จักรพรรดิเหลียงอู่
พระเจ้าเหลียงอู่ (梁武帝; 464–12 มิถุนายน 549) หรือ เซียวเหยี่ยน (萧衍) ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เหลียงครองราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. 502–549 นับเป็นช่วงเวลาที่มีเสถียรภาพที่สุดในยุคราชวงศ์หนานเป่ย หรือราชวงศ์เหนือใต้ พระองค์สนับสนุนการศึกษาของบัณฑิตลัทธิขงจื๊อ แต่ก็ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
จักรพรรดิเหลียงอู่ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิองค์ที่ 1 แห่ง ราชวงศ์เหลียง | |||||||||
ครองราชย์ | 502–549 | ||||||||
ถัดไป | เจี้ยนเหวิน | ||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 464 | ||||||||
สวรรคต | 12 มิถุนายน ค.ศ. 549 | ||||||||
|
พระประวัติ
แก้องค์เซียวเหยี่ยน ประสูติเมื่อปี ค.ศ. 464 เป็นบุตรของ เซียวซุ่นจือ(蕭順之) ซึ่งอ้างว่ามีบรรพชนสืบทอดสกุลมาจากเซียวเหอ(蕭何) ขุนนางผู้ยิ่งใหญ่สมัยราชวงศ์ฮั่น เซียวเหยี่ยน ทรงมีความสามารถเฉลียวฉลาดแต่ยังเยาว์วัย แรกเริ่มรับราชการเป็นขุนพลช่วยทัพขององค์ชายปาหลิง เซียวจื่อหลุน (蕭子倫) พระโอรสของจักรพรรดิฉีอู่ แห่งราชวงศ์ฉีใต้ ต่อมาก็รับตำแหน่งขุนนางในสังกัดมหาเสนาบดี หวังเจี้ยน (王儉) หวังเจี้ยนเคยออกปากชมว่า "คุณชายเซียวจะต้องได้รับตำแหน่งซื่อจงก่อนอายุ 30 ปี และมีชื่อเสียงเป็นที่เลื่อลื่อในตอนอายุ 30 ปี" ในตอนนั้นเซียวเหยียนเป็นหนึ่งในคุณชายทั้งแปดที่มีความสามารถโดดเด่นด้านบทกวี จึงได้รับความสนิทสนมจาองค์ชายจิงหลิง เซียวจื่อเหลียง (蕭子良), ฟ่านหยุน, เซียวเฉิน (蕭琛), เหรินฟาง (任昉), หวังหรง (王融), เซี่ยเตียว (謝朓), เสินเยว่ และ ลู่จุ่ย (陸倕) (กลุ่มสหายทั้งแปด). เมื่อบิดาของเขา เซียวซุนจืน เสียชีวิตในปี ค.ศ. 490 เซียวเหยียนก็ลาออกจากตำแหน่งหายจากราชสำนักไป และกลับมารับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ เซียวจื่อเหลียง ในปีค.ศ. 493 แต่ไม่ได้ร่วมแผนการของหวังหรง ที่ทำรัฐประหารเพื่อช่วยให้เซียวจื่อเหลียงได้ขึ้นครองราชย์ ในขณะที่จักรพรรดิฉีอู่ประชวร องค์ชายรัชทายาทออกว่าราชการแทน และต่อมาบัลลังก์ก็ตกเป็นของ เซียวเจ้าเย่ (萧昭业) หลานของจักรพรรดิฉีอู่ ต่อมามหาเสนาบดีเซียวหลวนก็เชิญเซียวเหยียนมาเป็นขุนนางฝ่ายตน เมื่อเซียวหลวน โค่นเซียวเจ้าเย่ลงจากบัลลังก์ ก็ให้เซียวเหยียนเป็นแม่ทัพคุมเมืองซั่วหยาง (壽陽, ปัจจุบันคือ เมืองลู่อัน, อันฮุ่ย) เมื่อเซียวหลวนชิงบัลลังค์ได้ก็ขึ้นเป็นจักรพรรดิฉีหมิง (齊明帝) (บ้างก็ใช้คำว่า 南齊 หนานฉี หรือ ฉีใต้) เซียวเหยียนก็ถูกแต่ตั้งเป็นคหบดีเจ้าเมืองเจี้ยนหยาง ในปีค.ศ.495 เว่ยเหนือรุกราน เซียวเหยียนเป็นแนวหน้าต่อสู่กับกองทัพเว่ยเหนือแล้วขัดคำสั่งหวังกวงจื่อ(王廣之) ปีต่อมาจักรพรรดิฉีหมิงระแวงว่า แม่ทัพเซียวเฉิน (蕭諶) กบฎจึงสั่งกำจัดทิ้ง และส่งเซียวเหยียนไปจับกุมและกำจัด เซียวต้าน (蕭誕) เจ้าเมืองซือโจว(蕭誕) น้องชายเซียวเฉิน
