ทอมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งเอลกิน

ทอมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งเอลกิน และ เอิร์ลแห่งคินคาดีนที่ 11 หรือ ทอมัส เอลกิน (อังกฤษ: Thomas Bruce, 7th Earl of Elgin หรือ Thomas Elgin (ออกเสียง - เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈɛlɡɪn/ เสียง 'g หนัก') และ 11th Earl of Kincardine (ออกเสียง Kincardine)) (20 กรกฎาคม ค.ศ. 1766 - 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1841) ทอมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งเอลกิน เป็นขุนนางและนักการทูตชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากกรณีที่ไปเลาะและขนย้ายประติมากรรมที่มารู้จักกันว่า “ประติมากรรมหินอ่อนเอลกิน” (Elgin Marbles) หรือ “ประติมากรรมหินอ่อนพาเธนอน” จากเอเธนส์มายังสหราชอาณาจักร[1] ทอมัส เอลกินเป็นบุตรคนที่สองของชาร์ลส์ บรูซ เอิร์ลแห่งเอลกินที่ 5 และภรรยามาร์ธา ไวท์ (Martha Whyte) ทอมัสได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเอิร์ลแห่งเอลกินต่อจากพี่ชายวิลเลียม โรเบิร์ต บรูซ เอิร์ลแห่งเอลกินที่ 6 ในปี ค.ศ. 1771 เมื่ออายุได้ 5 ปี[1]

ทอมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งเอลกิน
Thomas Bruce, 7th Earl of Elgin
ทอมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งเอลกิน
เกิด20 กรกฎาคม ค.ศ. 1766
อสัญกรรม14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1841
บรรดาศักดิ์ขุนนางอังกฤษ
ตำแหน่งนำ “ประติมากรรมหินอ่อนเอลกิน
จากเอเธนส์มายังสหราชอาณาจักร
ขุนนางอังกฤษ - กษัตริย์อังกฤษ - ชาวอังกฤษ

ชีวิตเบื้องต้น

แก้
 
เอิร์ลแห่งเอลกินในปี ค.ศ. 1787 เมื่ออายุ 21 ปี

เอลกินเริ่มอาชีพเป็นทหารโดยการเข้าประจำการในกองทหารสกอตการ์ด และได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนขุนนางสกอตในปี ค.ศ. 1790 และดำรงตำแหน่งต่อมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1807 ในปี ค.ศ. 1791 เอลกินถูกส่งไปเป็นราชทูตพิเศษผู้รักษาการชั่วคราวยังราชสำนักออสเตรียขณะที่เซอร์โรเบิร์ต คีธยังป่วยอยู่ จากนั้นเอลกินก็ถูกส่งไปเป็นราชทูตพิเศษยังบรัสเซลส์จนกระทั่งเมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่กลับมาอังกฤษได้ระยะหนึ่งเอลกลินก็ถูกส่งตัวไปเป็นราชทูตพิเศษยังปรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1795[2]

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1799 ไม่นานก่อนที่จะไปเป็นราชทูตประจำคอนสแตนติโนเปิลเอลกินก็สมรสกับแมรี นิสเบ็ทท์ (ค.ศ. 1778–ค.ศ. 1855) บุตรีคนเดียวของวิลเลียม แฮมมิลตัน นิสเบ็ทท์[3] แมรีมาจากตระกูลเจ้าของที่ดินชาวสกอต เอลกินและแมรีมีบุตรชายด้วยกันคนหนึ่งแต่มาเสียชีวิตก่อนเอลกิน และบุตรีอีกสามคน[3]

เอลกินผู้ดำรงตำแหน่งเป็นราชทูตประจำราชสำนักของจักรวรรดิออตโตมันระหว่างปี ค.ศ. 1799 จนถึงปี ค.ศ. 1803 เป็นผู้มีพลังขันแข็งและมีความสามารถในการบริหารจัดการการดำเนินการเรื่องที่ยากในกรณีที่เกี่ยวกับอิทธิพลของอังกฤษระหว่างความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างจักรวรรดิออตโตมันและฝรั่งเศส[4]

