ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ (วิดีโอเกม พ.ศ. 2532)

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์[a] (อังกฤษ: Dungeon Explorer) เป็นวิดีโอเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทที่พัฒนาโดยบริษัทแอตลัส และเผยแพร่ครั้งแรกโดยบริษัทฮัดสันซอฟต์สำหรับเทอร์โบกราฟซ์-16 ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1989 และต่อมาในทวีปอเมริกาเหนือโดยเอ็นอีซีภายในวันที่ 15 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน ซึ่งภาคแรกในแฟรนไชส์ เกมนี้มีฉากในดินแดนแห่งออดดีเซียที่ถูกรุกรานโดยเผ่าพันธุ์เอเลียน ซึ่งผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นหนึ่งในตัวละครหลักแปดตัวที่ได้รับการมอบหมายให้กู้ศิลาโอรา เพื่อสังหารราชาเอเลียนที่ชื่อนาตัส เกมนี้ร่วมกำกับโดยคาซูโตชิ อูเอดะ และโยซูเกะ นีโนะ ซึ่งได้รับการสร้างขึ้นโดยทีมงานส่วนใหญ่ที่ทำงานในหลายโครงการ เช่น ผลงานต่อมาในซีรีส์เมกามิเทนเซย์ แม้ว่าจะเปิดตัวครั้งแรกสำหรับเทอร์โบกราฟซ์-16 แต่ในภายหลังก็มีการเปิดตัวอีกครั้งผ่านบริการดาวน์โหลดสำหรับเครื่องเล่นต่าง ๆ

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์
ผู้พัฒนาแอตลัส
ผู้จัดจำหน่าย
กำกับคาซูโตชิ อูเอดะ
โยซูเกะ นีโนะ
โปรแกรมเมอร์ทากาชิ ฮาเซงาวะ
อูนิ อาราโตะ
ศิลปินฮิเดยูกิ โยโกยามะ
ฮิโรชิ สึจิ
โยชิอากิ คิตามูระ
แต่งเพลงสึกาซะ มาซูโกะ
ชุดดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์
เครื่องเล่นเทอร์โบกราฟซ์-16
วางจำหน่าย
แนวเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาท, ตะลุยดันเจียน, สับและเฉือน
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น (มากถึงห้าผู้เล่นผ่านเทอร์โบแทป)

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ได้รับการต้อนรับในเชิงบวกจากนักวิจารณ์ในช่วงเปิดตัวครั้งแรก และถือเป็นเกมที่บุกเบิกในประเภทแอ็กชันเล่นตามบทบาทเนื่องจากรูปแบบการเล่นแบบหลายผู้เล่นร่วมมือกันสำหรับผู้เล่นสูงสุดห้าคน[1] แต่หลังจากนั้นก็ได้รับการตอบสนองที่หลากหลายมากขึ้นจากเหล่านักวิจารณ์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งตามมาด้วยสี่ภาค ได้แก่ ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II (ค.ศ. 1993), ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ สำหรับเซกา ซีดี และคริสตัลบีนส์ฟอร์มดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ (ค.ศ. 1995) ตลอดจนดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์: วอริเออส์ออฟเอนเชียนอาตส์ (ค.ศ. 2007)

รูปแบบการเล่น แก้

 
ภาพหน้าจอรูปแบบการเล่น

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์เป็นเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทที่มีองค์ประกอบแนวตะลุยดันเจียนรวมถึงสับและเฉือนมุมมองจากบนลงล่าง ซึ่งชวนให้นึกถึงเกมกอนต์เล็ต โดยผู้เล่นสวมบทบาทเป็นหนึ่งในตัวละครหลักแปดตัวที่ได้รับมอบหมายให้กู้ศิลาโอราเพื่อสังหารราชาเอเลียนที่ชื่อนาตัส และคืนความสงบสุขให้แก่ดินแดนแห่งออดดีเซีย[2][3][4] ตัวละครแต่ละตัวจะสังกัดอยู่ในคลาสหนึ่ง (ได้แก่ นักรบ, โจร, พ่อมด, แม่มด, บิชอป, เอลฟ์, นักดนตรี หรือภูตแคระ) รวมถึงความสามารถของพวกเขาจะแตกต่างกันไปในด้านเวทมนตร์ขาวและดำ ตลอดจนสถิติ[2] ตัวอย่างเช่น โพชันสีขาวของบิชอปจะรักษาพันธมิตรที่อยู่ใกล้ ๆ ในขณะที่โพชันสีดำของนักดนตรีมีความสามารถในการแปรผันดนตรี ส่วนคลาสพิเศษ อย่างเจ้าหญิง และฤๅษี ยังสามารถปลดล็อกผ่านรหัสผ่านเมื่อเกมดำเนินไป[3][4]