ปีค.ศ.497 ราชวงศ์เว่ยเหนือมาโจมตีอีกครั้ง เซียวเหยียนเป็นหนึ่งในแม่ทัพที่จักรพรรดิฉีหมิงส่งมาที่ค่ายทหารเมืองหยงโจว (雍州, ปัจจจบันอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเหอหนาน และ ตะวันตกเฉียงเหนือของ หูเป่ย) เซียวเหยียนและผู้บัญชาการทัพ ซุยฮุ่ยจิ่ง (崔慧景) พ่ายแพ่ต่อกองทัพเว่ยเหนือ ในปีค.ศ.498 เซียวเหยียนถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองหยงโจว ปกป้องเมืองหยงโจว และเมืองเซียงหยาง (襄陽, ปัจจุบันคือเมืองเซียงฝาง, หูเป่ย) ต่อมาหลังจากจักรพรรดิฉีหมิงสิ้นพระชนม์ เซียวเป่าจวน (蕭寶卷) สืบราชบัลลังก์ ชื่อฮุ่ย ภรรยาของเซียวเหยียนเสียชีวิตที่เมืองเซียงหยางในปีค.ศ.499 เซียวเหยียนไม่ได้รับผู้อื่นเป็นภรรยา แม้ว่าต่อมาจะมีสนมมากมายก็ตาม
ต่อมาก็เกิดสงครามกลางเมือง เซียวเป่าจวนขึ้นเป็นจักรพรรดิฉีใต้ ด้วยวัย 15 พรรษา ในปี ค.ศ.498 ในชั่วแรกอำนาจของเซียวเป่าจวนถูกสั่นคลอนโดยพวกขุนนางผู้ใหญ่ที่บิดาของพระองค์จักรพรรดิฉีหมิงทิ้งไว้ รวมถึงหลานของอดีตจักรพรรดิ เจียงซือ (江祀), เจียงหยู (江祐), หลิวซวน (劉暄) ลุงของเซียวเป่าจวน, เซียวเหยากวง (蕭遙光) องค์ชายซืออัน ลูกพี่ลูกน้องของเซียวเป่าจวน, ซูเสี้ยวซือ(徐孝嗣) ขุนนางผู้ใหญ่ และ แม่ทัพเซียวถานจื่อ(蕭坦之) ขุนนางทั้งหกคนทำให้เกิดเหตุการณ์สำคัญและทำให้จักรพรรดิหนุ่มโกรธกริ้ว เมื่อเซียวเหยียนได้ยินว่าจักรพรรดิหนุ่มทั้งโหดเหี้ยมและไม่เอาไหน เซียวเหยียนจีงแอบวางแผนเข้าปราบจลาจลจากเมืองหยงโจว แต่เขาไม่สามารถชักชวนเซียวอี้ พี่ชายที่เป็นเจ้าเมืองอิงโจว (郢州, อยู่ทางตะวันออกของ หูเป่ย) ให้มาร่วมกันได้
เป็นแม่ทัพเมืองหงโจว ราชวงศ์ฉีเกิดเข่นฆ่ากันเอง เซียวเหยียนจึงนำกำลังเข้ามายุติจลาจล จบราชวงศ์ฉีใต้ สถาปนาราชวงศ์เหลียง แต่ตั้งตนขึ้นเป็นจักรพรรดิเหลียงอู่
ในช่วงแรกนั้น นับเป็นยุคทองของราชวงศ์เหลียง พระองค์รับฟังความเห็นของบรรดาอำมาตย์ ประหยัดมัธยัสถ์ ส่งเสริมการศึกษา สร้างสาธารณูปโภคเป็นรากฐานของอาณาจักร แต่ขณะเดียวกันก็พร้อมรับการรุกรานของอาณาจักรอื่นๆ และในเวลาต่อมายังทรงนำทัพบุกโจมตีอาณาจักรเป่ยเว่ย จนมีอิทธิพลเหนืออาณาจักรนี้
อย่างไรก็ตาม ในปลายรัชกาลทรงสนพระทัยในกิจการอื่นๆมากเกินไป ละเลยราชกิจ ทำให้บ้านเมืองเกิดความปั่นป่วน จนขุนพลโหวจิ่ง(侯景) ก่อกบฏ ยพทักเข้ายึดนครหลวง แล้วจับพระองค์คุมขังไว้จนสวรรคต นักประวัติศาสตร์บางคนระบุว่า โหวจิ่งคุมขังพระองค์จนอดพระกระยาหาร สวรรคตในที่สุด เมื่อปี 549 พระชนมายุ 85 พรรษา