หินอ่อนเอลกิน

แก้

เอลกินเป็นผู้มีความสนใจเป็นอันมากกับของโบราณ โครงการหนึ่งของเอลกินเมื่อไปเป็นทูตคือการสะสมของโบราณ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะกรีกโบราณด้วยตนเองโดยการวาดภาพ และหล่อโดยเฉพาะที่เอเธนส์เพื่อใช้ในการจำลองสำหรับการศึกษาและสะสมศิลปะในสหราชอาณาจักร ในการดำเนินโครงการนี้เอลกินก็รวบรวมกลุ่มศิลปินและช่างจากอิตาลีติดตัวไปด้วยก่อนที่จะไปถึงคอนสแตนติโนเปิล คณะศิลปินที่เอเธนส์หลังจากประสบอุปสรรคอยู่บ้างในที่สุดก็ได้รับอนุญาตตามพระราชกฤษฎีกาเฟอร์มันให้ทำการสำรวจอัครปุระได้อย่างเสรี และได้รับอนุญาตโดยเฉพาะให้ทำการเขียนภาพร่าง, หล่อ, ขุด และ นำแผ่นจารึกและประติกรรมนูนออกจากอัครปุระได้อย่างเสรี และดูเหมือนว่าการอนุญาตนี้มิได้จำกัดอยูแต่เพียงพาร์เธนอนเอง การเลาะแผ่นประติมากรรมเมโทเป (Metope), แถบประติมากรรมนูน (Frieze) และประติมากรรมบนหน้าจั่วเป็นการกระทำที่มาจากการตัดสินใจโดยไม่มีการไตร่ตรองล่วงหน้าโดยฟิลิป ฮันท์อนุศาสนาจารย์ประจำตัวและเลขานุการชั่วคราวของเอลกินในเอเธนส์ ผู้สร้างความกดดันต่อรัฐบาลท้องถิ่นของเอเธนส์โดยการอ้างคำอนุญาตโดยพระราชกฤษฎีกาเฟอร์มันโดยการตีความหมายอย่างกว้างๆ

ทั้งฟิลิป ฮันท์และเอลกินต่างก็ไม่มีความรู้สึกว่าการกระทำดังว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ทั้งสองต่างก็มีความรู้สึกประหลาดใจในปฏิกิริยาอันไม่ยินดียินร้ายของออตโตมัน (ผู้ที่ขณะนั้นมีอำนาจอยู่ในกรีซ) ต่อสภาวะอันเสื่อมโทรมลงของประติมากรรมต่างๆ ซึ่งเอลกินต่อมาอ้างว่าตนมีความประสงค์ที่จะพิทักษ์ประติมากรรมเหล่านี้ไว้จากการถูกทำลายระหว่างการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในสงครามกู้อิสรภาพกรีก เอลกินอ้างว่าสาเหตของการเคลื่อนย้ายงานประติมากรรมก็เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และอันที่จริงแล้วระหว่างความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างตุรกีและกรีซอัครปุระก็ถูกล้อมสองครั้ง ชาวกรีกก็อยู่ในภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกจนถึงกับยอมที่จะให้ลูกปืนแก่ฝ่ายออตโตมันที่ตั้งมั่นอยู่ผู้ที่พยายามจะหลอมตะกั่วที่ใช้เชื่อมเสาในการทำกระสุนถ้าฝ่ายออตโตมันให้สัญญาได้ว่าจะไม่ทำความเสียหายแก่พาร์เธนอน[2][4]

ระหว่างกระบวนการถอดแผ่นประติมากรรมเอลกินก็พบว่าไม่สามารถที่จะถอดจากอัครปุระได้โดยไม่ตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆ ฉะนั้นการถอดแผ่นประติมากรรมของเอลกินจึงสร้างความเสียหายเป็นอันมาก การกระทำดังว่าแม้ในสมัยของเอลกินเองก็เป็นการกระทำที่สร้างความขัดแย้ง เอลกินเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากในการทำการขนส่งชิ้นส่วนต่างๆ กลับไปยังสหราชอาณาจักรที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน[ต้องการอ้างอิง]

การถอดและขนย้ายประติมากรรมของเอลกินได้รับการสนับสนุนจากบางฝ่าย[5] แต่ก็มีผู้คัดค้านกล่าวประณามและกล่าวเปรียบเอลกินว่าเป็นผู้ขโมยทรัพย์สิน[1][6][7][8][9][10] โดยเฉพาะจากลอร์ดไบรอนกวีอังกฤษผู้เขียนติเตียนในโคลง “The Curse of Minerva” (ไทย: คำสาปของมิเนอร์วา)[11] หลังจากการโต้แย้งกันในรัฐสภาที่ตามมาด้วยการประกาศว่าการกระทำของเอลกินไม่เป็นการกระทำที่ผิดแล้ว รัฐบาลบริติชก็ทำการซื้อแผ่นประติมากรรมในปี ค.ศ. 1816 เป็นจำนวนเงิน 35,000 ปอนด์ซึ่งต่ำกว่าค่าใช้จ่ายที่เอลกินต้องเสียไปเป็นจำนวนทั้งสิ้นราว 75,000 ปอนด์ เพื่อนำไปตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์บริติช[1]ที่ยังคงตั้งแสดงอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ ขณะเดียวกันข้อขัดแย้งและปัญหาที่ว่าพิพิธภัณฑ์บริติชควรจะคืนแผ่นหินอ่อนให้แก่เอเธนส์หรือไม่ก็ยังคงดำเนินต่อไป