ผู้เล่นสำรวจเมืองหรืออาณาจักรเพื่อค้นหาดันเจียนซึ่งเป็นที่ตั้งของบอสที่ต้องกำจัดเพื่อความรุดหน้า และบอสแต่ละตัวจะทิ้งคริสตัลไว้หลังจากที่พวกมันพ่ายแพ้ ซึ่งหมุนเวียนผ่านสี่สี และสอดคล้องกับสถิติของตัวละคร (การโจมตี, ความแข็งแกร่ง, ความคล่องตัว และสติปัญญา)[2][3][4] ผู้เล่นยังสามารถเพิ่มสถิติได้ด้วยการกำจัดศัตรู หรือค้นหาอุปกรณ์เสริมผ่านแผนที่[2][4] เกมนี้รองรับผู้เล่นได้สูงสุดห้าคนพร้อมกัน แต่จะมีการแบ่งปันชีวิตระหว่างผู้เล่น และจะเกมโอเวอร์เมื่อพวกเขาแพ้[2][3][4] ส่วนระบบรหัสผ่านยังได้ใช้เพื่อรักษาความคืบหน้าของผู้เล่นแต่ละคน[2][4]

เรื่องย่อ แก้

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์มุ่งเน้นไปที่การแสวงหาวีรบุรุษหลายคนเพื่อค้นหาศิลาโอราสำหรับราชาแห่งออดดีเซีย[2] เมื่อเผ่าพันธุ์เอเลียนที่ตอนนี้ปกครองดินแดนได้บุกเข้ามา พระราชาได้ซ่อนศิลาไว้ลึกลงไปในดันเจียนเพื่อให้มันปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ตอนนี้พระราชาต้องการให้ผู้เล่นกู้ศิลาซึ่งสามารถนำชีวิต, แสงสว่าง และความสุข มาสังหารราชาเอเลียนที่ชื่อนาตัส[4] เหล่าวีรบุรุษก้าวผ่านดันเจียนที่แตกต่างกัน, ต่อสู้กับสัตว์ร้ายที่น่ากลัว และในที่สุดก็เอาศิลาโอรากลับคืนมา เมื่อถวายแด่ราชา ซึ่งตอนหลังเผยให้เห็นว่าตัวเองเป็นนาตัสและขโมยศิลาไป ส่วนองครักษ์ชื่อยูดาสก็ได้หักหลังต่อเหล่าวีรบุรุษเช่นกัน แต่ถูกสยบโดยพวกเขา จากนั้น เหล่านักผจญภัยก็ไล่ล่าและเผชิญหน้ากับนาตัส โดยได้สังหารมันและเอาศิลาโอรากลับคืนมา ซึ่งนำไปสู่ช่วงเวลาแห่งความสงบสุข

การพัฒนาและการตลาด แก้

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ได้รับการสร้างขึ้นโดยทีมงานส่วนใหญ่ที่ทำงานในหลายโครงการ เช่น ผลงานต่อมาในซีรีส์เมกามิเทนเซย์ โดยมีคาซูโตชิ "บู" อูเอดะ และโยซูเกะ "ฮอตไรซ์" นีโนะ ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับ[5] ส่วนทากาชิ "ฮิเอมอน" ฮาเซงาวะ และอูนิ "อู" อาราโตะ ทำหน้าที่เป็นโปรแกรมเมอร์ ในขณะที่ศิลปินอย่างฮิเดยูกิ "ทอนนี" โยโกยามะ, ฮิโรชิ "บลาโด" สึจิ และโยชิอากิ "สติง" คิตามูระ รับหน้าที่ดูแลพิกเซลอาร์ต[5] ด้านซาวด์แทร็กแต่งโดยสึกาซะ "โดซังโกะ แมคโค" มาซูโกะ[5] ส่วนคนอื่น ๆ ยังได้ร่วมมือในการพัฒนาเกมนี้ โดยทาดายูกิ คาวาดะ ผู้เป็นนักออกแบบสตาร์พาโรเจอร์ ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ในฐานะงานแรกของเขาในอุตสาหกรรมวิดีโอเกม โดยดูแลด้านกราฟิกและความสมดุลของเกม[5][6]

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ได้รับการเปิดตัวครั้งแรกสำหรับเทอร์โบกราฟซ์-16 ในประเทศญี่ปุ่นโดยฮัดสันซอฟต์เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1989 และต่อมาในทวีปอเมริกาเหนือโดยเอ็นอีซี เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน[7][8] เกมดังกล่าวได้รับการเผยแพร่อีกครั้งสำหรับเวอร์ชวลคอนโซลของวีในทวีปยุโรปเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2006 และในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2007[9] เวอร์ชันวีสามารถเล่นได้กับผู้เล่น 5 คน โดยมีอย่างน้อยหนึ่งคนที่ใช้คอนโทรลเลอร์เกมคิวบ์[4] รวมถึงเกมนี้ได้รับการเผยแพร่อีกครั้งในเพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์ก ของประเทศญี่ปุ่นและทวีปอเมริกาเหนือเช่นกัน[10]