ขุนพลโหวจิ่ง ผู้นี้เดิมที่ขอลี้ภัยทางการเมืองจากเว่ยตะวันออกมาพึ่งอาณาจักรเหลียง ต่อมาเว่ยตะวันออกก็เสอข้อต่อรองราชสำนักเหลียง ราชสำนักจึงมีแผนจะส่งโหวจิ่งกลับวุ่ยตะวันออก โหวจิ่งจึงก่อกบฎร่วมกับ โอรสของฮ่องเต้เหลียงอู่ และ หลานชายองพระองค์ เซียวเจิ้งเต๋อ(蕭正德) บุตรชายอ๋องหกเซียวหวัง (萧宏) โหวจิ่งยกทัพล้อมเมืองหลวงเจี้ยนคัง(建康)นาน 300 กว่าวัน ฮ่องเต้เหลียงอู่ถูกจับตัวกักบริเวณและลดอาหารเหลือเพียงไข่ดิบ โดยให้ต้มไข่กินเอง จนสิ้นพระชนม์ โหวจิ่งเข้าควบคุมราชสำนัก กำจัดเซียวเจิ้งเต๋อ แต่งตั้งฮ่องเต้องค์ใหม่เป็นหุ่นเชิด ได้บีบบังคับเอาองค์หญิงลี่หยาง(溧陽公主)ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์มาเป็นเมียจนมีลูกด้วยกันอย่างไม่เต็มใจ ระหว่างที่โหวจิ่งมีอำนาจก็ยกทัพปล้นสะดมเมืองรอบข้าง ไล่ฆ่าประชาชนเป็นว่าเล่น ประชาชนมากมายต้องอดอยากจนตาย ในที่สุดเซียวยี่ (蕭繹) โอรสองค์ที่เจ็ดของเหลียงอู่ตี้ก็ส่งหวังเซิงเปี้ยน(王僧辩)และเฉินป้าเซียน (陈霸先)และกองทัพตระกูลเฉิน(陳)เข้าสู้รบกับโหวจิ่ง จนโหวจิ่งพ่ายแพ้แตกยับพากองทัพหนี ระหว่างหนีก็ถูกลูกน้องลบสังหารตาย ในปีค.ศ. 552-554 เซียวยี่ขึ้นเป็นฮ่องเต้พระองค์ใหม่นามว่าเหลียงหยวนตี้(梁元帝)สั่งให้ตัดหัวโหวจิ่งและแขวนประจานที่เมืองเจียงหลิง(江陵)จากนั่นจึงสั่งให้ต้มทำความสะอาด แล้วให้เอาไป ลงรัก ให้สวยงามและเก็บไว้ ส่วนศพโหวจิ่งที่เมืองหลวงเจี้ยนคัง ถูกชาวบ้านเอาไปหมักเกลือทำอาหารกินระบายความแค้นจนร่างเหลือแต่กระดูก เนื้อบางส่วนถูกนำไปถวายเป็นเครื่องเสวยองค์หญิงลี่หยาง องค์หญิงจึงเสวยด้วยความแค้น ส่วนซากกระดูกก็ถูกนักเลงสุราเผาเป็นขี้เถ้าผสมเหล้าดื่ม
พระเจ้าเหลียงอู่กับพุทธศาสนา
แก้พระเจ้าเหลียงอู่ทรงเป็นฮ่องเต้ที่มีศรัทธาปสาทะในพระบวรพุทธศาสนามากที่สุดองค์หนึ่งของจีน ทรงรับศีลฆราวาสตลอดพระชนม์ชีพ มีพระบรมราชโองการสั่งห้ามการทำปาณาติบาต เข่นฆ่าชีสิตสัตว์สังเวยบรรพชน แม้พระองค์เองก็ยังประกอบพระราชพิธีสังเวยบูรพชนด้วยอาหารมังสวิรัต และยกเว้นโทษประหารชีวิต จนได้รับการถวายพระนามเป็น "ฮ่องเต้โพธิสัตว์"
ทั้งยังมีพระสมัญญานามว่า "พระเจ้าอโศกแห่งแผ่นดินจีน" เนื่องจากทรงปวารณาพระองค์ตามจริยาของพระเจ้าอโสกมหาราช บำรุงพระศาสนา ประกาศพระสัทธรรม และถือศีลมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ พระองค์ทรงโปรดการปฏิบัติตามจริยาของพระเจ้าอโศก ที่ปรากฏใน อโศกาวทาน หรือ คัมภีร์อวทาน ถึงกับถวายนามให้แก่วัดแห่งหนึ่งในเมืองหนิงโป ว่า วัดพระเจ้าอโศก (วัดอายู่หวาง)
