การเชิดมังกร (จีนตัวย่อ: ; จีนตัวเต็ม: ; พินอิน: wǔ lóng อู่หลง) เป็นรูปแบบการเต้นรำที่สืบทอดมาและถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของวัฒนธรรมจีน เหมือนกับการเชิดสิงโต มักจะพบเห็นในการฉลองเทศกาลต่างๆ. การเต้นจะใช้ทีมเต้นต่อกันไปตามรูปร่างความยาวของมังกร ทีมเต้นจะมีการเคลื่อนไหวเลียนแบบการเคลื่อนไหวของแม่น้ำที่คดเคี้ยวไปมา

การเชิดมังกร
อักษรจีนตัวเต็ม龍 อู่หลง
อักษรจีนตัวย่อ龙 อู่หลง
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
อักษรจีนตัวเต็ม龍 น่งหลง

การเชิดมังกรมักจะจัดขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ของจีน (ตรุษจีน) มังกรจีนเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน และพวกเขาเชื่อว่ามังกรจะนำความโชคดีมาให้กับผู้คน ฉะนั้นยิ่งเชิดมังกรระยะเวลานานมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะนำความโชคดีมาให้ชุมชนมากขึ้น.[1] มังกรถูกเชื่อว่าเป็นผู้ที่มีคุณสัมบัติที่ประกอบด้วย พลังอันยิ่งใหญ่ ความสง่างาม ความอุดมสมบูรณ์ สติปัญญา และสิริมงคล. ลักษณะของมังกรมีทั้งความน่ากลัว และมีขนาดใหญ่ แต่มันก็มีความเมตตา ดังนั้นจึงถูกนำไปกลายเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจกษัตริย์ การเคลื่อนไหวแบบที่สืบทอดกันมาเป็นการแสดงถึงอำนาจและความสง่างามของมังกร

ประวัติ แก้

 
The head of dragon dance costume

ในช่วงของราชวงศ์ฮั่น รูปแบบการเชิดมังกรแบบต่าง ๆ ได้ถูกกล่าวถึง ในสมัยจีนโบราณ มังกรจีน คือผู้กำหนดการตกของฝน ตัวอย่างเช่น มังกร อิ้งหลง (Yinglong) ถูกยกย่องให้เป็นเทพแห่งฝน, [2] และเสินหลง (Shenlong) มีอำนาจในการกำหนดให้มีลมเท่าใด มีฝนเท่าใด[3] ระบำฝนจะจัดขึ้นในช่วงเวลาหน้าแล้งซึ่งจะมีมังกรเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งด้วยเสมอ. ตามหนังสือที่เขียนขึ้นโดยต่ง จ้งซู (Dong Zhongshu) ในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีชื่อหนังสือว่า ชุนชิวฝานลู่ ในส่วนที่เกี่ยวกับพิธีกรรมขอฝน จะมีการใช้มังกรที่ทำจากดินเหนียว และเด็ก ๆ และผู้ใหญ่ก็จะออกมาเต้น จำนวนมังกร ความยาวและสีสันของมังกรจะแตกต่างกันไปตามในแต่ละปีไม่เหมือนกัน.[4][5] การบันเทิงที่เป็นที่นิยมที่สุดในช่วงของราชวงศ์ฮั่นก็คือ ไป่ซี่ (百戲) การแสดงวาไรตี้โชว์ที่เรียกว่า เซี่ยงเหริน (象人) จะมีการแต่งตัวรูปแบบหลากหลาย เช่น สัตว์ต่าง ๆ ปลา มังกร ในเรียงความบทกวีของจาง เหิง ที่ชื่อว่า ซีจิงฟู่ (西京賦) ได้มีการบันทึกการแสดงไว้หลากหลาย เช่น การแสดงที่มีการแต่งกายเป็นมังกรเขียวและเป่าขลุ่ย และปลามังกรแสดงการเปลี่ยนร่างเป็นมังกร[6][7][8] การแสดงบางอย่างปรากฏให้เห็นบนเห็นแกะสลักสมัยราชวงศ์ฮั่น อุปกรณ์ประกอบฉากเป็นอะไรที่ยุ่งยากที่การเต้นสมัยใหม่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ และนักแสดงต้องเป็นผู้ทำให้มังกรดูมีน้ำหนักเบา[9]

