ตำบลปรังเผล

ตำบลในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย

ปรังเผล เป็น 1 ใน 3 ตำบลของอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่เป็นอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นที่ตั้งของน้ำตกเกริงกระเวีย น้ำตกไดช่องถ่อง น้ำตกกระเต็งเจ็ง และจุดชมวิวป้อมปี่ ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลม

ตำบลปรังเผล
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Prang Phle
อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณในเขตตำบลปรังเผล
อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณในเขตตำบลปรังเผล
ประเทศไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
อำเภอศรีสวัสดิ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด712.00 ตร.กม. (274.90 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด6,729 คน
 • ความหนาแน่น9.45 คน/ตร.กม. (24.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 71240
รหัสภูมิศาสตร์710802
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลปรังเผล
คำขวัญ: 
ทะเลสาบแสนงาม เด่นตระการสองน้ำตก มรดกวัฒนธรรม งามล้ำธรรมชาติ
อบต.ปรังเผลตั้งอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี
อบต.ปรังเผล
อบต.ปรังเผล
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลปรังเผล
พิกัด: 14°57′12.1″N 98°37′05.6″E / 14.953361°N 98.618222°E / 14.953361; 98.618222
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
อำเภอศรีสวัสดิ์
จัดตั้ง • 22 พฤษภาคม 2517 (สภาตำบลปรังเผล)
 • 25 ธันวาคม 2539 (อบต.ปรังเผล)
การปกครอง
 • นายกไพศาล บัวหลวง
พื้นที่
 • ทั้งหมด712.00 ตร.กม. (274.90 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)[1]
 • ทั้งหมด6,729 คน
 • ความหนาแน่น9.45 คน/ตร.กม. (24.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06710802
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 68/6 หมู่ที่ 1 ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71240
เว็บไซต์prungphlae.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

ตำบลปรังเผลมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ประวัติ

แก้

"ปรังเผล" ในสมัยก่อนลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งของตำบลปรังเผลอยู่ริมแม่น้ำ มีแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านทั้ง 4 หมู่บ้าน ซึ่งจะมีหาดทรายขาวที่เกิดจากแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านเป็นระยะทางยาว ซึ่งชาวบ้านท้องถิ่น (ชาวบ้านกะเหรี่ยง) เรียกหาดทรายขาวนี้ว่า "ปร่องผะเล" ต่อมาทางราชการได้บันทึกชื่อจากเดิมเป็น "ปรังเผล" ในปี พ.ศ. 2526 ได้อพยพชาวบ้านตำบลปรังเผลทั้ง 4 หมู่บ้านจากที่เดิมมาตั้งในที่ปัจจุบัน เนื่องจากการสร้างเขื่อนเขาแหลม หรือในปัจจุบันเรียกว่า เขื่อนวชิราลงกรณ และหาดทรายขาวที่เรียกดังกล่าวก็ถูกน้ำท่วมจนไม่เหลือให้เห็นอีกเลย

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

ตำบลปรังเผลแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านท่าดินแดง (Ban Tha Din Daeng)
หมู่ที่ 2 บ้านวังขยาย (Ban Wang Khayai)
หมู่ที่ 3 บ้านห้วยต่อ (Ban Huai To)
หมู่ที่ 4 บ้านจงอั่ว (Ban Chong Oua)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่ตำบลปรังเผลมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลปรังเผล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปรังเผลทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลปรังเผลที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[2] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปรังเผลในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[3]

ประชากร

แก้

พื้นที่ตำบลปรังเผลประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 6,729 คน แบ่งเป็นชาย 3,440 คน หญิง 3,289 คน (เดือนธันวาคม 2565)[4] เป็นตำบลที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ในอำเภอสังขละบุรี

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2565[5] พ.ศ. 2564[6] พ.ศ. 2563[7] พ.ศ. 2562[8] พ.ศ. 2561[9] พ.ศ. 2560[10] พ.ศ. 2559[11]
จงอั่ว 2,791 2,795 2,771 2,584 2,533 2,503 2,481
ท่าดินแดง 1,905 1,915 1,919 1,828 1,828 1,809 1,804
วังขยาย 1,201 1,192 1,172 1,157 1,137 1,108 1,096
ห้วยต่อ 832 813 808 765 753 759 763
รวม 6,729 6,715 6,670 6,334 6,251 6,179 6,144

อ้างอิง

แก้
  1. ประชากรในเขตอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  5. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  6. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.