ต่อมใต้สมอง

(เปลี่ยนทางจาก ต่อมพิทูอิตารี)

ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) เป็นต่อมที่อยู่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโปทาลามัส แบ่งได้ 3 ส่วนคือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง

ต่อมใต้สมอง
(Pituitary Gland)
ต่อมใต้สมองอยู่บริเวณฐานของสมอง ล้อมรอบโดยโครงสร้างของกระดูกที่เรียกว่าเซลลา เทอร์ซิกา (sella turcica) ของกระดูกรูปผีเสื้อ (sphenoid bone)
ภาพตัดขวางกลางลำตัวแยกซ้ายขวาผ่านต่อมใต้สมองของลิง
รายละเอียด
คัพภกรรมneural and oral ectoderm, including Rathke's pouch
หลอดเลือดแดงsuperior hypophyseal artery, infundibular artery, prechiasmal artery, inferior hypophyseal artery, capsular artery, artery of the inferior cavernous sinus[1]
ตัวระบุ
ภาษาละตินhypophysis, glandula pituitaria
MeSHD010902
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_1353
TA98A11.1.00.001
TA23853
FMA13889
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ต่อมใต้สมองส่วนหน้าและส่วนกลาง และมีต้นกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อชนิดเดียวกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นหน่วยเดียวกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นต่อมไร้ท่อแท้จริง ขณะที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อประสาท ที่ไม่ได้สร้างฮอร์โมนได้เอง แต่มีปลายแอกซอนของนิวโรซีครีทอรีเซลล์ (Neurosecretory cell) จากไฮโปทาลามัสมาสิ้นสุด และหลั่งฮอร์โมนประสาทออกมาสู่กระแสเลือด

ต่อมใต้สมองมีขนาดประมาณเม็ดถั่วลันเตา มีน้ำหนักราว 0.5 กรัม[2]

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า แก้

ต่อมใต้สมองส่วนนี้ผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ส่วนหนึ่งถูกควบคุมจากฮอร์โมนประสาทจากไฮโปทาลามัส

ฮอร์โมนที่ผลิต อวัยวะเป้าหมาย จุดประสงค์
ฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต
Growth Hormone : GH
ส่วนทั่วไปของร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต
โกนาโดโทรฟิน
Gonadotrophin : Gn
อวัยวะสืบพันธุ์ กระตุ้นการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์
โพรแลกทิน
Prolactin
ต่อมน้ำนม กระตุ้นต่อมน้ำนมสร้างน้ำนมหลังคลอด
อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน
Adrenocorticotrophin / adrenocorticotropic Hormone : ACTH
ต่อมหมวกไต กระตุ้นต่อมหมวกไตส่วนนอกให้หลั่งฮอร์โมนตามปกติ
ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์
Thyroid Stimulating Hormone : TSH
ต่อมไทรอยด์ กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างฮอร์โมนเป็นปกติ
เอนดอร์ฟิน
Endorphine
ระงับความเจ็บปวด, ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

ภาพอื่น ๆ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Gibo H, Hokama M, Kyoshima K, Kobayashi S (1993). "[Arteries to the pituitary]". Nippon Rinsho. 51 (10): 2550–4. PMID 8254920.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Smith, Robert E. (2015). Medicinal Chemistry-Fusion of Traditional and Western Medicine, Volume 3. Sharjah, United Arab Emirates: Bentham Science Publishers. p. 204. ISBN 9781681080789.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้