 
ขบวนพาเหรดเชิดมังกรในซีแอตเติล, ปี 1909

มังกรในสมัยราชวงศ์ฮั่นก็ได้มีการกล่าวถึงในสมัยของราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่งด้วยเหมือนกัน มังกรที่มีรูปร่าง คล้ายกับโคมมังกร (หลงเติง; 龍燈) ที่ใช้ในงานเทศกาลโคมไฟ พรรณนาอยู่ในการจัดงานของราชวงศ์ซ่งที่ชื่อว่า ตงจิงเมิ่งฮว๋าลวู่ โดยได้มีการสร้างมังกรจากแก้วและผ้า ข้างในบรรจุเทียนจำนวนมาก[10][11] สำหรับโคมไฟมังกรอาจจะหิ้วเดินขบวนกันไปตามถนนในช่วงค่ำคืนของเทศกาลโคมไฟ[12] ซึ่งอาจจะนำไปประยุกต์กับการเชิดสิงโตในรูปแบบปัจจุบันที่มักจะจัดกันในตอนกลางวัน ซึ่งไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการเชิดสิงโตแบบสมัยใหม่เริ่มกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด ในสมัยปัจจุบัน รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีการปรับปรุง ประยุกต์ และประชาสัมพันธ์การเต้นรำแบบพื้นเมืองหลากหลายรูปแบบ[13] ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยให้การเชิดสิงโตเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในประเทศจีน และสังคมชาวจีนทั่วโลก

จากความนิยมที่มีของการเชิดสิงโต ทำให้รูปแบบการเชิดสิงโตได้มีการพัฒนาออกมาหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ของจีน ตัวอย่างเช่น ใน จ้านเจียง มณฑลกวางตุ้ง ส่วนลำตัวของมังกรจะประกอบด้วยนักแสดงจำนวนหลายสิบหลายร้อยต่อกัน และในมณฑลผู่เจียงและมณฑลเจ้อเจียง ลำตัวของมังกรจะใช้ไม้ทำ จำนวนรูปแบบการเชิดสิงโตมีอยู่มากกว่า 700 แบบ [14]

โครงสร้างของมังกร แก้

 
การแสดงการเชิดมังกรควบคู่ไปกับการแสดงเชิดสิงโตในงานพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2008 ใน ซานฟรานซิสโกเดือนเมษายน

มังกรจะมีลำตัวที่ยาวคดเคี้ยวและมีเสาอยู่เป็นจำนวนมาก มีหัวและหาง ตัวมังกรในแต่ละส่วนจะถูกนำมาต่อติดกันด้วยห่วงและต่อส่วนหัวและส่วนหางตรงส่วนท้ายสุด มังกรแบบดั้งเดิมสร้างจากไม้ มีห่วงไม้ไผ่อยู่ข้างใน ภายนอกห่อหุ้มด้วยผ้าสวยงาม อย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบันจะใช้วัสดุที่เบาขึ้นเช่น อะลูมิเนียม และ พลาสติกมาแทนไม้และวัสดุที่หนัก

มังกรจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 25 ถึง 30 เมตร สำหรับที่ใช้แสดงแบบผาดโผน และที่ใหญ่สุดก็จะยาวถึง 50 ถึง 70 เมตร สำหรับในงานเดินขบวนและเทศกาลฉลอง ขนาดและความยาวจะขึ้นอยู่กับกำลังของคนที่แสดง กำลังเงิน วัตถุดิบ ทักษะความสามารถของนักแสดง และขนาดพื้นที่ที่ใช้แสดง. คณะขนาดเล็กจะไม่สามารถทำมังกรให้ยาวมากได้ เพราะมันจะต้องขึ้นอยู่กับกำลังของคนแสดง ราคาค่อนข้างแพง และ ต้องใช้ทักษะพิเศษ ซึ่งจะจัดการได้ค่อนข้างยากสำหรับคณะขนาดเล็ก.

