ซือหม่า หลุน
บทความนี้ต้องการการปรับปรุงเชิงรูปภาพ อาจเนื่องจากขาดรูปภาพประกอบ รูปภาพในบทความถูกลบเนื่องจากการไม่ระบุแหล่งที่มา รูปภาพไม่สอดคล้องกับเนื้อหา หรือมีปัญหาในการจัดตำแหน่งของรูปภาพ ดูเพิ่มได้ใน วิกิพีเดีย:วิธีการใส่ภาพ และ วิกิพีเดีย:นโยบายการใช้ภาพ |
สุมา หลุน (จีนตัวย่อ: 司马伦; จีนตัวเต็ม: 司馬倫; พินอิน: sī mǎ lún) หรือ ซือหม่า หลุน (ก่อน ค.ศ. 249 - 5 มิถุนายน ค.ศ. 301) เป็นลูกชายคนสุดท้องของสุมาอี้ กุนซือคนสำคัญของฝ่ายวุยก๊กในสมัยสามก๊ก สันนิษฐานว่าทรงประสูติก่อน ค.ศ. 249 (พ.ศ. 792) เพราะสุมาอี้ผู้เป็นบิดานั้นถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 251 (พ.ศ. 794) เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญในช่วงสงครามแปดอ๋อง
ซือหม่า หลุน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตก | |||||||||
จักรพรรดิจีน | |||||||||
ครองราชย์ | 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 301[1][2] – 30 พฤษภาคม ค.ศ.301[1][3] | ||||||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้ | ||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้ | ||||||||
จ้าวหวัง (趙王) | |||||||||
วาระ | ค.ศ. 277 - 301 | ||||||||
หลางเย๋จวิ้นหวัง (琅邪郡王) | |||||||||
วาระ | ค.ศ. 266 - 277 | ||||||||
ประสูติ | 247-248 | ||||||||
สวรรคต | 5 มิถุนายน ค.ศ. 301 (aged 53)[1][4] | ||||||||
พระราชบุตร | ซือหม่า ฟู (司馬荂) ซือหม่า ฟู่ (司馬馥) ซือหม่า เฉียน (司馬虔) ซือหม่า ฉู่ (司馬詡) | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | จิ้น | ||||||||
พระราชบิดา | สุมาอี้ | ||||||||
พระราชมารดา | ฮูหยินป่าย |
ประวัติ
แก้เขาเข้ารับราชการกับ วุ่ยก๊ก เหมือนพ่อกับพี่ชายทั้งหลายและได้รับตำแหน่งขุนนางเล็กๆปกครองเมืองชนบท ต่อมาสุมาเอี๋ยน (Sima Yan) โค่นล้มตระกูลโจและก่อตั้งราชวงศ์จิ้น ขึ้น เขาจึงได้รับการอวยยศเป็นอ๋อง แห่งชีจิ๋ว และดำรงตำแหน่งแม่ทัพกับเจ้าเมืองด้วย แต่ว่าตัวเขานั้นทำหน้าที่ได้แย่เอามาก ๆ หลายครั้งที่เขาหันไปก่อความผิดเสียเอง เช่น สั่งให้ลูกน้องติดสินบนแรงงานเพื่อลักลอบขโมยขนสัตว์ของราชสำนักมาเป็นของตัวเอง แต่สุมาเอี๋ยนอภัยโทษให้เขาทุกครั้งเนื่องจากเป็นญาติกัน ต่อมาในรัชสมัยของ พระเจ้าจิ้นฮุ่ย (Emperor Hui) เขาได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลกำลังทหารแคว้นฉิน แต่เนื่องจากการบริหารที่ผิดพลาดทำให้ ชนเผ่าตี (Di) และ ชนเผ่าเกี๋ยง (Qiang) ไม่พอใจจนก่อกบฏ เขาจึงถูกเรียกตัวกลับไปประจำที่เมืองลกเอี๋ยน แทน ทำให้เขาถือโอกาสเข้าประจบสอพลอ เจี่นหนานเฟิง (Jia Nanfeng) ฮองเฮาของพระเจ้าจิ้นฮุ่ยเพื่อหวังการเลื่อนยศ แต่โดนที่ปรึกษาของเจี่ยหนานเฟิงทัดทานไว้เสียก่อน