นอกจากนี้ ยังมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับพระราชกิจในด้านศาสนาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การที่พระองค์ทรงผนวชเป็นพระภิกษุถึง 3 ครั้ง จนข้าราชสำนักต้องนำทรัพย์สินไปไถ่พระองค์ให้ลาผนวชมากมาย นัยว่าเป็นอุบายในการถวายพระราชทรัพย์แก่ศาสนจักร
พระองค์ยังทรงนิยมสนนทนาธรรม ศึกษาพระสูตร เล่ากันว่า ทรงพบกับพระโพธิธรรม (ตั๊กม๊อ) พระสังฆนายกองค์แรกแห่งนิกายฉาน (เซ็น) เมื่อท่านจาริกถึงเมืองจีนใหม่ๆ แต่ฮ่องเต้มิเข้าใจปริศนาธรรม จึงเมินเฉยพระเถระเจ้า กว่าจะทราบความสำคัญพระโพธิธรรมก็เดินทางไปวัดเส้าหลิน เพื่อประกาศธรรมนิกายฉานที่นั่น เรื่องราวตอนนี้ปรากฏใน สูตรของเว่ยหล่าง (六祖壇經) ของพระฮุ่ยเหนิง พระสังฆนายกองค์ที่ 6 แห่งนิกายฉาน ความว่า
วันหนึ่งเมื่อข้าหลวงอุ๋ยได้ถวายภัตตาหารเจแด่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงแล้ว ข้าหลวงอุ๋ยได้กราบเรียนถามพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงว่า
"หลักธรรมต่างๆ ที่พระคุณเจ้าแสดงไปแล้วนั้นเป็นหลักธรรมเดียวกันกับที่พระโพธิธรรมได้วางหลักธรรมสำคัญนี้ไว้มิใช่หรือ"
"ถูกแล้ว" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบ
"แต่กระผมได้สดับมาว่า เมื่อพระโพธิธรรมได้พบปะและสนทนากันเป็นครั้งแรกกับฮ่องเต้ เหลียงอู่ จึงถามพระโพธิธรรมว่าพระองค์จักได้รับกุศลอะไรบ้างจากการที่พระองค์ได้ก่อสร้างพระวิหารการอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน การถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์ ในครั้งนั้นพระสังฆปริณายกโพธิธรรมถวายพระพรว่า
การกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย บรรดาข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่า เหตุไฉนพระโพธิธรรมจึงตอบดังนั้น"
พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบว่า
"ถูกแล้วการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย ขออย่าได้มีความสงสัยในคำตอบนี้ของพระโพธิธรรมเลย พระเจ้าเหลียงอู่เองต่างหากที่มีความเข้าใจผิดและพระองค์ไม่ได้ททรงทราบถึงคำสอนอันถูกต้องตามแบบแผนการกระทำ เช่น การสร้างวิหาร การอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน การถวายภัตตาหารเจ จะนำมาให้ได้ก็แต่เพียงความปิติอิ่มใจต่างๆ เท่านั้น จึงไม่ถือว่าเป็นกุศล กุศลมีได้ก็แต่ในธรรมกายซึ่งไม่มีสิ่งใดเกี่ยวข้องกับการทำเพื่อความปิติอิ่มใจเลย"
