ตรุษญวน
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ประเพณีตรุษญวน หรือปีใหม่ของชาวเวียดนาม มีลักษณะเหมือนกับประเพณีตรุษจีนของชาวจีน ในอดีตสมัยที่เวียดนามตกเป็นเมืองขึ้นของจีนนานนับพันปี วัฒนธรรมทางความเชื่อและการดำรงชีวิตตลอดจนภาษาต่างก็ได้รับอิทธิพลจากจีนทั้งสิ้น ปฏิทินทางจันทรคติของเวียดนามจะตรงกับปฏิทินทางจันทรคติของจีน ดังนั้นวันตรุษญวนหรือวันขั้นปีใหม่เวียดนามจะตรงกับวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติ หรือตรงกับวันตรุษจีนนั่นเอง
ตรุษญวน | |
---|---|
ถนนที่นครโฮจิมินห์ในเทศกาลตรุษญวน | |
ชื่อทางการ | เต๊ตเงวียนด๊าน |
ชื่ออื่น | เต๊ต |
จัดขึ้นโดย | ชาวเวียดนามทั่วโลก ชาวหัวทั่วโลก |
ประเภท | ศาสนา, วัฒนธรรม |
ความสำคัญ | วันแรกของปีตามปฏิทินจันทรคติเวียดนาม |
การเฉลิมฉลอง | การเชิดสิงโต, การเชิดมังกร, ดอกไม้ไฟ, การพบปะรวมตัวของครอบครัว, การกินเลี้ยงของครอบครัว, การเยี่ยมเพื่อนและญาติ, การให้และรับเงินอั่งเปา |
วันที่ | คืนที่จันทร์ดับที่สองหลังเหมายัน (หรือ คืนจันทร์ดับที่สามหลังอายัน) |
ความถี่ | ทุกปี |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ตรุษจีน, ตรุษญี่ปุ่น, ตรุษมองโกล, ตรุษทิเบต, ตรุษเกาหลี |
ตรุษญวนในภาษาเวียดนามเรียกว่า เต๊ตเงวียนด๊าน (Tết Nguyên Đán) แปลว่าเทศกาลต้อนรับแสงรุ่งอรุณของปีใหม่ ในการเฉลิมฉลองเทศการตรุษญวนจะเริ่มขึ้นในวันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของเวียดนาม (เจ็ดวันก่อนตรุษญวน) วันนี้จะมีการไหว้เทพเจ้าแห่งเตาไฟ ในภาษาเวียดนามเรียกว่า องต๊าว (Ông Táo) หรือ ต๊าวเกวิน (Táo Quân) เทพเจ้าเตาเป็นเทพเจ้าที่คอยสอดส่องดูแลความเป็นไปทุกอย่างภายในบ้าน เทพเจ้าเตาของเวียดนามมีสามองค์ ซึ่งแตกต่างกับของจีน พอถึงวันที่ 23 เดือน 12 จะมีการเซ่นไหว้เทพเจ้าโดยวัตถุประสงค์คือเพื่อส่งเทพเจ้าขึ้นสวรรค์ ในพิธีจะมีการไหว้ปลาคร๊าฟ ซึ่งเทพเจ้าจะขึ้นสวรรค์โดยขี่ปลาคร๊าฟนี้ พอไหว้เสร็จก็จะนำปลาคร๊าฟไปปล่อยในแม่น้ำหรือหนองน้ำเพราะเชื่อว่าปลาคร๊าฟจะแปลงกลายเป็นมังกรพาเทพเจ้าขึ้นสู่สวรรค์ หลังจากนั้นจะมีการทำความสะอาดบ้านเรือนประดับตกแต่งสวยงานเพื่อต้อนรับเทศกาลตรุษญวนที่จะมาถึง
หลังจากไหว้เทพเจ้าเตาในวันที่ 23 เดือน 12 แล้ว พอถึงวันที่ 30 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติของเวียดนาม (ก่อนตรุษจีนหนึ่งวัน) จะมีการไหว้บรรพบุรุษเพื่อเชิญบรรพบุรุษกลับมาร่วมเฉลิมฉลองในเทศกาลตรุษญวน โดยญาติพี่น้องทุกคนที่อยู่ไกลบ้านจะต้องกลับมาเพื่อรวมกันพร้อมหน้าพร้อมตาในวันปีใหม่ การไหว้บรรพบุรุษจะเริ่มขึ้นในช่วงบ่าย การไหว้มีสองแบบคือ
- แบบที่หนึ่ง คือไหว้แบบไปเชิญวิญญาณบรรพบุรุษที่สุสานคือลูกหรือหลานชายจะต้องน้ำของไหว้ไปไหว้เชิญวิญญาณบรรพบุรุษที่สุสานบริเวณหลุมศพของบรรพบุรุษทุกคน จากนั้นพูดเชิญวิญญาณกลับบ้าน ในระหว่างทางมีข้อห้ามว่าห้ามพูดจากับใครเด็ดขาด พอถึงบ้านก็เริ่มพิธีไหว้ต้อนรับบรรพบุรุษที่บ้าน
- แบบที่สอง คือไหว้แบบไม่ไปเชิญวิญญาณบรรพบุรุษที่สุสาน โดยจะไม่มีการนำของไหว้ไปไหว้ที่สุสานแต่จะไหว้ที่เชิญวิญญาณที่บ้านพร้อมกับไหว้ต้อนรับบรรพบุรุษ
หลังจากไหว้ต้อนรับบรรพบุรุษกลับมาบ้านเสร็จ ลูกหลานทุกคนก็ร่วมกันเฉลิมฉลองรับประทานอาหารร่วมกันอย่างพร้อมหน้า
ของไหว้ในวันเทศกาลตรุษญวนจะมีของสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในเทศกาลนี้ก็คือ บั๊ญจึง (Bánh Chưng) หรือข้าวต้มมัดญวน จะมีลักษณะเป็นห่อสี่เหลี่ยมจัตุรัส ห่อด้วยใบตอง ภายในจะมีข้าวเหนียว ถั่วเหลือง และหมูสามชั้น แบ๋งจึงถือเป็นขนมประจำเทศกาลตรุษญวน มีต้นกำเนิดในสมัยกษัตริย์หุ่งเวือง (Hùng Vương) ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์แรกของเวียดนาม
หลังจากไหว้ต้อนรับบรรพบุรุษกลับมาบ้านเสร็จ ลูกหลานทุกคนก็ร่วมกันเฉลิมฉลองรับประทานอาหารร่วมกันอย่างพร้อมหน้า พอถึงเวลาเที่ยงคืนจะมีการไหว้ต้อนรับปีใหม่ โดยจะไหว้ที่โต๊ะไหว้บรรพบุรุษเพื่ออธิษฐานให้บรรพบุรุษคุ้มครองลูกหลาน ดลบันดาลให้ทุกคนในครอบครัวทำมาค้าขึ้น สุขภาพร่างการแข็งแรก พบแต่สิ่งดีๆในปีใหม่ พอไหว้เสร็จลูกหลานทุกคนจะอวยพรญาติผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็จะอวยพรลูกหลานและมีการให้อั่งเปา ซึ่งอั่งเปาในภาษาเวียดนามเรียกว่า หมึ่งต๋วย (Mừng Tuổi) เพื่อเป็นสิริมงคลกับทุกคนในครอบครัว
พิธีต่อมาคือการไปเด็ดเอายอดกิ่งไม้ที่เพิ่งงอกตามถนนหนทางใกล้บ้านเพื่อเอามาปักในแจกันบูชาบรรพบุรุษ ซึ่งมีความเชื่อว่าจะนำผาโชคลาภมาให้ ดังนั้นผู้คนส่วนใหญ่จึงเลือกไปเด็ดเอายอดไม่นี้มาเพื่อเป็นสิริมล ภาษาเวียดนามเรียกการเด็ดเอายอดไม้นี้ว่า หายหลก (Hái Lộc) พอถึงเช้าวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติของเวียดนาม ซึ่งถือเป็นวันปีใหม่หรือวันตรุษญวน จะมีการไหว้บรรพบุรุษในวันปีใหม่ครั้งใหญ่ ของไหว้จะมีมากมายหลายอย่าง เพราะเชื่อว่าจะส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของครอบครัวตลอดปี หลังจากนั้นญาติพี่น้องที่อยู่คลละบ้านจะเริ่มไปอวยพรตามบ้านญาติและคนสนิท ซึ่งคนเวียดนามมีความเชื่อว่าคนที่ก้าวเท้าเข้ามาในบ้านคนแรกจะเป็นคนที่กำหนดความเป็นไปในบ้าน ดังนั้นคนเวียดนามส่วนใหญ่จึงมักเลือกคนที่เหมาะสมกับบ้านตัวเองเพื่อเป็นสิริมงคล ซึ่งบ้านไหนที่กำลังอยู่ในระหว่างไว้ทุกข์ คนที่ป่วยไม่สบาย และคนที่กำลังอุ้มท้องจะไม่ไปอวยพรใคร และคนอื่นก็จะไม่เข้ามาอวยพรบ้านที่กำลังไว้ทุกข์ คนเวียดนามเรียกธรรมเนียมนี้ว่า ซงหญ่า (Xông Nhà) หากบ้านไหนโชคไม่ดีมีคนในบ้านเสียชีวิตในช่วงเทศกาลตรุษญวนจะจัดงานศพแต่จะยังไม่ไว้ทุกข์ (จะยังไม่ใส่ชุดไว้ทุกข์สีขาว) หากเสียชีวิตก่อนวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติของเวียดนาม จะต้องทำพิธีศพและฝังศพให้เสร็จก่อนวันที่ 1 เดือน 1 แต่หากเสียชีวิตในวันช่วงวันที่ 1 เดือน 1 ก็ให้เริ่มจัดงานศพและใส่ชุดไว้ทุกข์ได้ตามธรรมเนียมในวันต่อมาคือวันที่ 2 เดือน 1 ซึ่งคนรู้จักก็จะยังไม่ไปร่วมงานศพจนกว่าจะไหว้ส่งบรรพบุรุษที่บ้านซึ่งแสดงถึงการสิ้นสุดเทศกาลตรุษญวน
สิ่งที่ห้ามทำในวันเทศกาลตรุษญวนคือ ห้ามกวาดบ้าน ถ้ากวาดก็ให้กวาดเข้า ห้ามพูดเรื่องไม่ดี ห้ามทะเลาะกัน ห้ามทวงหนี้และจ่ายหนี้ ห้ามยืมเงิน ห้ามไปงานศพหรือบ้านที่กำลังไว้ทุกข์ ห้ามไปเยี่ยมคนป่วย โดยปกติจะห้ามปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ประมาณ 3 วันเพราะถือว่าเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ซึ่งปีใหม่แสดงถึงสิ่งดีๆ จะไดโชคดีตลอดปี หลังจากพิธีทุกอย่างเสร็จสิ้น พิธีไหว้ส่งบรรพบุรุษกลับสวรรค์จะทำในวันที่ 2 หรือ 3 เดือน 1 ทางจันทรคติเวียดนาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งการไหว้ส่งบรรพบุรุษกลับสวรรค์จะมีการไหว้ใหญ่เป็นครั้งสุดท้าย ของไหว้จะถูกจัดแบบมากมายหลายอย่างเหมือนกับไหว้วันที่ 1 เดือน 1 การไหว้ส่งบรรพบุรุษจะต้องมีการไหว้ขอบคุณบรรพบุรุษที่คุ้มครองลูกหลานทุกคน และขอบคุณที่บรรพบุรุษที่ได้กลับมาร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษญวนกับลูกหลาน หลังจากนั้นก็เผากระดาษเงินกระดาษทองเพื่อให้บรรพบุรุษนำไปใช้ในปรโลก กระดาษเงินกระดาษทองที่ไหว้จะมากกว่าเทศกาลอื่น ๆ ในขณะที่เผากระดาษจะต้องมีการเทเหล้าขาวหนึ่งแก้วเล็กๆ ลงไปเพราะเชื่อว่าจะทำให้กระดาษเงินกระดาษทองเหล่านั้นใช้ได้จริงในปรโลก และพิธีตรุษญวนหรือปีใหม่เวียดนามก็ถือเป็นอันสิ้นสุด