ซูคราโลส (อังกฤษ: sucralose) เป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล ลักษณะเป็นผงสีขาวหรือไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีสูตรเคมีคือ C12H19Cl3O8 และเลขอีคือ E955[4] ซูคราโลสถูกค้นพบโดยบังเอิญในปี ค.ศ. 1976 โดยนักวิจัยจากคิงส์คอลเลจลอนดอน ร่วมกับเทตแอนด์ไลล์ (Tate & Lyle) บริษัทอุตสาหกรรมอาหารสัญชาติบริติช เทตแอนด์ไลล์จดสิทธิบัตรซูคราโลสในปีเดียวกัน[5] ซูคราโลสยังรู้จักในชื่อทางการค้าอื่น ๆ ได้แก่ Splenda, Zerocal และ Sukrana

ซูคราโลส[1]
Haworth projection of sucralose.svg
Sucralose-3D-balls.png
ชื่อตาม IUPAC 1,6-Dichloro-1,6-dideoxy-β-D-fructofuranosyl-4-chloro-4-deoxy-α-D-galactopyranoside
ชื่อเรียกตามระบบ (2R,3R,4R,5R,6R)-2-[(2R,3S,4S,5S)-2,5-Bis(chloromethyl)-3,4-dihydroxyoxolan-2-yl]oxy-5-chloro-6-(hydroxymethyl)oxane-3,4-diol[2]
ชื่ออื่น 1',4,6'-Trichlorogalactosucrose; Trichlorosucrose; E955; 4,1',6'-Trichloro-4,1',6'-trideoxygalactosucrose; TGS; Splenda[3]
เลขทะเบียน
เลขทะเบียน CAS [56038-13-2][CAS]
PubChem 71485
EC number 259-952-2
KEGG C12285
ChEBI 32159
SMILES
 
InChI
 
ChemSpider ID 64561
คุณสมบัติ
สูตรเคมี C12H19Cl3O8
มวลต่อหนึ่งโมล 397.64 g/mol
ลักษณะทางกายภาพ ผงสีขาวหรือไม่มีสี
กลิ่น ไม่มีกลิ่น
ความหนาแน่น 1.69 g/cm3
จุดหลอมเหลว

125 °C, 398 K, 257 °F

ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ 283 g/L (20°C)
pKa 12.52±0.70
ความอันตราย
NFPA 704
NFPA 704.svg
1
1
0
 
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี

ซูคราโลสเป็นไดแซ็กคาไรด์หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่มีที่มาจากซูโครส อันเกิดจากการรวมตัวกันของกลูโคสและฟรักโทส[6] ซูคราโลสสามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาคลอริเนชันหรือการแทนที่หมู่ไฮดรอกซิลในซูโครสด้วยอะตอมของคลอรีน[7] ซูคราโลสมีความหวานกว่าซูโครสประมาณ 320–1000 เท่า[8] หวานกว่าแอสปาร์แตมและแอซีซัลเฟมโพแทสเซียม 3 เท่า และหวานกว่าแซกคารีน 2 เท่า

ซูคราโลสได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัยจากองค์การอาหารหลายแห่ง เช่น องค์การอาหารและยาสหรัฐ คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ด้านอาหารของสหภาพยุโรป และคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การอาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในไทย[9] ใช้เป็นวัตถุให้ความหวานในขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม และอาหารทางการแพทย์[10] โดยปริมาณแนะนำที่ร่างกายรับได้ต่อวันอยู่ที่ 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน[11] อย่างไรก็ตามซูคราโลสไม่ให้พลังงานเนื่องจากร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้[12] ซูคราโลสไม่ก่อให้เกิดฟันผุ[13] และไม่ส่งผลต่อระดับอินซูลินในเลือด จึงปลอดภัยต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน[14]

อ้างอิงแก้ไข

  1. Merck Index, 11th Edition, 8854.
  2. "sucralose 56038-13-2". The Good Scents Company Information System. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
  3. Anonymous. Scifinder – Substance Detail for 56038-13-2, 30 October 2010.
  4. Brown, Amy (2007). Understanding Food: Principles and Preparation. Boston, Massachusetts, United States: Cengage Learning. p. 412. ISBN 9780495107453.
  5. "Frequently Asked Questions About Sucralose". Sucralose (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-20. สืบค้นเมื่อ 20 September 2018.
  6. Luo, Lan (March 31, 2020). "The Difference Between Sucralose & Fructose". Sciencing. สืบค้นเมื่อ June 13, 2020.
  7. Bert Fraser-Reid, 2012, "From Sugar to Splenda: A Personal and Scientific Journey of a Carbohydrate Chemist and Expert Witness," Berlin:Springer, pp. 199-210, and passim, see [1], accessed 2 November 2014.
  8. Michael A. Friedman, Lead Deputy Commissioner for the FDA, Food Additives Permitted for Direct Addition to Food for Human Consumption; Sucralose Federal Register: 21 CFR Part 172, Docket No. 87F-0086, 3 April 1998
  9. "ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานวัตถุเจือปนอาหารตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและมาตรฐานโคเด็กซ์ เล่มที่ 2" (PDF). สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ June 13, 2020.
  10. กนกกาญจน์ ปานจันทร์ (March 23, 2016). "สารให้ความหวานแทนน้ำตาล" (PDF). สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ (พศ.). สืบค้นเมื่อ June 13, 2020.
  11. "Everything You Need to Know About Sucralose". Food Insight. November 26, 2018. สืบค้นเมื่อ June 13, 2020.
  12. "Gestational Diabetes and Low-Calorie Sweeteners: Answers to Common Questions" (PDF). Food Insight. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-09. สืบค้นเมื่อ 15 May 2015.
  13. Food and Drug Administration (2006). "Food labeling: health claims; dietary noncariogenic carbohydrate sweeteners and dental caries". Federal Register. 71 (60): 15559–64. PMID 16572525.
  14. Grotz, VL; Henry, RR; McGill, JB; Prince, MJ; Shamoon, H; Trout, JR; Pi-Sunyer, FX (2003). "Lack of effect of sucralose on glucose homeostasis in subjects with type 2 diabetes". Journal of the American Dietetic Association. 103 (12): 1607–12. doi:10.1016/j.jada.2003.09.021. PMID 14647086.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข