พระโพธิธรรม

(เปลี่ยนทางจาก ตั๊กม้อ)

พระโพธิธรรม (สันสกฤต: โพธิธรฺม, เทวนาครี बोधिधर्म; อักษรโรมัน (NLAC) : bōdhidharma; จีน: 菩提達摩, พินอิน: Pútídámó , Dámó) แต่ในนิยายกำลังภายในในประเทศไทยมักเรียก ตักม้อ หรือ ตั๊กม้อ (สำเนียงแต้จิ๋ว ตรงกับจีนกลางว่า ต๋าหมอ) เป็นพระภิกษุมหายานผู้ก่อตั้งนิกายฉานขึ้นในประเทศจีน มีประวัติไม่ชัดเจนนัก แต่เชื่อกันว่ามีตัวตนอยู่จริง และเป็นผู้สถาปนาวัดเส้าหลิน ในจีน ทั้งยังได้เผยแพร่วิชามวยจีนในหมู่พระเณรของวัดเส้าหลิน จนมีชื่อเสียงมาจวบจนทุกวันนี้

"พระโพธิธรรม" โดยโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877)

ตามตำนานระบุว่า ท่านเกิดเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพระมหากษัตริย์แคว้นคันธาระ ประเทศอินเดีย ใกล้เมืองมัทราสในปัจจุบัน มีนัยน์ตาสีฟ้า ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ก็ทรงปราดเปรื่องและแตกฉานในคัมภีร์ของทุก ๆ ศาสนา ตลอดจนวรรณคดี อักษรศาสตร์โบราณ นับเป็นปราชญ์เอกแห่งยุค

เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ พระองค์สามารถนั่งสมาธิเข้าฌานสมาบัติชั้นสูง อยู่เบื้องพระบรมศพของพระบิดานานตลอดถึง 7 วัน หลังจากนั้น จึงไปศึกษาแสวงธรรมอยู่กับพระปรัชญาตาระเถระ ผู้เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 27 แห่งนิกายเซน (ซึ่งอ้างว่าสืบมาตั้งแต่พระมหากัสสปะในสมัยพุทธกาล ถือเป็นพระปฐมสังฆปริณายกของนิกายเซนในประเทศจีน) หลังจากนั้นท่านได้จาริกจากอินเดียไปเมืองจีน เมื่อราว ค.ศ. 526 ได้เดินทางไปยังเมืองกวางตุ้งของจีน เข้าเฝ้าจักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ และไม่นานต่อมาได้ก่อตั้งอารามขึ้นในเมืองลั่วหยาง และใช้เวลาปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานถึง 9 ปีในการเพ่งผนังถ้ำ

ฝ่ายมหายาน ถือว่าพระโพธิธรรมเป็นสังฆปริณายกองค์ที่ 28 ที่สืบสายโดยตรงมาจากพระโคตมพุทธเจ้าผ่านทางพระมหากัสสปะ และยังเป็นผู้สถาปนานิกายเซนขึ้นมาในประเทศจีนอีกด้วย เนื่องจากคำสอนของท่านจะเน้นไปที่การเข้าฌาน แนวทางคำสอนของท่านจึงมักจะเรียกกันว่า ฌาน (สันสกฤต: [ธฺยาน] ध्यान : dhyan ) ในภาษาจีนเรียกว่า 'ฉาน'(สำเนียงจีนกลาง ส่วนสำเนีงแต้จิ๋วเรียกว่า เซี้ยง) และภาษาญี่ปุ่นว่า 'เซน'

ประวัติชีวิตของท่านถือเป็นตำนาน ขาดหลักฐานที่แน่นอน เช่น ตำนานหนึ่งเล่าว่า ท่านได้ตัดหนังตาทิ้ง เนื่องจากโมโหที่เผลอหลับไปขณะทำสมาธิ เมื่อหนังตานั้นตกถึงพื้น ก็เติบโตกลายเป็นต้นชา และตำนานยังเล่าต่อว่า ด้วยเหตุดังกล่าวภิกษุนิกายเซนจึงนิยมดื่มน้ำชา เพราะจะได้ไม่ง่วงเวลาทำสมาธิ

