ชะคราม

สปีชีส์ของพืช
ชะคราม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Core eudicots
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Amaranthaceae
วงศ์ย่อย: Suaedoideae
สกุล: Suaeda
สปีชีส์: S.  maritima
ชื่อทวินาม
Suaeda maritima
(L.) Dumort

ชะคราม หรือ ช้าคราม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sueda maritima) เป็นพืชล้มลุก พบทั่วไปตามชายฝั่งทะเล ที่น้ำเค็มขึ้นถึง ในไทยพบมากที่จังหวัดสมุทรสาครสมุทรสงครามและจังหวัดเพชรบุรีเป็นพืชทนเค็ม กิ่งก้านอวบน้ำ ใบแคบยาว พองกลม ปลายแหลมมีนวลจับขาว จำนวนมาก สีเขียวอมฟ้า ใบมีรสเค็ม ออกดอกตามซอกใบ ชะคราม ใช้เป็นดัชนีชี้วัดความเค็มของดินได้ โดยชะครามที่ขึ้นในดินเค็ม ใบออกสีม่วงแดง ส่วนต้นที่ขึ้นในดินจืด ใบจะออกสีน้ำเงิน[1]

ในจังหวัดชายทะเลของไทย นำยอดไปแกงกะทิ รับประทานได้เช่น แกงใส่ปู หอยแครง แกงส้ม ยำ กินกับน้ำพริกหรือใส่ในไข่เจียว ใช้เป็นยาแก้ท้องผูก ใบชะครามก่อนนำมารับประทานต้องทำให้สุกก่อน โดยรูดเฉพาะใบนำไปต้มแล้วบีบน้ำออกจนหมดรสเค็ม[2] ชาวมอญใช้ใบชะครามทำอาหารได้หลายอย่าง ใบใช้ทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น ยำชะครามปูทะเล แกงเลียง แกงคั่วกับปูทะเลหรือกุ้ง ห่อหมกชะครามโดยใช้ชะครามแทนใบยอ แกงส้ม ลวกกะทิกินกับน้ำพริกหรือปลาร้าหลน ใช้ทำขนมแบบเดียวกับขนมกล้วยโดยใช้ใบชะครามแทนกล้วย รากใช้เป็นยาบำรุงกระดูก แก้พิษฝี[1]

ใบและต้นของชะคราม

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 องค์ บรรจุน. ข้างสำรับมอญ. กรุงเทพฯ: มติชน. 2557
  2. สิริรักษ์ บางสุด. โอ้ชะครามรสเร้นลับจากผักพื้นบ้านของชาวเล. ครัว. ปีที่ 20 ฉบับที่ 237 มีนาคม พ.ศ. 2557 หน้า 89 - 93
  • จารุพันธ์ ทองแถม. พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 219

แหล่งข้อมูลอื่น แก้