คำกล่าวของพระธรรมมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ได้ยืนยันให้เห็นความจริงว่า คำกล่าวของพระโพธิธรรมเมื่อครั้งกระนั้นถูกต้องเพียงแต่มิได้อธิบายหรือมีโอกาสชี้แจงแสดงเหตุผลให้พระเจ้าเหลียงอู่สดับได้เพราะเพียงได้ยินคำกล่าว่า ไม่เป็นบุญกุศลโทสะจริตก็ครอบงำพระหฤทัยจึงขับไล่พระโพธิธรรมออกไปจากพระราชวัง
ดังนั้นถ้าพิจารณาประวัติความเป็นมาของพระเจ้าเหลียงอู่เต้ย่อมประจักษ์ถึงสัจธรรมแห่งการทำบุญว่ามิใช่หนทางแห่งการพ้นไปจากการเวียยนเกิด-ตาย เลย แต่กลับกลายเป็นการเวียนเกิดมารับผลบุญของตนเองไม่มีที่สิ้นสุด"
บทพระนิพนธ์ขอขมากรรม
แก้พระเจ้าเหลียงอู่ ยังทรงพระราชนิพนธ์บทสวดขอขมากรรม เหลียงหวงเป่าชั่น (梁皇寶懺) ซึ่งจะใช้สวดในงานพิธีสวดอุทิศส่วนกุศล แด่ผู้ล่วงลับ และสัมพเวสี ซึ่งจะจัดขึ้นในวันสารทจีน ซึ่งเป็นวันที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้
ตำนานเล่าว่า พระมเหสีจีฮุย (郗徽) ของพระเจ้าเหลียงอู่ ทรงมีอุปนิสัยริษยาอาฆาตแค้น เมื่อสิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา 30 ปี ก็เกิดใหม่กลายเป็นอสรพิษใหญ่ตามผลกรรมที่ถูกโทสะครอบงำนั้น ต่อมาพระนางไปแจ้งเหตุแก่พระสวามีในพระสุบิน ครั้งฮ่องแต้ทรงทราบจึงทรงปรึกษากับพระเถระเป่าจื้อ (寶誌)พระเถระจึงเชิญพระสงฆ์ผู้มีคุณวิเศษมา แล้วร่วมกับองค์ฮ่องเต้ รจนาบทสวดขอขมากรรมเหลียงหวงเป่าชั่นจำนวน 10 บทขึ้น
หลังจากประกอบพิธีสวดบทขอขมากรรม แล้วพระมเหสีทรงปรากฏในพระสุบินอีกครั้ง แจ้งแก่พระองค์ว่าบัดนี้พระนางได้ไปบังเกิดในสุขคติภพแล้ว จึงขอบขอบพระทัยยิ่งในพระกรุณา
ทุกวันนี้ พระอารามจีนนิกายก็ยังสวดบทขอขมากรรม เหลียงหวงเป่าชั่น กันอยุ่ในวันสารทจีน และวันเช็งเม้ง
อ้างอิง
แก้- Benn, James A. (2007), Burning for the Buddha: self-immolation in Chinese Buddhism, Issue 19 of Studies in East Asian Buddhism, University of Hawaii Press, pp. 3,243,261, ISBN 0-8248-2992-1
- Albert E. Dien, «Six Dynasties Civilization». Yale University Press, 2007 ISBN 0-300-07404-2. Partial text on Google Books. P. 190. A reconstruction of the original form of the ensemble is shown in Fig. 5.19.
- 梁安成康王萧秀墓石刻 (Sculptures at the Tomb of Xiao Xiu) (Chinese) (description and modern photos)
- John R. McRae, Seeing Through Zen: Encounter, Transformation, and Genealogy in Chinese Chan Buddhism (Berkeley: University of California Press, 2003), p. 22.
- Andrew E. Ferguson, Zen's Chinese Heritage: The Masters and their Teachings (Boston: Wisdom Publication, 2000), p. 16.
- หนังสือสูตรของเว่ยหล่าง พุทธทาส อินทปัญโญ พ.ศ. 2530