การตอบรับ แก้

การตอบรับร่วมสมัย
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
คอมพิวเตอร์แอนด์วิดีโอเกมส์94 เปอร์เซ็นต์[12]
ดรากอน     [13]
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลี28 / 40[7]
แฟมิซือ29 / 40[8]
เอซ890 / 1000[16]
มารูกาซึ พีซี เอนจิน27 / 40[17]
พีซี เอนจินแฟน23.66 / 30[18]
เพาเวอร์เพลย์75 / 100[19]
เทอร์โบเพลย์          [20][21]

นิตยสารดรากอนได้ให้คะแนนเกมดังกล่าวที่ 5 ดาว จากคะแนนเต็ม 5 ดาว[13]

การวิจารณ์ย้อนหลัง แก้

การประเมินย้อนหลัง
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
ยูโรเกมเมอร์(วี)      [22]
(วี) 3 / 5[23]
เกมสปอต(วี) 5.4 / 10[24]
ไอจีเอ็น(วี) 6.0 / 10[25]
นินเท็นโดไลฟ์(วี)           [26]

ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ได้รับการตอบรับที่หลากหลายจากผู้วิจารณ์ตั้งแต่เปิดตัวใหม่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล

สิ่งสืบทอด แก้

ภาคต่ออย่างดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II ได้รับการเปิดตัวในภายหลังสำหรับคอนโซลเทอร์โบกราฟซ์-ซีดี ใน ค.ศ. 1993[27][28] พอร์ตที่ได้รับการดัดแปลงขนานใหญ่ของดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II ได้รับการสร้างขึ้นสำหรับซูเปอร์แฟมิคอม ซึ่งมีชื่อว่าคริสตัลบีนส์ฟรอมดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ และวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1995[29] นอกจากนี้ ยังมีเกมเซกา ซีดี ซึ่งใช้ชื่อดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์[30][31] โดยเกี่ยวข้องกับซีรีส์ แต่ไม่ใช่พอร์ตของเกมก่อนหน้าใด ๆ และแตกต่างจากตัวอื่นมาก ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์สำหรับเซกา ซีดี ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทเวสโตน ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับกอนต์เล็ตมากกว่าเกมอื่น ๆ ในซีรีส์ โดยอาวุธและชุดเกราะสามารถซื้อได้ด้วยทองคำที่พบในดันเจียน

ใน ค.ศ. 2007 เกมที่เกี่ยวข้องสองเกม ซึ่งแตกต่างจากเกมภาคแรกอีกครั้ง ได้รับการเผยแพร่เพื่อให้ตรงกับการเปิดตัวดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ภาคแรกในเวอร์ชวลคอนโซลของเครื่องเล่นวี ทั้งดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์: เมยากุโนะโทบิระ และดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์: จาชินโนะเรียวอิกิ ได้รับการเปิดตัวสำหรับเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล และนินเท็นโด ดีเอส ตามลำดับในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เกมทั้งสองมีการแปลเป็นภาษาท้องถิ่น แต่เปิดตัวเป็นดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์: วอริเออส์ออฟเอนเชียนอาตส์[32][33]

