ถนนอโยธยา หรือ ทางหลวงชนบท อย.2053 สายแยกทางหลวงหมายเลข 32 - บ้านโปรตุเกส [ถนนสาย ก ผังเมืองรวมเมืองพระนครศรีอยุธยา] เป็นถนนในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท เชื่อมต่อระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3469 ระยะทาง 4.243 กิโลเมตร ลักษณะเป็นถนนคอนกรีต ขนาด 4 ช่องจราจรแบบมีเกาะกลางถนน โดยมีสะพาน 5 แห่ง ได้แก่ คลองสองขวาสองซ้ายป่าสัก คลองสาธารณะ คลองสวนพลู สะพานข้ามทางรถไฟ และสะพานอโยธยา ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

ทางหลวงชนบท อย.2053
ถนนอโยธยา, ถนนสาย ก ผังเมืองรวมเมืองพระนครศรีอยุธยา
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว4.243 กิโลเมตร (2.636 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2560–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ทล.32 ใน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 
ปลายทางทิศตะวันออก ทล.3469 ใน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ถนนอโยธยา สร้างขึ้นเพื่อเลี่ยงการจราจรเข้าเขตเมืองหลังวันหยุดและบรรเทาปัญหารถติดหนาแน่น นายจีระพงษ์ ปิณฑะบุตร ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า จากการที่กรมทางหลวงชนบทได้อนุมัติงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท ก่อสร้างถนนสาย ก ผังเมืองรวมพระนครศรีอยุธยา ตอนที่ 1 ระยะทาง 3.668 กิโลเมตร เป็นเส้นทางตั้งแต่ศูนย์ราชการจังหวัดฯ ตัดผ่านถนนคลองสวนพลู และเกาะเรียน ตลอดยาวไปถึงอำเภอเสนา ถนนสาย 347 ซึ่งต้องใช้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่นี้ และจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560 ซึ่งจะทำให้ลดการจราจรหนาแน่นในช่วงเข้าเขตเมืองได้เป็นอย่างดี สำหรับ ถนนสาย ก ผังเมืองรวมเมืองพระนครศรีอยุธยา มีจุดเริ่มต้นโครงการแยกจาก ทล.32 (บางปะอิน - นครสวรรค์) ไปทางทิศตะวันตกบรรจบกับ ทล.3469 (บางปะอิน - อยุธยา)[1]

สำหรับการตั้งชื่อถนนนั้น นายจีระพงษ์ ปิณฑะบุตร ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ได้มติผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการให้ใช้ชื่อว่า “ถนนอโยธยา” สอดรับกับชื่อของสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ ที่มีชื่อว่า “สะพานอโยธยา”[1]

กรณีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาพังถล่ม แก้

เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559 เกิดเหตุชิ้นส่วนคานสะพานคอนกรีตหล่อสำเร็จหรือเซ็กเมนท์ 9 ชิ้น ที่เชื่อมระหว่าง 2 ตอม่อของสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างแล้วถล่มลงมา ที่ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา โดยผลการตรวจสอบจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสภาวิศวกร พบว่า สะพานที่กำลังก่อสร้างซึ่งเป็นส่วนที่เกิดปัญหาขึ้นนั้น จากการดูโครงสร้างของตัวสะพานแถวที่สร้างเสร็จแล้วทำให้เห็นได้ว่า มีอุปกรณ์ติดตั้งคานสะพานด้วยโครงเหล็กเลื่อนเพื่อช่วยรับน้ำหนักบรรทุกไม่สามารถรับน้ำหนักได้ทำให้โครงเหล็กเลื่อนเสียเสถียรภาพและพลิกร่วงลงมาทำให้ชิ้นส่วนสะพานหรือเซ็กเมนท์ที่ห้อยติดไว้ใต้โครงเหล็กเลื่อนร่วงหล่นลงมาด้วย ขณะเดียวกันปลายของฐานตอม่ออีกต้นหนึ่งที่สร้างเสร็จแล้วก็ถูกดึงจนหักไปด้วยคาดว่า น่าจะเป็นความผิดพลาดในขณะก่อสร้าง[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 เตรียมเปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ - จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  2. 'สะพานอยุธยาถล่ม' ผิดพลาดขณะก่อสร้าง - Voice TV