ดัว ลีปา
ดัว ลีปา (/ˈduːə ˈliːpə/ ( ฟังเสียง) DOO-ə-_-lee-pə, แอลเบเนีย: Dua Lipa; เกิด 22 สิงหาคม ค.ศ. 1995) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และนางแบบชาวอังกฤษและแอลเบเนีย[3][4] หลังจากทำงานเป็นนางแบบเธอได้เซ็นสัญญากับวอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ปในปี 2015 และปล่อยอัลบั้มเปิดตัว Dua Lipa ในปี 2017 อัลบั้มนี้ติดอันดับสูงสุดที่อันดับสามในชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักร และมีซิงเกิลเก้าเพลง เช่น Be the One และ IDGAF และเพลงอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักร New Rules ซึ่งครองอันดับที่หกในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ในปี 2018 ลีปาได้รับรางวัลบริตอะวอดส์ สาขาศิลปินหญิงเดี่ยวและสาขาศิลปินหน้าใหม่
ดัว ลีปา | |
---|---|
Dua Lipa | |
เกิด | เวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร | 22 สิงหาคม ค.ศ. 1995
สัญชาติ | สหราชอาณาจักร |
อาชีพ |
|
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | |
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
ช่วงปี | 2014–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง |
|
เว็บไซต์ | dualipa |
ลายมือชื่อ | |
ในเดือนเมษายนปี 2018 เธอเปิดตัวซิงเกิล One Kiss กับแคลวิน แฮร์ริส โดยเพลงนี้ขึ้นอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักรและกลายเป็นซิงเกิลอันดับหนึ่งที่ยาวนานที่สุดสำหรับศิลปินหญิง ในปี 2018 เธอได้รับรางวัลบริตอะวอดส์ สาขาเพลงแห่งปี 2019 และเธอยังได้รับรางวัลแกรมมี สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม และ Electricity ซึ่งเธอร่วมทำเพลงกับ Silk City ได้รับรางวัลแกรมมีสาขาการเต้นยอดเยี่ยม ความสำเร็จของเธอทำให้อัลบั้มของเธอกลายเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่มีการสตรีมมากที่สุดบนสปอทิฟาย
ลีปาเคยได้รับรางวัลแกรมมี 2 ครั้ง, บริตอะวอดส์ 3 ครั้ง และเอ็มทีวียุโรปมิวสิกอะวอดส์ 2 ครั้ง นอกจากนี้เธอยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงบิลบอร์ดมิวสิกอวอร์ด 3 ครั้ง, อเมริกันมิวสิกอะวอร์ด 1 ครั้ง และเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์อีก 10 ครั้ง
ชีวิตในวัยเด็ก
แก้ลีปาเกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 1995 เวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร พ่อแม่ของเธอเป็นชาวคอซอวอเชื้อสายแอลเบเนียที่อพยพมาจากพริสตีนา สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย (ปัจจุบัน ประเทศคอซอวอ[a]) ในปี 1992[4] โดยลีปายังมีเชื้อสายบอสเนียจากคุณยายของเธออีกด้วย[5] ลีปายังมีน้องสาวและน้องชายอย่างละหนึ่งคน[6] เธอเข้าเรียนที่โรงเรียนในกรุงลอนดอน[7] ก่อนที่จะย้ายกลับไปยังประเทศคอซอวอกับครอบครัวในปี 2006 เมื่อพ่อของเธอได้รับข้อเสนองานที่นั่น[8] เธอกลายเป็นแฟนเพลงของศิลปินแนวฮิปฮอป ซึ่งต่อมามีอิทธิพลต่อแนวเพลงของเธอในที่สุด[9]
ตอนอายุ 14 ปี ลีปาเริ่มโพสต์วิดีโอลงบนยูทูบ คัฟเวอร์เพลงโปรดของเธอจากศิลปินหลายคน เช่น พิงก์และเนลลี เฟอร์ทาโด[10][11][12] เธอระบุว่าเธอได้รับอิทธิพลจากจัสติน บีเบอร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากการโพสต์ลงบนยูทูบ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เธออยากจะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน[13][14] หนึ่งปีต่อมาเธอย้ายกลับไปยังลอนดอนด้วยความฝันที่จะเป็นนักร้อง[15] เพื่อหารายได้ในการเรียนดนตรี ลีปาจึงต้องทำงานเสริมหลายอย่าง เช่น พนักงานต้อนรับในร้านอาหาร[16] เธอเริ่มทำงานเป็นนางแบบให้กับบริษัทแฟชั่นออนไลน์ ASOS เมื่ออายุ 16 ปี[17] โดยมีเป้าหมายเพื่อพบปะผู้คนที่สามารถช่วยเธอในการเป็นนักร้อง[10] แต่เธอลาออกจากการเป็นนางแบบหลังจากผู้จัดการบอกให้เธอลดน้ำหนัก[10] ในปี 2013 ลีปาได้แสดงในโฆษณาทางโทรทัศน์รายการ ดิเอ็กซ์แฟกเตอร์.[18]
