พระราชกฤษฎีกาเฟอร์มัน

พระราชกฤษฎีกาเฟอร์มัน (อังกฤษ: Firman) คือกฎหมาย หรือ ประกาศที่ออกโดยประมุขของรัฐอิสลามที่รวมทั้งจักรวรรดิออตโตมัน, จักรวรรดิโมกุล และ อิหร่านที่ใช้กันมาจนกระทั่งถึงสมัยที่อยู่ภายใต้การปกครองของโมฮัมมัด เรซา ปาห์เลวี (Mohammed Reza Pahlavi) ในคริสต์ศตวรรษที่ 20

“พระราชกฤษฎีกาเฟอร์มัน” ของสุลต่านเมเหม็ดที่ 2 และ สุลต่านเบยาซิดที่ 2 ที่ตั้งแสดงอยู่ที่วัดเซนต์แมรีแห่งมองโกลในกรุงอิสตันบุลที่ประกาศอนุญาตให้ชุมชนกรีกเป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างดังกล่าว

คำว่า “firman” มาจากภาษาเปอร์เซีย “فرمان” (farmân) ที่แปลว่า “ประกาศ” หรือ “กฎ” ในภาษาตุรกีมาแผลงเป็นคำว่า “ferman”[1]

ในสมัยการปกครองของจักรวรรดิออตโตมันสุลต่านมีอำนาจจากการเป็นผู้รักษากฎหมายชาริอะห์ แต่กฎหมายชาริอะห์มิได้ครอบคลุมในทุกกรณีที่เกี่ยวกับชีวิตทางสังคมและการเมือง ฉะนั้นในการสร้างกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์และสถานะภาพต่างๆ ที่มิได้อยู่ในข่ายของชาริอะห์ สุลต่านจึงก่อตั้งการออกพระราชกฤษฎีกาที่เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเฟอร์มัน” ขึ้น[2]

อ้างอิง แก้

  1. [1]
  2. Ira M. Lapidus, A History of Islamic Societies, 2nd ed. Cambridge: Cambridge UP, 2002, 260-261