ตำบลแพรกษา

ตำบลในอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย

แพรกษา [แพฺรก-กะ-สา][3] เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบต่ำน้ำท่วมถึง เดิมเป็นพื้นที่ปลูกข้าว แต่ต่อมาน้ำเค็มท่วมสูงขึ้นทำให้สภาพดินเปลี่ยนไป ประชาชนจึงหันมาเลี้ยงปลาสลิดและกุ้งแทน[4] และในปัจจุบันพื้นที่บางส่วนได้แปรสภาพไปเป็นบ้านจัดสรรและโรงงานอุตสาหกรรม

ตำบลแพรกษา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Phraekkasa
ประเทศไทย
จังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอเมืองสมุทรปราการ
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด62,453[1][2] คน
รหัสไปรษณีย์ 10280
รหัสภูมิศาสตร์110110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่มาของชื่อ แก้

ตำบลแพรกษาได้ชื่อมาจากคลองแพรกษาซึ่งเป็นคลองที่แยกจากจุดบรรจบระหว่างคลองปากน้ำกับคลองบางปิ้ง ในอดีตชาวบ้านเรียกคลองสายนี้ว่า "คลองแพรกตาสา" ตามชื่อของนายสาซึ่งเป็นชาวบ้านคนหนึ่งในพื้นที่[4] (คำว่า แพรก แปลว่า "แยก" หรือ "ทางแยกของลำนํ้า") เมื่อมีการจัดตั้งตำบลก็เรียกว่า "ตำบลแพรกตาสา"[5] แต่ต่อมาเสียงได้เพี้ยนเป็น [แพฺรก-กะ-สา] ส่วนรูปเขียนก็เพี้ยนตามโดยมีการสะกดปนกันระหว่าง แพรกกะสา[6] กับ แพรกษา[7] และในที่สุดก็เหลือเพียงรูปเขียน แพรกษา ดังปัจจุบัน

ประวัติ แก้

ชนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นตำบลแพรกษาทุกวันนี้คือชาวมอญที่ย้ายมาจากปทุมธานีและปากลัด (พระประแดง) โดยได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองแพรกษาบริเวณที่เป็นหมู่ที่ 2, 3 และ 4 ทุกวันนี้ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่าแสม จาก และชะครามชายเลน[8] เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล บริเวณนี้ยังคงเป็นท้องที่หนึ่งของตำบลบางเมืองในช่วงแรก[4] จากนั้นจึงแยกพื้นที่ออกมาตั้งเป็นตำบลใหม่เรียกว่า ตำบลแพรกตาสา ซึ่งในเวลาต่อมาเพี้ยนเป็น ตำบลแพรกษา จนกระทั่งใน พ.ศ. 2538 กระทรวงมหาดไทยได้แยกพื้นที่หมู่บ้าน 5 หมู่ทางตอนเหนือและตะวันออกของตำบลนี้ออกไปตั้งเป็นตำบลแพรกษาใหม่[9]

ในด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ตําบลแพรกษาอยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 องค์กร ได้แก่ เทศบาลเมืองแพรกษาและเทศบาลตำบลแพรกษา เทศบาลเมืองแพรกษาเดิมมีฐานะเป็นสภาตําบลแพรกษา ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตําบลแพรกษาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538[10] และได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมือง (โดยไม่ผ่านการเป็นเทศบาลตำบล) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2563[11] ส่วนเทศบาลตำบลแพรกษาเดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลแพรกษา ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542[12]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ตำบลแพรกษาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองสมุทรปราการ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

ตำบลแพรกษาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน ได้แก่[9][13]

  • หมู่ที่ 1 บ้านคลองนา อยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาทั้งหมู่
  • หมู่ที่ 2 บ้านคลองเล้าหมู บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาและบางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแพรกษา
  • หมู่ที่ 3 บ้านพุทธรักษา อยู่ในเขตเทศบาลตำบลแพรกษาทั้งหมู่
  • หมู่ที่ 4 บ้านคลองหกส่วน หรือ บ้านแพรกจอมทอง บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาและบางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแพรกษา
  • หมู่ที่ 5 บ้านคลองขวาง อยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาทั้งหมู่
  • หมู่ที่ 6 บ้านคลองสมประสงค์ หรือ บ้านคลองประสงค์ บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาและบางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแพรกษา
  • หมู่ที่ 7 บ้านสุดใจ บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาและบางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแพรกษา

การคมนาคม แก้

ถนนสายหลักในพื้นที่ตำบลแพรกษา ได้แก่

ถนนสายรองในพื้นที่ตำบล ได้แก่

  • ซอยแพรกษา 11 (มังกร-นาคดี) และถนนนาคดี-มังกร (ทางหลวงท้องถิ่น สป.ถ 43-001)
  • ซอยขจรวิทย์
  • ซอยแพรกษา 14 (นิคมฯ)

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลนครสมุทรปราการ". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 อำเภอเมืองสมุทรปราการ". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 52.
  4. 4.0 4.1 4.2 ไทยตำบลดอทคอม. "ตำบลแพรกษา อำเภอเมือง สมุทรปราการ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaitambon.com/tambon/110110 เก็บถาวร 2020-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 11 มิถุนายน 2563.
  5. เช่นในประกาศกรมราชโลหกิจ เรื่อง ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดสำหรับที่ดิน แขวงเมืองสมุทปราการ พ.ศ. ๒๔๕๖
  6. เช่นในประกาศเก็บเงินอากรสวนจาก จังหวัดสมุทปราการ พ.ศ. ๒๔๖๒
  7. เช่นในประกาศกำหนดการเก็บเงินอากรสวนจาก พ.ศ. ๒๔๖๐
  8. เทศบาลตำบลแพรกษา. "ประวัติเทศบาลตำบลแพรกษา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://praksa.go.th/praksa/content/ประวัติเทศบาล เก็บถาวร 2020-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 11 มิถุนายน 2563.
  9. 9.0 9.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): 27. 9 พฤศจิกายน 2538.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 6 ง): 1–63. 3 มีนาคม 2538.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเทศบาลเมืองแพรกษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (พิเศษ 112 ง): 1. 13 พฤษภาคม 2563.
  12. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542.
  13. เทศบาลเมืองแพรกษา. "สภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.preaksa-sao.go.th/general1.php[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 11 มิถุนายน 2563.