ผลงานเพลง
แก้- ดัว ลีปา (2017)
- ฟิวเจอร์นอสตัลเจีย (2020)
- แรดิเคิลออพทิมิสซึม (2024)
อ้างอิง
แก้- ↑ Yeung, Neil Z. "Dua Lipa | Biography & History". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 15 July 2017.
- ↑ Green, Chris (27 January 2016). "Dua Lipa, O2 ABC, Glasgow, review: Jazz-infused songs recall a smoke-filled cabaret bar". The Independent. สืบค้นเมื่อ 22 July 2016.
- ↑ Savage, Mark (9 February 2016). "Dua Lipa: A pop star in waiting". BBC News. สืบค้นเมื่อ 7 May 2016.
- ↑ 4.0 4.1 Lester, Paul (1 January 2016). "Shake it up: the future female pop stars of 2016". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 May 2016.
- ↑ Lamont, Tom (15 April 2018). "Dua Lipa: 'Pop has to be fun. You can't get upset about every little thing'". The Observer. ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 28 June 2020.
- ↑ Laviola, Erin (25 July 2018). "Rina Lipa, Dua Lipa's Sister: 5 Fast Facts You Need to Know". Heavy. สืบค้นเมื่อ 18 October 2018.
- ↑ "The Realest It Gets: Dua Lipa". Clash.
- ↑ Davidson, Amy b (11 December 2015). "Meet your new favourite popstar Dua Lipa – just don't call her the new Lana Del Rey". Digital Spy. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ "Dua Lipa Recovered from a Rough Modeling Career to Become a Pop Sensation". Harper's Bazaar. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Weber, Lindsey (9 December 2015). "Meet Dua Lipa, A Restless Spirit with a Mighty Big Voice". The Fader.
- ↑ "'I want to work with A$AP Rocky' – Dua Lipa talks dark pop and hip hop influences". BBC Radio 1. 10 December 2015.
- ↑ "Interview: 2016 Must-Know – Dua Lipa". Coup de Main Magazine. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
- ↑ News, A. B. C. "How Dua Lipa went from aspiring singer to one of today's top global female pop stars". ABC News. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
I thought that was the easiest thing I could reach out to — social media and YouTube. It never had that kind of Justin Bieber effect I was hoping for," Lipa said. "But it created a formal portfolio for me, and then I started getting some messages from producers and people being like, 'Hey if you want to come and use the studio you can come and just write.' And that's how I started.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Savage, Mark (2 April 2020). "How Dua Lipa released an album from isolation". BBC News. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
Deep down I wanted to have that Justin Bieber effect where someone would find me on YouTube!
- ↑ Gore, Sydney (23 October 2015). "Band Crush: Dua Lipa". Nylon.
- ↑ "Dua Lipa". South by Southwest. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
- ↑ "Dua Lipa talks about her teen years in Kosovo and why it's tough for new music artists to break through". London Evening Standard. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
- ↑ Murphy, Lauren (30 August 2017). "Watch: Turns out Dua Lipa appeared on an ad for The X Factor back in 2013". entertainment.ie. สืบค้นเมื่อ 3 December 2017.