิ่งกว่านั้นยังมีความสามารถโดยทีมชิงตัวประกัน รวมถึงการกระโดดร่มในระยะสูงและเปิดร่มให้กางในระยะต่ำ (HALO) เป็นต้น ซึ่งความสามารถของทีมชิงตัวประกันได้แก่ ยุทธวิธีภาคพื้นดินขั้นสูง, การปฏิบัติการทางทะเลขั้นสูง และการปฏิบัติการการบินทางยุทธวิธีขั้นสูง

 
ผู้ปฏิบัติการทีมชิงตัวประกันในการฝึก

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุและอ้างอิง แก้

  1. "Timeline - FBI". FBI.
  2. Federal Tactical Teams: Characteristics, Training, Deployments, and Inventory (PDF) (Report). GAO-20-710. United States Government Accountability Office. September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ 25 January 2021.
  3. 3.0 3.1 "The Hostage Rescue Team: 30 Years of Service". Federal Bureau of Investigation. February 1, 2013.
  4. 4.0 4.1 "CIRG - FBI". Federal Bureau of Investigation.
  5. "The Hostage Rescue Team: 30 Years of Service". Federal Bureau of Investigation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-03-18. Since the first generation of HRT operators were trained in 1983, team members have deployed domestically and around the globe nearly 800 times, putting themselves in harm’s way to help safeguard the nation and to save lives.
  6. 6.0 6.1 U. S. Counter-Terrorist Forces.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "TacLink - FBI HRT". Specwarnet.net. สืบค้นเมื่อ 2012-01-14.
  8. “Anything, Anytime, Anywhere” The Unofficial History of the Federal Bureau of Investigation’s Hostage Rescue Team (HRT) เก็บถาวร ธันวาคม 4, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้

  • Thomas H. Ackerman, FBI Careers: The Ultimate Guide to Landing a Job as One of America's Finest (2004), ISBN 1-56370-890-6.
  • Danny Coulson, No Heroes: Inside the FBI's Secret Counter-Terror Force (1999), ISBN 0-671-02061-7.
  • Christopher Whitcomb, Cold Zero: Inside the FBI Hostage Rescue Team (2001), ISBN 0-316-60103-9.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้