งานอาชีพในบั้นปลาย

แก้

ชีวิตงานอาชีพในตะวันออกใกล้ของเอลกินเต็มไปด้วยเหตุการณ์ร้ายหลายอย่างที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ยังเยาว์วัยเอลกินก็ป่วยด้วยโรคที่บรรยายว่าเป็นโรคไขข้อที่แทบจะเชื่อแน่กันว่าเป็นซิฟิลิส[2]

เมื่อกลับมาถึงอังกฤษเอลกินผู้ไม่สามารถหว่านล้อมให้พิพิธภัณฑ์บริติชชดเชยค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับการขนส่งแผ่นประติมากรรมก็ฟ้องชู้ของภรรยาเรียกร้องเงินเป็นจำนวนมาก จากนั้นในปี ค.ศ. 1807 และ ค.ศ. 1808 ก็ฟ้องหย่าภรรยาในข้อหาว่ามีชู้ในศาลอังกฤษและต่อมาศาลสกอตแลนด์ตามลำดับ และโดยพระราชบัญญัติของรัฐสภาซึ่งทำให้กลายเป็นเรื่องอื้อฉาว เมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1810 เอลกินก็แต่งงานกับเอลิซาเบธ (ค.ศ. 1790–ค.ศ. 1860) บุตรีคนสุดท้องของเจมส์ ทาวน์เซนด์ ออสวอลด์ มีบุตรด้วยกันห้าคนที่รวมทั้งเจมส์ บรูซ เอิร์ลแห่งเอลกินที่ 8 ข้าหลวงใหญ่แห่งบริติชนอร์ธอเมริกา และอุปราชแห่งอินเดีย, เซอร์เฟรเดอริค ไรท์-บรูซ ทูต และ ทอมัส ชาร์ลส์ บรูซผู้แทนราษฎรของพอร์ทสมัธ และบุตรีอีกสามคน เอลกินย้ายไปอยู่บนแผ่นดินใหญ่ยุโรปเพราะเป็นหนี้เป็นสินท่วมตัว ส่วนลูกชายคนโตก็ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในต่างประเทศ และก็มีชื่อเสียงในด้านการสร้างความเสียหายแก่วัตถุอันมีค่าทางประวัติศาสตร์ เมื่อเป็นผู้ออกคำสั่งให้ทำลายพระราชวังฤดูร้อนเดิมที่ปักกิ่ง

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Encyclopedia Britannica, Thomas Bruce, 7th earl of Elgin, O.Ed., 2008 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "BritA" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. 2.0 2.1 2.2 William St Clair, ‘Bruce, Thomas, seventh earl of Elgin and eleventh earl of Kincardine (1766–1841)’, Oxford Dictionary of National Biography, (Oxford University Press, Sept 2004; online edn, Jan 2008) [1], accessed 20 Sept 2008
  3. 3.0 3.1 Burkes' Peerage (1939 editon)
  4. 4.0 4.1 Christopher Hitchens, The Elgin Marbles: Should They Be Returned to Greece?, 1998, p.p.10-11
  5. Casey, Christopher (October 30, 2008). ""Grecian Grandeurs and the Rude Wasting of Old Time": Britain, the Elgin Marbles, and Post-Revolutionary Hellenism". Foundations. Volume III, Number 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-13. สืบค้นเมื่อ 2009-06-25.
  6. Linda Theodorou; Facaros, Dana (2003). Greece (Cadogan Country Guides). Cadogan Guides. p. 55. ISBN 1-86011-898-4.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Dyson, Stephen L. (2004). Eugenie Sellers Strong: portrait of an archaeologist. London: Duckworth. ISBN 0-7156-3219-1.
  8. Mark Ellingham, Tim Salmon, Marc Dubin, Natania Jansz, John Fisher, Greece: The Rough Guide,Rough Guides, 1992,ISBN 1858280206, p.39
  9. Chester Charlton McCown, The Ladder of Progress in Palestine: A Story of Archaeological Adventure,Harper & Bros., 1943, p.2
  10. Graham Huggan, Stephan Klasen, Perspectives on Endangerment, Georg Olms Verlag, 2005, ISBN 348713022X, p.159
  11. Atwood, Roger (2006). Stealing History: Tomb Raiders, Smugglers, And the Looting of the Ancient World. New York: St. Martin's Press. p. 136. ISBN 0312324073.

ดูเพิ่ม

แก้