ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ (วิดีโอเกม พ.ศ. 2532)
ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์[a] (อังกฤษ: Dungeon Explorer) เป็นวิดีโอเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทที่พัฒนาโดยบริษัทแอตลัส และเผยแพร่ครั้งแรกโดยบริษัทฮัดสันซอฟต์สำหรับเทอร์โบกราฟซ์-16 ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1989 และต่อมาในทวีปอเมริกาเหนือโดยเอ็นอีซีภายในวันที่ 15 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน ซึ่งภาคแรกในแฟรนไชส์ เกมนี้มีฉากในดินแดนแห่งออดดีเซียที่ถูกรุกรานโดยเผ่าพันธุ์เอเลียน ซึ่งผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นหนึ่งในตัวละครหลักแปดตัวที่ได้รับการมอบหมายให้กู้ศิลาโอรา เพื่อสังหารราชาเอเลียนที่ชื่อนาตัส เกมนี้ร่วมกำกับโดยคาซูโตชิ อูเอดะ และโยซูเกะ นีโนะ ซึ่งได้รับการสร้างขึ้นโดยทีมงานส่วนใหญ่ที่ทำงานในหลายโครงการ เช่น ผลงานต่อมาในซีรีส์เมกามิเทนเซย์ แม้ว่าจะเปิดตัวครั้งแรกสำหรับเทอร์โบกราฟซ์-16 แต่ในภายหลังก็มีการเปิดตัวอีกครั้งผ่านบริการดาวน์โหลดสำหรับเครื่องเล่นต่าง ๆ
ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ | |
---|---|
ผู้พัฒนา | แอตลัส |
ผู้จัดจำหน่าย | |
กำกับ | คาซูโตชิ อูเอดะ โยซูเกะ นีโนะ |
โปรแกรมเมอร์ | ทากาชิ ฮาเซงาวะ อูนิ อาราโตะ |
ศิลปิน | ฮิเดยูกิ โยโกยามะ ฮิโรชิ สึจิ โยชิอากิ คิตามูระ |
แต่งเพลง | สึกาซะ มาซูโกะ |
ชุด | ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ |
เครื่องเล่น | เทอร์โบกราฟซ์-16 |
วางจำหน่าย |
|
แนว | เกมแอ็กชันเล่นตามบทบาท, ตะลุยดันเจียน, สับและเฉือน |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น (มากถึงห้าผู้เล่นผ่านเทอร์โบแทป) |
ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ได้รับการต้อนรับในเชิงบวกจากนักวิจารณ์ในช่วงเปิดตัวครั้งแรก และถือเป็นเกมที่บุกเบิกในประเภทแอ็กชันเล่นตามบทบาทเนื่องจากรูปแบบการเล่นแบบหลายผู้เล่นร่วมมือกันสำหรับผู้เล่นสูงสุดห้าคน[1] แต่หลังจากนั้นก็ได้รับการตอบสนองที่หลากหลายมากขึ้นจากเหล่านักวิจารณ์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งตามมาด้วยสี่ภาค ได้แก่ ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II (ค.ศ. 1993), ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ สำหรับเซกา ซีดี และคริสตัลบีนส์ฟอร์มดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ (ค.ศ. 1995) ตลอดจนดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์: วอริเออส์ออฟเอนเชียนอาตส์ (ค.ศ. 2007)
รูปแบบการเล่น
แก้ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์เป็นเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทที่มีองค์ประกอบแนวตะลุยดันเจียนรวมถึงสับและเฉือนมุมมองจากบนลงล่าง ซึ่งชวนให้นึกถึงเกมกอนต์เล็ต โดยผู้เล่นสวมบทบาทเป็นหนึ่งในตัวละครหลักแปดตัวที่ได้รับมอบหมายให้กู้ศิลาโอราเพื่อสังหารราชาเอเลียนที่ชื่อนาตัส และคืนความสงบสุขให้แก่ดินแดนแห่งออดดีเซีย[2][3][4] ตัวละครแต่ละตัวจะสังกัดอยู่ในคลาสหนึ่ง (ได้แก่ นักรบ, โจร, พ่อมด, แม่มด, บิชอป, เอลฟ์, นักดนตรี หรือภูตแคระ) รวมถึงความสามารถของพวกเขาจะแตกต่างกันไปในด้านเวทมนตร์ขาวและดำ ตลอดจนสถิติ[2] ตัวอย่างเช่น โพชันสีขาวของบิชอปจะรักษาพันธมิตรที่อยู่ใกล้ ๆ ในขณะที่โพชันสีดำของนักดนตรีมีความสามารถในการแปรผันดนตรี ส่วนคลาสพิเศษ อย่างเจ้าหญิง และฤๅษี ยังสามารถปลดล็อกผ่านรหัสผ่านเมื่อเกมดำเนินไป[3][4]