พ.ศ. 1079 มีการสร้างสถูปอุทิศถวายท่านขึ้นในเมืองเหอหนาน ภายหลังรัชสมัยจักรพรรดิถังไท่จง

ตุ๊กตาล้มลุกของญี่ปุ่น ที่เรียกว่า "ดะรุมะ" ก็เชื่อกันว่าสืบมาจากท่านตั๊กม้อนี้

อ้างอิง

แก้
  • Avari, Burjor (2007), India: The Ancient Past, New York: Routledge.
  • Broughton, Jeffrey L. (1999), The Bodhidharma Anthology: The Earliest Records of Zen, Berkeley: University of California Press, ISBN 0-520-21972-4
  • Dumoulin, Heinrich (2005), Zen Buddhism: A History, vol. 1: India and China, Bloomington, IN: World Wisdom, ISBN 0-941532-89-5
  • Dumoulin, Heinrich (1993), "Early Chinese Zen Reexamined: A Supplement to Zen Buddhism: A History" (PDF), Japanese Journal of Religious Studies, 20 (1): 31–53, ISSN 0304-1042, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-04, สืบค้นเมื่อ 2010-07-30.
  • Faure, Bernard (1986), "Bodhidharma as Textual and Religious Paradigm", History of Religions, 25 (3): 187–198, doi:10.1086/463039
  • Ferguson, Andrew. Zen's Chinese Heritage: The Masters and their Teachings. Somerville: Wisdom Publications, 2000. ISBN 0-86171-163-7.
  • Hu, William; Bleicher, Fred (1965), "The Shadow of Bodhidharma", Black Belt Magazine, Black Belt Inc. (May 1965, Vol. III, No. 5): 36–41.
  • Kohn, Michael H., บ.ก. (1991), The Shambhala Dictionary of Buddhism and Zen, Boston: Shambhala.
  • Lin, Boyuan (1996), Zhōngguó wǔshù shǐ 中國武術史, Taipei 臺北: Wǔzhōu chūbǎnshè 五洲出版社
  • Maguire, Jack (2001), Essential Buddhism, New York: Pocket Books, ISBN 0-671-04188-6
  • Mahajan, Vidya Dhar (1972), Ancient India, S. Chand & Co. OCLC 474621
  • Red Pine, บ.ก. (1989), The Zen Teaching of Bodhidharma: A Bilingual Edition, New York: North Point Press, ISBN 0-86547-399-4.
  • Soothill, William Edward and Hodous, Lewis. A Dictionary of Chinese Buddhist Terms. London: RoutledgeCurzon, 1995.
  • Sutton, Florin Giripescu (1991), Existence and Enlightenment in the Laṅkāvatāra Sūtra: A Study in the Ontology and Epistemology of the Yogācāra School of Mahāyāna Buddhism, Albany: State University of New York Press, ISBN 0-7914-0172-3.
  • Suzuki, D.T., บ.ก. (1932), The Lankavatara Sutra: A Mahayana Text.
  • Suzuki, D.T. (1948), Manual of Zen Buddhism (PDF).
  • Suzuki, D.T. (1949), Essays in Zen Buddhism, New York: Grove Press, ISBN 0-8021-5118-3
  • Watts, Alan. The Way of Zen. New York: Vintage Books, 1985. ISBN 0-375-70510-4
  • Watts, Alan (1958), The Spirit of Zen, New York: Grove Press.
  • Williams, Paul. Mahayana Buddhism: The Doctrinal Foundations. ISBN 0-415-02537-0.
  • Zvelebil, Kamil V. (1987), "The Sound of the One Hand", Journal of the American Oriental Society, Journal of the American Oriental Society, Vol. 107, No. 1, 107 (1): 125–126, doi:10.2307/602960.
  • 金实秋. Sino-Japanese-Korean Statue Dictionary of Bodhidharma (中日韩达摩造像图典). 宗教文化出版社, 2007-07. ISBN 7-80123-888-5

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้