ขนาดและความยาวปกติของมังกรแนะนำอยู่ที่ 112 ฟุต (34 เมตร) และจะมีการแยกเป็น 9 ส่วนใหญ่ๆ โดยที่ส่วนย่อยในแต่ละส่วนยาวประมาณ 14 นิ้ว ดังนั้นทั้งตัวจะมีประมาณ 81 ส่วนย่อย มีมากมายที่อาจจะขยายไปถึง 15 ส่วน และมังกรบางตัวก็มียาวถึง 46 ส่วน บางครั้ง ก็มีการแข่งสร้างมังกรในหมู่ชุมชนชาวจีนรอบโลก โดยพยายามสร้างให้ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตั้งแต่มีตำนานที่กล่าวว่ายิ่งมังกรยาวเท่าไหร่ก็จะยิ่งนำความโชคดีมาให้มากขึ้นเท่านั้น มังกรที่ยาวที่สุดที่มีบันทึกไว้ในปัจจุบันยาวกว่า 5 กิโลเมตร[15]

ในประวัติศาสตร์ การเชิดมังกรจะมีการแสดงที่หลากหลายแตกต่างกันไป พร้อมด้วยรูปแบบ และสีสันของมังกรที่แตกต่างกันไปเหมือนกัน บางทีสีเขียวถูกเลือกให้เป็นสีหลักของมังกรเพราะสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของการเก็บเกี่ยวที่ดี สีอื่นๆ ได้แก่ สีเหลือง เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ที่น่าเกรงขาม สีทองและสีเงินเป็นสัญลักษณ์ของความเจิรญมั่งคั่ง รุ่งเรือง สีแดงเป็นตัวที่ทำให้เกิดความตื่นเต้น และส่วนหางมักจะประดับประดาด้วยสีเงินและประกายระยิบระยับ ซึ่งทำให้รู้สึกได้ถึงบรรยากาศแห่งความสนุกสนาน เนื่องจากการเชิดมังกรไม่ได้มีการแสดงทุกวัน ดังนั้นผ้าที่ห่อหุ้มตัวมังกรจะถูกทอดออกเพื่อเก็บรักษาไว้ก่อนที่จะมีการแสดงใหม่ในครั้งต่อไป

การแสดง แก้

 
สมาชิกสมาคมเยาวชนจีนในเมลเบิร์น Melbourne แสดงในวันปีใหม่, ที่ Crown Casino, โชว์เทคนิคการหมุนเกลียวขั้นพื้นฐาน

การเชิดมังกรแสดงโดยความสามารถของทีมที่จะต้องมีการเคลื่อนไหวของร่างกายนิ่งที่สุด. การผสมผสานลำตัวแต่ละส่วนของมังกรในเวลาที่เหมาะสมและถูกต้องเป็นจุดสำคัญที่ทำให้การเชิดมังกรประสบความสำเร็จ. ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นแม้แต่จากนักแสดงคนเดียวจะมีผลต่อความล้มเหลวของการแสดงทั้งหมด. การเชิดมังกรที่จะประสบความสำเร็จ ส่วนหัวของมังกรจะต้องสามารถประสานลำตัวให้เข้ากับจังหวะของกลองให้ได้ดี. ในงานพระราชพิธีหรือขบวนพาเหรด ส่วนหัวของมังกรจะหนักประมาณ 12 จิน (14.4 กิโลกรัม, เกือบ 32 ปอนด์). ส่วนหางของมังกรก็มีบทบาทสำคัญในการแสดงซึ่งจะต้องเคลื่อนไหวไปตามการเคลื่อนไหวของส่วนหัว. ส่วนที่ 5 จะคือส่วนตรงกลางลำตัว ผู้แสดงจะต้องมีความตื่นตัวกับการเคลื่อนไหวแบบเวลาต่อเวลาเลย

 
เชิดมังกรไฟ

รูปแบบการแสดงเชิดมังกร จะถูกออกแบบตามทักษะและประสบการณ์ของผู้แสดง บางรูปแบบจะเรียกว่า "Cloud Cave", อ่างน้ำวน "Whirlpool", รูปแบบไท้เก๊ก T'ai chi , เกลียวเงิน"threading the money", ตามหาไข่มุก "looking for pearl", และมังกรล้อมรอบเสา "dragon encircling the pillar". การเคลื่อนไหวที่เรียกว่า มังกรไล่ลูกแก้ว "dragon chasing the pearl" เป็นการแสดงถึงว่ามังกรยังคงแสวงหาภูมิปัญญาความรู้อย่างต่อเนื่อง.

