ตอสกา

(เปลี่ยนทางจาก ทอสกา)

ตอสกา (อิตาลี: Tosca; [ˈtoska]) เป็นอุปรากรภาษาอิตาลีจำนวน 3 องก์ ประพันธ์ขึ้นโดยจาโกโม ปุชชีนี คำร้องโดยลุยจิ อิลลิกา (1857 – 1919) และจุยเซปเป จิอาโคซา (1847-1906) อุปรากรเรื่องนี้ดัดแปลงจากละครประโลมโลกเรื่อง La Tosca ของวิกตอเรียน ซาโด มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1800 ในระหว่างสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1792 - 1802) ซึ่งช่าวโรมถูกคุกคามจากการรุกรานของจักรพรรดินโปเลียน โดยเนื้อเรื่องจะแสดงออกถึงเรื่องราวการกดขี่ข่มเหง ปมฆาตกรรม และภาวะไม่สงบทางการเมือง การแสดงรอบปฐมทัศน์มีขึ้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1900 ที่โรงอุปรากร Teatro Costanzi กรุงโรม

ในช่วงปี 1889 ระหว่างที่ปุชชืนีออกเดินสายแสดงผลงานอยู่ที่อิตาลีก็มีโอกาสได้อ่านบทละครของซาโด และได้รับโอกาสดัดแปลงเนื้อเรื่องไปเป็นอุปรากรในปี 1895 ปุชชีนีใช้เวลากว่า 4 ปีเพื่อถ่ายทอดคำร้องต่าง ๆ จากภาษาฝรั่งเศสไปสู่ภาษาอิตาลีโดยได้รับแรงกดดันและการวิจารณ์มากมาย อีกทั้งการแสดงรอบปฐมทัศน์ก็ล่าช้าออกไปเพราะเนื่องจากภาวะบ้านเมืองไม่สงบ ระยะแรกของการออกแสดงนั้นไม่ได้รับคำชื่นชมจากนักวิจารณ์ [1] ภายหลังกลับประสบความสำเร็จจากการบอกต่อของผู้ชม [2] จนถึงปัจจุบัน อุปรากรเรื่องตอสกาได้กลายเป็นอุปรากรยอดนิยมที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก

บทบาท แก้

ตัวละคร ระดับเสียงขับร้อง
ฟลอเรีย ตอสกา, นักร้อง โซปราโน
มาริโอ คาวาราดอสซี, จิตรกร เทเนอร์
บารอน สกาเปีย, ผู้กำกับการ บาริโทน
เซซาเร แองเจลอตติ, อดีตกงสุลของสาธารณรัฐโรมัน เบส
ผู้ดูแลสังฆทรัพยคูหา เบส
สปอเลตตา, เจ้าหน้าที่ตำรวจ เทเนอร์
สกีอาโรเน, สารวัตรทหาร เบส
ผู้คุม เบส
เด็กเลี้ยงแกะ อัลโต
และเหล่าทหาร, เจ้าหน้าที่ตำรวจ, ผู้ช่วยพระทำพิธีในโบสถ์, ขุนนางชนชั้นสูง, ประชาชน, ช่างฝีมือ

เนื้อเรื่องย่อ แก้

 
The Battle of Marengo, as painted by Louis-François Lejeune

อ้างอิงจากบทประพันธ์คำร้องนั้นเรื่องราวตอสกาจะแสดงให้เห็นถึงเรื่องราวในช่วงเดือนมิถุนายน 1800.[3] ถ้าเราอ้างอิงให้ถูกต้องตามเรื่องราวที่ซาโดประพันธ์ในบทละคร La Tosca ก็คือช่วงวันที่ 17 -18 มิถุนายน 1800.[4]

หลังจากที่อิตาลีถูกแบ่งเขตการปกครองเป็นรัฐน้อยใหญ่มากมายโดยพระสันตปาปาแห่งกรุงโรมจะปกครองเพียงส่วนใจกลางของอิตาลีรัฐพระสันตะปาปา หลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส, กองทัพทหารฝรั่งเศสนำโดย กษัตริย์นโปเลียน เข้ารุกรานอตาลีในปี 1796 และ 11 กุมภาพันธ์ 1798 ก็สามารถเข้ายึดครองกรุงโรมและประกาศสถาปนาให้เป็น สาธารณรัฐ [5] โดยอยู่ภายใต้การปกครองของ 7 กงสุล; เนื้อเรื่องและสถานที่ในอุปรากรที่กล่าวถึงตัวละครกงสุลแองเจลล็อตตินั้นอ้างอิงจากชีวิติจริงของท่านกงสุลลิเบโร แองเจลูชชี [6] ในช่วงกันยายน 1799

ช่วงพฤษภาคมปี 1800 กษัตริน์นโปเลียนได้นำทัพเดินทางข้างเทือกเขาแอลป์มุ่งหน้าสู่อิตาลี จนวันที่14 มิถุนายนที่กองทัพของพระองค์เข้าปะทะกับกองทัพของออสเตรีย Battle of Marengo (near อเลสซานเดรีย). กองทัพออสเตรียกรีฑาทัพพร้อมกับส่งข่าวสู่โรมเพื่อประกาศชัยชนะทันทีเพราะได้เปรียบชั้นเชิงกว่ากองทัพนโปเลียน แต่ยังไม่พ้นข้ามวันกองกำลังสนับสนุนฝรั่งเศสก็เข้าเสริมช่วงบ่ายของวัยเป็นผลให้กษัตริย์นโปเลียนพลิกกลับกำชัยชนะไปได้ในที่สุด

อ้างอิง แก้

  1. Rupert Christiansen The opera that made history, Sunday Telegraph 01 Jul 2004
  2. Phillips-Matz, Mary Jane (2002). Puccini: A Biography. Boston: Northeastern University Press. ISBN 1-55553-530-5. pp. 117–120.
  3. Fisher, p. 31
  4. Burton, p. 86
  5. Nicassio, pp. 32–34
  6. Nicassio, p. 35