จู่ชือ
จู่ซือ (จีน: 祖師) บางตำราแปลว่า "ปรมาจารย์" หมายถึง ผู้ก่อตั้งหรือเจ้าสำนักองค์การศาสนาในประเทศจีน ใช้ในศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋า ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม เป็นต้น
ศาสนาพุทธ
แก้คำว่า จู่ ในศาสนาพุทธในประเทศจีนหมายถึง "สังฆปริณายก" โดยแต่ละนิกายจะมีสายสังฆปริณายกแตกต่างกันไป
นิกายสุขาวดี
แก้นิกายสุขาวดี มีสังฆปริณายก 13 องค์ ดังนี้[1]
ลำดับที่ | รายนาม | เกิด | มรณภาพ |
1 | ฮุ่ยเยฺวี่ยน | ค.ศ. 334 | ค.ศ. 416 |
2 | ซั่นเต้า | ค.ศ. 613 | ค.ศ. 681 |
3 | เฉิงหยวน | ค.ศ. 712 | ค.ศ. 802 |
4 | ฝ่าเจ้า | ? | ? |
5 | เซ่าคัง | ค.ศ. 770 | ค.ศ. 805 |
6 | เหยียนโซ่ว | ค.ศ. 904 | ค.ศ. 975 |
7 | เสิ่งฉัง | ค.ศ. 959 | ค.ศ. 1020 |
8 | เหลียนฉือ | ค.ศ. 1532 | ค.ศ. 1612 |
9 | จื้อซฺวี่ | ค.ศ. 1598 | ค.ศ. 1655 |
10 | สิงเช่อ | ค.ศ. 1627 | ค.ศ. 1682 |
11 | สือเสียน | ค.ศ. 1686 | ค.ศ. 1734 |
12 | จี้สิ่ง | ค.ศ. 1741 | ค.ศ. 1810 |
13 | เซิ่งเลี่ยง | ค.ศ. 1861 | ค.ศ. 1941 |
นิกายอวตังสกะ
แก้นิกายหัวเหยียน หรือนิกายอวตังสกะ มีสังฆปริณายก 5 องค์ ดังนี้
ลำดับที่ | รายนาม | เกิด | มรณภาพ |
1 | ตูซุน | ค.ศ. 557 | ค.ศ. 640 |
2 | จี้เหยี่ยน | ค.ศ. 602 | ค.ศ. 668 |
3 | ฝ่าจั้ง | ค.ศ. 643 | ค.ศ. 712 |
4 | ชิงเหลียง | ค.ศ. 738 | ค.ศ. 839 |
5 | จงมี่ | ค.ศ. 780 | ค.ศ. 841 |
นิกายฉาน
แก้นิกายฉานในประเทศจีนมีสังฆปริณายก 6 องค์ ซึ่งเชื่อว่าได้รับสืบทอดบาตรและจีวรจากพระโคตมพุทธเจ้า สังฆปริณายกทั้ง 6 มีลำดับดังนี้[2]
ลำดับที่ | รายนาม | เกิด | มรณภาพ |
1 | พระโพธิธรรม | ค.ศ. 440 | ค.ศ. 528 |
2 | ฮุ่ยเข่อ | ค.ศ. 487 | ค.ศ. 593 |
3 | เซิงชั่น | ไม่ปรากฏ | ค.ศ. 606 |
4 | เต้าซิ่น | ค.ศ. 580 | ค.ศ. 651 |
5 | หงเหริ่น | ค.ศ. 601 | ค.ศ. 674 |
6 | ฮุ่ยเหนิง | ค.ศ. 638 | ค.ศ. 713 |
ลัทธิเซียนเทียนเต้า
แก้ลัทธิเซียนเทียนเต้าซึ่งหวง เต่อฮุย ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้กำหนดสายจู่ซือโดยถือเอาสังฆปริณายกทั้ง 6 องค์ของนิกายฉานเป็นปรมาจารย์ของเซียนเทียนเต้าด้วย ต่อด้วยนักพรตเต๋าอีก 2 รูป แล้วหวง เต๋อฮุย ถือว่าตนเองเป็นจู่ซือลำดับที่ 9 ต่อจากเต๋อฮุยแล้วยังมีจู่ซือสืบมาอีกดังนี้[3]