มังกรเคลื่อนไหวในรูปแบบของคลื่นเกิดจากการแกว่งประสานกันระหว่างแต่ละส่วนอย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวลักษณะคลื่นนี้ถือเป็นการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของมังกร ส่วนการเคลื่อนไหวแบบอื่นที่ซับซ้อนและยากขึ้นก็ขึ้นอยู่กับการสร้างสรรค์ของแต่ละทีมเอง. รูปแบบการแสดงแบบทั่วๆ ไปรวมทั้งการวิ่งหมุนวน เพื่อทำให้ร่างกายของมังกรหันหลังและบิดตัวเองด้วย นี่เป็นเหตุให้นักแสดงจะต้องกระโดดข้ามผ่านส่วนลำตัวของมังกรเพื่อให้ได้ภาพที่สวยงาม รูปแบบขั้นสูงอื่นๆ ได้แก่ การหมุดเป็นเกลียว และแสดงกายกรรม ซึ่งนักแสดงจะเหยียบบนขา และไหล่ของแต่ละคนเพื่อให้การเคลื่อนไหวของมังกรสูงขึ้นเรื่อยๆ

 
การแสดงเชิดมังกรคู่ที่เมืองฉงซิ่ง Chongqing, ในจีนเดือนกันยายนปี 2002 ช่วงฉลองวันชาติจีน China's National Day

การเป็นนักแสดงเชิดมังกรจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบและทักษะหลายอย่างด้วยกัน เป็นการผสมผสานของหลายๆ กิจกรรมเข้าด้วยกัน ผสมผสานระหว่างการฝึกฝนและความคิดของทีมนักกีฬา ละครเวที และศิลปะการแสดง. ทักษะพื้นฐานนั้นง่ายที่จะเรียนรู้ แต่อย่างไรก็ตาม หากจะเป็นนักแสดงที่มีความสามารถจะต้องผ่านการฝึกฝนการเคลื่อนไหวแบบที่ซับซ้อนจนเป็นธรรมชาติได้ ซึ่งไม่ได้เกิดจากทักษะส่วนตัวของคนๆ เดียว แต่จะต้องมุ่งเน้นไปที่การประสานการเคลื่อนไหวของทีมด้วย

การเชิดมังกรคู่ ไม่ค่อยเห็นในนิทรรศการตะวันตก เป็นการแสดงที่นักแสดงสองแถวพามังกรขึ้นสู่เสาสูงชะลูด การแสดงมังกรเก้าแถวก็หาดูยากเกิดจากความเชื่อที่ว่าเก้าเป็นเลขที่ดี ซึ่งการแสดงจะต้องใช้คนร่วมแสดงจำนวนมากจากหลายๆ คณะ ซึ่งจะจัดได้เฉพาะงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลระดับชาติหรือภูมิภาคเท่านั้น

การแข่งขัน แก้

การแข่งขันการเชิดมังกรมีจัดขึ้นกันทั่วโลก. ในการแข่งขันจะมีการเข้มงวดเรื่องกฎรูปแบบของลำตัวมังกรและกฎของการแสดง ดังนั้นมังกรที่เข้าร่วมแข่งขันจะถูกสร้างให้ดูบนเวทีแล้วประทับใจ มีความเร็วและความคล่องตัว ซึ่งทีมนักแสดงที่แสดงก็ใช้เทคนิคการแสดงแบบที่ยาก มังกรที่ใช้แสดงเหล่านี้ หัวจะเล็กและเบากว่าธรรมดาทั่วไปเพื่อให้สามารถตวัดชักไปได้รอบๆ และจะต้องมีน้ำหนักน้อยกว่า 3 กิโลกรัม ชิ้นส่วนของลำตัวจะต้องเป็นอลุมิเนียมเบา ขอเกี่ยวและห่วงจะต้องเป็นท่อพีวีซีที่บางมากๆ การแสดงหนึ่งชุดจะใช้เวลาประมาณ 8-10 นาที.