หมายเหตุ แก้

  1. ダンジョン エクスプローラー Danjon Ekusupurōrā

อ้างอิง แก้

  1. Aihoshi, Richard (8 มกราคม 2008). "Dungeon Explorer: Warriors of Ancient Arts Interview - Hudson tells us about bringing back a classic property with two different versions for the PSP and DS platforms". RPG Vault. IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Dungeon Explorer manual (TurboGrafx-16, US)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Dungeon Explorer". TurboForce. No. 1. Sendai Publishing. June 1992. pp. 16–17.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Kalata, Kurt (December 13, 2009). "Dungeon Explorer". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Atlus (1989). Dungeon Explorer (TurboGrafx-16). NEC. Level/area: Staff.
  6. "ゲームデザ イナー大全集". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 151. ASCII Corporation. November 8, 1991. pp. 85–100. (Translation by Shmuplations. เก็บถาวร 2020-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).
  7. 7.0 7.1 Harris, Steve; Semrad, Ed; Nauert, Donn; Stockhausen, Jim (November 1989). "Review Crew - Dungeon Explorer". Electronic Gaming Monthly. No. 4. Sendai Publishing. p. 12.
  8. 8.0 8.1 "NEW GAMES CROSS REVIEW: ダンジョンエクスプローラー (PCエンジン)". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 69. ASCII Corporation. March 3, 1989. p. 14.
  9. Weiss, Brett Alan (8 มกราคม 2007). "Dungeon Explorer [Virtual Console] - Overview". AllGame. All Media Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020.
  10. Weiss, Brett Alan (3 มิถุนายน 2011). "Dungeon Explorer [PlayStation Network] - Overview". AllGame. All Media Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020.
  11. 11.0 11.1 Braun, Peter; Kleimann, Manfred (August–September 1989). "Konsolen - "Rollenadvencade"". Aktueller Software Markt (ภาษาเยอรมัน). No. 34. Tronic Verlag. p. 70.
  12. Rignall, Julian (June 1989). "PC Engine - Mean Machines: Dungeon Explorer". Computer and Video Games. No. 92. Future Publishing. pp. 90–91. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-03. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
  13. 13.0 13.1 Lesser, Hartley; Lesser, Patricia; Lesser, Kirk (November 1990). "The Role of Computers - Reviews - Dungeon Explorer" (PDF). Dragon. No. 163. TSR, Inc. p. 49. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-22. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
  14. Herranz, Sonia (July 1993). "Lo Más Nuevo - Turbo Grafx: Dungeon Explorer – La Piedra Mágica". Hobby Consolas (ภาษาสเปน). No. 22. Hobby Press. pp. 120–121.
  15. Huyghues-Lacour, Alain (November 1989). "Rolling Softs - Dungeon Explorer (Console NEC, carte Hudson soft)". Tilt (ภาษาฝรั่งเศส). No. 71. Editions Mondiales S.A. p. 87.
  16. Rignall, Julian (July 1989). "Screen Test - Dungeon Explorer: PC Engine out-Gauntlets Gauntlet". ACE. No. 22. EMAP. p. 56. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-26. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
  17. "ダンジョンエクスプローラー". Marukatsu PC Engine (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Shoten.
  18. "PC Engine All Catalog '93 10月号特別付録 - ダンジョンエクスプローラー". PC Engine Fan (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 6 no. 10. Tokuma Shoten. October 1, 1993. p. 43.
  19. Hengst, Michael (August 1989). "Videospiele-Tests: Dungeon Explorer". Power Play (ภาษาเยอรมัน). No. 17. Future Verlag. p. 60.
  20. Nauert, Donn (February–March 1991). "TurboPlay Rates the Games - Dungeon Explorer". TurboPlay. No. 5. L.F.P., Inc. p. 26.
  21. "TurboPlay Rates the Games - Volume 2: Dungeon Explorer". TurboPlay. No. 11. L.F.P., Inc. February–March 1992. p. 27.
  22. Reed, Kristan (January 24, 2007). "Virtual Console: TurboGrafx-16 - PC-Ingenuity?". Eurogamer. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
  23. Bohn-Elias, Alexander (February 1, 2007). "Retro auf Raten - Wii Virtual Console – Teil 2: Mit Siebenmeilenstiefeln in Richtung 16Bit - TurboGrafx-16". Eurogamer (ภาษาเยอรมัน). Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 7, 2016. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
  24. Mueller, Greg (10 เมษายน 2007). "Dungeon Explorer Review - Dungeon Explorer's rudimentary design and unforgiving difficulty make it a tedious and often frustrating game". GameSpot. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020.
  25. Birnbaum, Mark (February 22, 2007). "Dungeon Explorer Review - Some short-lived, shoot 'em up fun". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
  26. McFerran, Damien (December 8, 2006). "Dungeon Explorer Review (TG-16) - Dungeon Explorer is a multiplayer action/role-playing game where up to five players can play at the same time". Nintendo Life. Nlife Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
  27. "ダンジョンエクスプローラーII (PCエンジン) - ファミ通.com". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Game Linkage. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-08. สืบค้นเมื่อ 2020-08-08.
  28. Lagan, Jack (September–October 1993). "Reviews (Duo/TG-16) - Dungeon Explorer II". DuoWorld. No. 2. Larry Flynt Publications. pp. 14–15.
  29. Kalata, Kurt (December 17, 2008). "Crystal Beans From Dungeon Explorer". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-08-08.
  30. "News • Previews Internationales: Dungeon Explorer (Megadrive - Hudson)". Joypad (ภาษาฝรั่งเศส). No. 39. Yellow Media. February 1995. p. 39.
  31. "Finals - Sega CD - Dungeon Explorer". Next Generation. No. 5. Imagine Media. May 1995. p. 95. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-05. สืบค้นเมื่อ 2020-08-08.
  32. Kalata, Kurt (17 December 2008). "Dungeon Explorer (DS)". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-08-09.
  33. Kalata, Kurt (18 December 2008). "Dungeon Explorer (PSP)". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-08-09.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้