แอสปาร์แตม
แอสปาร์แตม หรือ Aspartame เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล (จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหารชนิดหนึ่ง) ซึ่งไม่ให้พลังงาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aspartyl-phenylalanine-1-methyl ester ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือกรดอะมิโน 2 ตัวต่อกันได้แก่ กรดแอสปาร์ติก และ ฟีนิลอะลานีน
แอสปาร์แตม[1] | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
![]() | |
ชื่อตาม IUPAC | Methyl L-α-aspartyl-L-phenylalaninate |
ชื่ออื่น | N-(L-α-Aspartyl)-L-phenylalanine, 1-methyl ester |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS | [22839-47-0][CAS] |
PubChem | |
DrugBank | DB00168 |
KEGG | |
ChEBI | |
SMILES | |
InChI | |
ChemSpider ID | |
คุณสมบัติ | |
สูตรโมเลกุล | C14H18N2O5 |
มวลโมเลกุล | 294.3 g mol−1 |
ความหนาแน่น | 1.347 g/cm3 |
จุดหลอมเหลว |
246–247 °C, ข้อผิดพลาดนิพจน์: "–" เป็นอักขระเครื่องหมายวรรคตอนที่ไม่รู้จัก K, ข้อผิดพลาดนิพจน์: "–" เป็นอักขระเครื่องหมายวรรคตอนที่ไม่รู้จัก °F |
จุดเดือด |
สลายตัว |
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ | ละลายได้น้อย |
ความสามารถละลายได้ | ละลายได้น้อยในเอทานอล |
pKa | 4.5–6.0[2] |
ความอันตราย | |
NFPA 704 | |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |
แอสปาร์แตมมีความหวานกว่าน้ำตาลซูโครส (น้ำตาลทราย) ประมาณ 200 เท่า ในปัจจุบันผลิตออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในยี่ห้อสินค้าต่าง ๆ, เช่น "NutraSweet", "Pal Sweet", "Equal", และ "Canderel" แอสปาร์แตมเป็นส่วนประกอบในอาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่มกว่า 5000 ชนิด ที่วางขายทั่วโลก โดยทั่วไปเราจะใช้แอสปาร์แตมผสมเครื่องดื่ม หรือทำอาหารให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ในประเทศไทย ผลิตภัณฑ์ที่มีแอสปาร์แตมเป็นส่วนประกอบ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้มีการเขียนคำเตือนบนฉลากของบรรจุภัณฑ์ว่า "ผู้ที่มีสภาวะฟีนิลคีโตนูเรีย ผลิตภัณฑ์นี้มีฟีนิลอะลานีน" ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีผิดปกติทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถย่อยฟีนิลอะลานีนได้ (ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ราว 1 คนต่อประชากร 100,000 คน)
โครงสารของแอสปาร์แตมจะเปลี่ยนไปเมื่อโดนความร้อนและเมื่อเก็บไว้นาน จึงไม่ควรใช้แอสปาร์แตมปรุงอาหารร้อน ๆ และไม่ควรเก็บไว้นาน ๆ
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Budavari S, บ.ก. (1989). "861. Aspartame". The Merck Index (11th ed.). Rahway, NJ: Merck & Co. p. 859. ISBN 978-0-911910-28-5.
- ↑ Rowe RC (2009). "Aspartame". Handbook of Pharmaceutical Excipients. pp. 11–12. ISBN 978-1-58212-058-4.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Aspartame
บทความเกี่ยวกับเคมีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เคมี |