ลำดับที่ | รายนาม | เกิด | เสียชีวิต |
7. | ไป๋ อวี้ฉัน และหม่า ตวนหยัง | ค.ศ. 1194/1123 | ค.ศ. 1229/1183 |
8. | หลัว เว่ยฉวิน | ? | ? |
9. | หวง เต๋อฮุย | ค.ศ. 1684 | ค.ศ. 1750 |
10. | อู๋ จื่อเสียง | ค.ศ. 1715 | ค.ศ. 1784 |
11. | เหอ รั่ว | ? | ? |
12. | หยวน จื้อเชียน | ค.ศ. 1760 | ค.ศ. 1834 |
13. | สวี กู่หนัน และหยาง โส่วอี | ? | ? |
14. | เผิง อีฝ่า | ? | ? |
15. | หลิน จินจู่ | ? | ? |
หลังจู่ซือรุ่นที่ 15 แล้ว ลัทธิเซียนเทียนเต้าก็แตกออกเป็นหลายสายย่อย
ลัทธิอนุตตรธรรม
แก้หวัง เจฺว๋อี ต่อตั้งลัทธิอนุตตรธรรมขึ้นในปี พ.ศ. 2420 เดิมเป็นสาวกลัทธิเซียนเทียนเต้า จึงรับแนวคิดสายจู่ซือจากเซียนเทียนเต้ามาด้วย โดยยอมรับสังฆปริณายกทั้ง 6 องค์ในนิกายเซน ต่อด้วยจู่ซือรุ่นที่ 7–11 ของเซียนเทียนเต้า นับอาจารย์รุ่นก่อนตนเป็นรุ่นที่ 12–14 นับตนเองเป็นรุ่นที่ 15 และยังมีจู่ซือต่อมาอีกจนถึงรุ่นที่ 18
ลัทธิอนุตตรธรรมเรียกจู่ซือว่าพระธรรมาจารย์ และถือว่าพระธรรมาจารย์เป็นพระวิสุทธิอาจารย์ (จีน: 明師 หมิงซือ) ผู้มีอาณัติสวรรค์สามารถถ่ายทอดเต๋าได้ หากนับต่อจากเหอ รั่ว (เหลียวขู่) ธรรมาจารย์รุ่นที่ 11 แล้ว มีธรรมาจารย์ต่อมาอีกดังนี้
ลำดับที่ | รายนาม | เกิด | เสียชีวิต |
12 | เอวี๋ยน ทุ่ยอัน | ค.ศ. 1760 | ค.ศ. 1834 |
13 | หยัง หวนซฺวี และฉวี หวนอู๋ | ? | ? |
14 | เหยา เฮ่อเทียน | ? | ค.ศ. 1984 |
15 | หวัง เจฺว๋อี | ค.ศ. 1821 | ค.ศ. 1884 |
16 | หลิว ชิงซฺวี | ? | ค.ศ. 1886 |
17 | ลู่ จงอี | ค.ศ. 1849 | ค.ศ. 1925 |
18 | จาง เทียนหรัน และซุน ฮุ่ยหมิง | ค.ศ. 1889/1895 | ค.ศ. 1947/1975 |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Introduction to the Pure Land Patriarchs". THOMÉ H. FANG INSTITUTE. 20 พฤศจิกายน 2009. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2013.
- ↑ McRae, John (2003). Seeing Through Zen. Encounter, Transformation, and Genealogy in Chinese Chan Buddhism. The University Press Group. ISBN 978-0-520-23798-8.
- ↑ "Prior Heaven School". Encyclopedia of Taiwan. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2013.