ต่อมาในปี ค.ศ. 299 เจี่ยหนานเฟิง ได้ทำการปลดรัชทายาทองค์ปัจจุบันที่เกิดจากนางสนมทิ้ง จนทำให้เกิดกบฏขุนนางที่สนับสนุนองค์รัชทายาท สุมาหลุนเองได้เข้าร่วมกบฏครั้งนี้ด้วย แต่ว่าเขากลับมีแผนการร้ายอื่นอยู่ในใจ เขาทำตัวเหมือนเป็นสายลับสองหน้ายุยงให้เจี่ยหนานเฟิงสังหารองค์รัชทายาททิ้งเพื่อจัดการปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งเจี่ยหนานเฟิงเชื่อคำแนะนำของเขา องค์รัชทายาทจึงถูกลอบสังหารลงในปี ค.ศ. 300 จากนั้นสุมาหลุน ได้นำกำลังเข้าจับกุม เจี่ยหนานเฟิง และฆ่าล้างบางคนในตระกูลของเธอ สุดท้ายบีบบังคับให้เธอกินยาพิษฆ่าตัวตาย ทำให้เขาได้รับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการมาครอง แต่ด้วยการยั่วยุของที่ปรึกษาเขา ซุนฮิว (Sun Xiu) ทำให้เขาปลดพระเจ้าจิ้นฮุ่ยทิ้งและแต่งตั้งตัวเองเป็นฮ่องเต้แทน พระเจ้าจิ้นฮุ่ย ได้ถูกกักตัวอยู่แต่ในคฤหาสน์ ส่วนว่าที่รัชทายาทองค์ถัดไปล้วนถูกเขาสังหารสิ้น
การกระทำอันอุกอาจของสุมาหลุน ทำให้เกิดความไม่พอใจขึ้นทั่วทุกหนแห่ง เขาจึงตบรางวัลให้กับเชื้อพระวงศ์และขุนนางมากมายเพื่อลดกระแสต่อต้านลง แต่ยังมีอ๋องอยู่อีก 3 คนที่ทำให้เขาเป็นกังวล ได้แก่ สุมาจ่ง (Sima Jiong) อ๋องแห่งแคว้นฉี, สุมาหยิง (Sima Ying) อ๋องแห่งเซงโต๋ (เฉิงตู) และ สุมาหยง (Sima Yong) อ๋องแห่งเหอเป่ย์ เนื่องจากพวกเขาทุกคนล้วนมีกำลังทหารส่วนตัวที่แข็งแกร่งอยู่ ซุนฮิว จึงได้วางแผนจะส่งลูกน้องคนสนิทไปทำงานด้วยเพื่อหวังให้ช่วยสอดส่องพฤติกรรม สุมาจ่ง เป็นคนแรกที่ตอบปฏิเสธและประกาศตัวเป็นกบฏโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคืนอำนาจให้พระเจ้าจิ้นฮุ่ย สุมาหยิง, สุมาอ้าย (Sima Ai) และอ๋องอีกจำนวนนึงขอเข้าร่วมด้วย ทางด้าน สุมาหยง นั้นตอนแรกว่าจะเข้าร่วมกับ สุมาหลุน แต่เมื่อเห็นจำนวนอันมหาศาลของกองทัพกบฏรีบกลับลำมาอยู่ฝ่ายนี้ด้วยอีกคนนึง ต่อหน้ากองทัพกบฏที่มีกำลังทหารมากกว่ากันหลายเท่า กองทัพของสุมาหลุน จึงพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิง
สุมาหลุน ถูกจับกุมและปลดออกจากตำแหน่งฮ่องเต้ทั้งที่พึ่งครองราชย์ได้เพียงแค่ 3 เดือน พระเจ้าจิ้นฮุ่ย ได้ถูกเชิญกลับมาดำรงตำแหน่งฮ่องเต้อีกครั้งนึง ส่วนสุมาหลุน นั้นถูกบีบบังคับให้ฆ่าตัวตาย ลูกชายทุกคนของสุมาหลุน, ซุนฮิวและลูกน้องที่เหลือทั้งหมดล้วนถูกประหารทิ้ง