ผู้เล่นสำรวจเมืองหรืออาณาจักรเพื่อค้นหาดันเจียนซึ่งเป็นที่ตั้งของบอสที่ต้องกำจัดเพื่อความรุดหน้า และบอสแต่ละตัวจะทิ้งคริสตัลไว้หลังจากที่พวกมันพ่ายแพ้ ซึ่งหมุนเวียนผ่านสี่สี และสอดคล้องกับสถิติของตัวละคร (การโจมตี, ความแข็งแกร่ง, ความคล่องตัว และสติปัญญา)[2][3][4] ผู้เล่นยังสามารถเพิ่มสถิติได้ด้วยการกำจัดศัตรู หรือค้นหาอุปกรณ์เสริมผ่านแผนที่[2][4] เกมนี้รองรับผู้เล่นได้สูงสุดห้าคนพร้อมกัน แต่จะมีการแบ่งปันชีวิตระหว่างผู้เล่น และจะเกมโอเวอร์เมื่อพวกเขาแพ้[2][3][4] ส่วนระบบรหัสผ่านยังได้ใช้เพื่อรักษาความคืบหน้าของผู้เล่นแต่ละคน[2][4]
เรื่องย่อ
แก้ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์มุ่งเน้นไปที่การแสวงหาวีรบุรุษหลายคนเพื่อค้นหาศิลาโอราสำหรับราชาแห่งออดดีเซีย[2] เมื่อเผ่าพันธุ์เอเลียนที่ตอนนี้ปกครองดินแดนได้บุกเข้ามา พระราชาได้ซ่อนศิลาไว้ลึกลงไปในดันเจียนเพื่อให้มันปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ตอนนี้พระราชาต้องการให้ผู้เล่นกู้ศิลาซึ่งสามารถนำชีวิต, แสงสว่าง และความสุข มาสังหารราชาเอเลียนที่ชื่อนาตัส[4] เหล่าวีรบุรุษก้าวผ่านดันเจียนที่แตกต่างกัน, ต่อสู้กับสัตว์ร้ายที่น่ากลัว และในที่สุดก็เอาศิลาโอรากลับคืนมา เมื่อถวายแด่ราชา ซึ่งตอนหลังเผยให้เห็นว่าตัวเองเป็นนาตัสและขโมยศิลาไป ส่วนองครักษ์ชื่อยูดาสก็ได้หักหลังต่อเหล่าวีรบุรุษเช่นกัน แต่ถูกสยบโดยพวกเขา จากนั้น เหล่านักผจญภัยก็ไล่ล่าและเผชิญหน้ากับนาตัส โดยได้สังหารมันและเอาศิลาโอรากลับคืนมา ซึ่งนำไปสู่ช่วงเวลาแห่งความสงบสุข
การพัฒนาและการตลาด
แก้ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ได้รับการสร้างขึ้นโดยทีมงานส่วนใหญ่ที่ทำงานในหลายโครงการ เช่น ผลงานต่อมาในซีรีส์เมกามิเทนเซย์ โดยมีคาซูโตชิ "บู" อูเอดะ และโยซูเกะ "ฮอตไรซ์" นีโนะ ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับ[5] ส่วนทากาชิ "ฮิเอมอน" ฮาเซงาวะ และอูนิ "อู" อาราโตะ ทำหน้าที่เป็นโปรแกรมเมอร์ ในขณะที่ศิลปินอย่างฮิเดยูกิ "ทอนนี" โยโกยามะ, ฮิโรชิ "บลาโด" สึจิ และโยชิอากิ "สติง" คิตามูระ รับหน้าที่ดูแลพิกเซลอาร์ต[5] ด้านซาวด์แทร็กแต่งโดยสึกาซะ "โดซังโกะ แมคโค" มาซูโกะ[5] ส่วนคนอื่น ๆ ยังได้ร่วมมือในการพัฒนาเกมนี้ โดยทาดายูกิ คาวาดะ ผู้เป็นนักออกแบบสตาร์พาโรเจอร์ ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ในฐานะงานแรกของเขาในอุตสาหกรรมวิดีโอเกม โดยดูแลด้านกราฟิกและความสมดุลของเกม[5][6]
ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ได้รับการเปิดตัวครั้งแรกสำหรับเทอร์โบกราฟซ์-16 ในประเทศญี่ปุ่นโดยฮัดสันซอฟต์เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1989 และต่อมาในทวีปอเมริกาเหนือโดยเอ็นอีซี เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน[7][8] เกมดังกล่าวได้รับการเผยแพร่อีกครั้งสำหรับเวอร์ชวลคอนโซลของวีในทวีปยุโรปเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2006 และในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2007[9] เวอร์ชันวีสามารถเล่นได้กับผู้เล่น 5 คน โดยมีอย่างน้อยหนึ่งคนที่ใช้คอนโทรลเลอร์เกมคิวบ์[4] รวมถึงเกมนี้ได้รับการเผยแพร่อีกครั้งในเพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์ก ของประเทศญี่ปุ่นและทวีปอเมริกาเหนือเช่นกัน[10]
การตอบรับ
แก้การตอบรับร่วมสมัย | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
นิตยสารดรากอนได้ให้คะแนนเกมดังกล่าวที่ 5 ดาว จากคะแนนเต็ม 5 ดาว[13]
การวิจารณ์ย้อนหลัง