ในปัจจุบัน มังกรเรืองแสงคือมังกรที่ทาด้วยสีเรืองแสง luminous paints ซึ่งจะเกิดการเรืองแสงภายใต้แบล็คไลท์ black light ก็ถูกนำมาใช้ในการแข่งขันเช่นกัน

ในวรรณคดี แก้

วรรณคดีของลอว์เรนซ์ เฟอร์ลิงเฮททิ Lawrence Ferlinghetti's poem การเชิดมังกรที่ดีที่สุด "The Great Chinese Dragon", ได้ตีพิมพ์ในบทกวีของเขาในปี 1961 ชื่อว่า เริ่มต้นจากซานฟรานซิสโก Starting from San Francisco ซึ่งบทกวีนี้มีแรงบันดาลใจมาจากการเชิดมังกร. เกรกอรี่สตีเฟนสัน Gregory Stephenson กล่าวว่ามังกรเป็นตัวแทนที่แสดงถึงพลังและความลึกลับของชีวิต ได้เห็นความจริงที่ว่าจิตวิญญาณโปร่งแสงทุกที่ในโลกของวัสดุ"[16] นวนิยายของเอิร์ลเลิฟเลซ ชื่อว่า "มังกรไม่สามารถเต้นรำ" ใช้รูปแบบการเต้นแบบคานิวัลในการสำรวจค้นหาการเปลี่ยนทางสังคมและประวัติศาสตร์ของอินเดียตะวันตก.[17]

อ้างอิง แก้

  1. "Dragon Dance". Cultural China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-12. สืบค้นเมื่อ 2014-08-08.
  2. Lihui Yang, Deming An (2008). Handbook of Chinese Mythology. Oxford University Press. p. 104. ISBN 978-0195332636.
  3. Jeremy Roberts (2004). Chinese Mythology A to Z: [A Young Reader's Companion]. Facts on File. p. 31. ISBN 9780816048700.
  4. Lihui Yang, Deming An (2008). Handbook of Chinese Mythology. Oxford University Press. pp. 107–108. ISBN 978-0195332636.
  5. "《求雨》". Chinese Text Project.
  6. Richard Gunde (2001). Culture and Customs of China. Greenwood. p. 104. ISBN 978-0313361180.
  7. Faye Chunfang Fei, บ.ก. (2002). Chinese Theories of Theater and Performance from Confucius to the Present. University of Michigan Press. p. 24-25. ISBN 978-0472089239.
  8. "西京賦".
  9. Wang Kefen (1985). The History of Chinese Dance. China Books & Periodicals. pp. 25–27. ISBN 978-0835111867.
  10. 宋代文化史. p. 688. ISBN 9579086826.
  11. "東京夢華錄/卷六".
  12. Lihui Yang, Deming An (2008). Handbook of Chinese Mythology. Oxford University Press. p. 109. ISBN 978-0195332636.
  13. Wang Kefen (1985). The History of Chinese Dance. China Books & Periodicals. p. 103. ISBN 978-0835111867.
  14. Janet Descutner. Asian Dance. Chelsea House Publishing. p. 100. ISBN 978-1604134780.
  15. "New Guinness Record dragon dance solidifies friendship between Chinese, Canadian cities". China Daily. 1 October 2012.
  16. "Ferlinghetti, Lawrence (Vol. 111) - Introduction". eNotes.com. สืบค้นเมื่อ 2010-02-18.
  17. Daryl Cumber Dance (1986). Fifty Caribbean writers: a bio-bibliographical critical sourcebook. Greenwood Publishing Group. p. 282. ISBN 0-313-23939-8.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้