แก้การประเมินย้อนหลัง | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ได้รับการตอบรับที่หลากหลายจากผู้วิจารณ์ตั้งแต่เปิดตัวใหม่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล
สิ่งสืบทอด
แก้ภาคต่ออย่างดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II ได้รับการเปิดตัวในภายหลังสำหรับคอนโซลเทอร์โบกราฟซ์-ซีดี ใน ค.ศ. 1993[27][28] พอร์ตที่ได้รับการดัดแปลงขนานใหญ่ของดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ II ได้รับการสร้างขึ้นสำหรับซูเปอร์แฟมิคอม ซึ่งมีชื่อว่าคริสตัลบีนส์ฟรอมดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ และวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1995[29] นอกจากนี้ ยังมีเกมเซกา ซีดี ซึ่งใช้ชื่อดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์[30][31] โดยเกี่ยวข้องกับซีรีส์ แต่ไม่ใช่พอร์ตของเกมก่อนหน้าใด ๆ และแตกต่างจากตัวอื่นมาก ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์สำหรับเซกา ซีดี ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทเวสโตน ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับกอนต์เล็ตมากกว่าเกมอื่น ๆ ในซีรีส์ โดยอาวุธและชุดเกราะสามารถซื้อได้ด้วยทองคำที่พบในดันเจียน
ใน ค.ศ. 2007 เกมที่เกี่ยวข้องสองเกม ซึ่งแตกต่างจากเกมภาคแรกอีกครั้ง ได้รับการเผยแพร่เพื่อให้ตรงกับการเปิดตัวดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ภาคแรกในเวอร์ชวลคอนโซลของเครื่องเล่นวี ทั้งดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์: เมยากุโนะโทบิระ และดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์: จาชินโนะเรียวอิกิ ได้รับการเปิดตัวสำหรับเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล และนินเท็นโด ดีเอส ตามลำดับในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เกมทั้งสองมีการแปลเป็นภาษาท้องถิ่น แต่เปิดตัวเป็นดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์: วอริเออส์ออฟเอนเชียนอาตส์[32][33]
หมายเหตุ
แก้- ↑ ダンジョン エクスプローラー Danjon Ekusupurōrā
อ้างอิง
แก้- ↑ Aihoshi, Richard (8 มกราคม 2008). "Dungeon Explorer: Warriors of Ancient Arts Interview - Hudson tells us about bringing back a classic property with two different versions for the PSP and DS platforms". RPG Vault. IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Dungeon Explorer manual (TurboGrafx-16, US)
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Dungeon Explorer". TurboForce. No. 1. Sendai Publishing. June 1992. pp. 16–17.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Kalata, Kurt (December 13, 2009). "Dungeon Explorer". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Atlus (1989). Dungeon Explorer (TurboGrafx-16). NEC. Level/area: Staff.
- ↑ "ゲームデザ イナー大全集". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 151. ASCII Corporation. November 8, 1991. pp. 85–100. (Translation by Shmuplations. เก็บถาวร 2020-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).
- ↑ 7.0 7.1 Harris, Steve; Semrad, Ed; Nauert, Donn; Stockhausen, Jim (November 1989). "Review Crew - Dungeon Explorer". Electronic Gaming Monthly. No. 4. Sendai Publishing. p. 12.
- ↑ 8.0 8.1 "NEW GAMES CROSS REVIEW: ダンジョンエクスプローラー (PCエンジン)". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 69. ASCII Corporation. March 3, 1989. p. 14.
- ↑ Weiss, Brett Alan (8 มกราคม 2007). "Dungeon Explorer [Virtual Console] - Overview". AllGame. All Media Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ Weiss, Brett Alan (3 มิถุนายน 2011). "Dungeon Explorer [PlayStation Network] - Overview". AllGame. All Media Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ 11.0 11.1 Braun, Peter; Kleimann, Manfred (August–September 1989). "Konsolen - "Rollenadvencade"". Aktueller Software Markt (ภาษาเยอรมัน). No. 34. Tronic Verlag. p. 70.
- ↑ Rignall, Julian (June 1989). "PC Engine - Mean Machines: Dungeon Explorer". Computer and Video Games. No. 92. Future Publishing. pp. 90–91. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-03. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
- ↑ 13.0 13.1 Lesser, Hartley; Lesser, Patricia; Lesser, Kirk (November 1990). "The Role of Computers - Reviews - Dungeon Explorer" (PDF). Dragon. No. 163. TSR, Inc. p. 49. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-22. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
- ↑ Herranz, Sonia (July 1993). "Lo Más Nuevo - Turbo Grafx: Dungeon Explorer – La Piedra Mágica". Hobby Consolas (ภาษาสเปน). No. 22. Hobby Press. pp. 120–121.
- ↑ Huyghues-Lacour, Alain (November 1989). "Rolling Softs - Dungeon Explorer (Console NEC, carte Hudson soft)". Tilt (ภาษาฝรั่งเศส). No. 71. Editions Mondiales S.A. p. 87.
- ↑ Rignall, Julian (July 1989). "Screen Test - Dungeon Explorer: PC Engine out-Gauntlets Gauntlet". ACE. No. 22. EMAP. p. 56. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-26. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
- ↑ "ダンジョンエクスプローラー". Marukatsu PC Engine (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Shoten.
- ↑ "PC Engine All Catalog '93 10月号特別付録 - ダンジョンエクスプローラー". PC Engine Fan (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 6 no. 10. Tokuma Shoten. October 1, 1993. p. 43.
- ↑ Hengst, Michael (August 1989). "Videospiele-Tests: Dungeon Explorer". Power Play (ภาษาเยอรมัน). No. 17. Future Verlag. p. 60.
- ↑ Nauert, Donn (February–March 1991). "TurboPlay Rates the Games - Dungeon Explorer". TurboPlay. No. 5. L.F.P., Inc. p. 26.
- ↑ "TurboPlay Rates the Games - Volume 2: Dungeon Explorer". TurboPlay. No. 11. L.F.P., Inc. February–March 1992. p. 27.
- ↑ Reed, Kristan (January 24, 2007). "Virtual Console: TurboGrafx-16 - PC-Ingenuity?". Eurogamer. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
- ↑ Bohn-Elias, Alexander (February 1, 2007). "Retro auf Raten - Wii Virtual Console – Teil 2: Mit Siebenmeilenstiefeln in Richtung 16Bit - TurboGrafx-16". Eurogamer (ภาษาเยอรมัน). Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 7, 2016. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
- ↑ Mueller, Greg (10 เมษายน 2007). "Dungeon Explorer Review - Dungeon Explorer's rudimentary design and unforgiving difficulty make it a tedious and often frustrating game". GameSpot. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ Birnbaum, Mark (February 22, 2007). "Dungeon Explorer Review - Some short-lived, shoot 'em up fun". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
- ↑ McFerran, Damien (December 8, 2006). "Dungeon Explorer Review (TG-16) - Dungeon Explorer is a multiplayer action/role-playing game where up to five players can play at the same time". Nintendo Life. Nlife Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.
- ↑ "ダンジョンエクスプローラーII (PCエンジン) - ファミ通.com". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Game Linkage. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-08. สืบค้นเมื่อ 2020-08-08.
- ↑ Lagan, Jack (September–October 1993). "Reviews (Duo/TG-16) - Dungeon Explorer II". DuoWorld. No. 2. Larry Flynt Publications. pp. 14–15.
- ↑ Kalata, Kurt (December 17, 2008). "Crystal Beans From Dungeon Explorer". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-08-08.
- ↑ "News • Previews Internationales: Dungeon Explorer (Megadrive - Hudson)". Joypad (ภาษาฝรั่งเศส). No. 39. Yellow Media. February 1995. p. 39.
- ↑ "Finals - Sega CD - Dungeon Explorer". Next Generation. No. 5. Imagine Media. May 1995. p. 95. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-05. สืบค้นเมื่อ 2020-08-08.
- ↑ Kalata, Kurt (17 December 2008). "Dungeon Explorer (DS)". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-08-09.
- ↑ Kalata, Kurt (18 December 2008). "Dungeon Explorer (PSP)". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-08-09.