ซือมอน แปตลูรา
ซือมอน วาซือลอวึช แปตลูรา[a] (ยูเครน: Си́мон Васи́льович Петлю́ра; รัสเซีย: Симон Пѣтлюра; 22 พฤษภาคม [ตามปฎิทินเก่า: 10 พฤษภาคม] ค.ศ. 1879 – 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1926) เป็นนักการเมืองและนักสื่อมวลชนชาวยูเครน เขาดำรงแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพประชาชนยูเครน (UNA) และเป็นผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนยูเครนในระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพยูเครน ซึ่งเป็นหนึ่งในสงครามที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของเขตความขัดแย้งในสงครามกลางเมืองรัสเซีย
ซือมอน แปตลูรา | |
---|---|
Симон Петлюра | |
ซือมอน แปตลูรา ใน ค.ศ. 1920 | |
ประธานคณะกรรมาธิการยูเครนคนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 – 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 | |
ก่อนหน้า | วอลอดือมือร์ วึนนือแชนกอ |
ถัดไป | อันดรีย์ ลีวึตสกึย1 |
เลขาธิการฝ่ายกิจการทหาร | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน ค.ศ. 1917 – 6 มกราคม ค.ศ. 1918 | |
นายกรัฐมนตรี | วอลอดือมือร์ วึนนือแชนกอ |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | มือกอลา ปอร์ช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | Симон Васи́льович Петлю́ра 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1879 ปอลตาวา เขตผู้ว่าการปอลตาวา จักรวรรดิรัสเซีย |
เสียชีวิต | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 ปารีส ฝรั่งเศส | (47 ปี)
เชื้อชาติ | ยูเครน |
พรรคการเมือง | แอร์อูแป (ค.ศ. 1900–1905) อูแอสแดแอลแป (ค.ศ. 1905–1919) |
คู่สมรส | ออลฮา แปตลูรา (ค.ศ. 1885–1959, สมรส ค.ศ. 1910)[1] |
บุตร | แลสยา (ค.ศ. 1911–1941) |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนสอนศาสนาปอลตาวา |
อาชีพ | นักการเมืองและรัฐบุรุษ |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สาธารณรัฐประชาชนยูเครน |
สังกัด | กองทัพประชาชนยูเครน |
ประจำการ | ค.ศ. 1914–1922 |
ยศ | ผู้นำออตามัน (Chief Otaman) |
ผ่านศึก | สงครามยูเครน–โซเวียต การก่อการกำเริบเดือนมกราคม การก่อการกำเริบต่อต้านแฮตมัน สงครามโปแลนด์–โซเวียต |
1รัฐบาลพลัดถิ่น | |
แปตลูราเกิดในตระกูลบรรพบุรุษคอสแซ็กในปอลตาวา ตั้งแต่อายุยังน้อย เขายอมรับแนวคิดของลัทธิสังคมนิยมและชาตินิยมยูเครน ซึ่งเขาได้ถ่ายทอดแนวคิดนี้ผ่านการผลงานมากมายในฐานะนักสื่อมวลชน หลังจากการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 ที่ล้มล้างระบอบราชาธิปไตยซาร์ สาธารณรัฐประชาชนยูเครนจึงได้ก่อตั้งขึ้นและแปตลูราได้รับเลือกเป็นผู้นำฝ่ายทหาร สาธารณรัฐถูกรัฐยูเครนขัดจังหวะในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ในปลาย ค.ศ. 1918 แปตลูรา พร้อมด้วยสมาชิกคนอื่นของคณะกรรมาธิการยูเครนได้ก่อจราจลและโค่นล้มระบอบ แล้วจึงฟื้นฟูสาธารณรัฐขึ้นมาอีกครั้ง เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำคณะกรรมาธิการในข่วงต้น ค.ศ. 1919 ภายหลังบอลเชวิคเข้าบุกครองยูเครนและทำให้กองทัพประชาชนล่าถอยไปกาลิเชีย เมื่อเผชิญกับความพ่ายแพ้ที่ใกล้เข้ามา แปตลูราจึงตกลงเป็นพันธมิตรกับผู้นำโปแลนด์ยูแซฟ ปิวซุดสกี ผลลัพธ์ของสงครามโปแลนด์–โซเวียตลงเอยด้วยการชนะของโปแลนด์ แต่ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของโซเวียต และแปตลูราลี้ภัยออกนอกประเทศ ในช่วงแรกของการลี้ภัย เขาได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นที่โปแลนด์ แต่ต่อมาจึงย้ายไปปารีส
ในระหว่างสงครามกลางเมือง กองทัพประชาชนยูเครนมีส่วนต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของพลเรือนยิวหลายหมื่นคน และบทบาทของแปตลูราในการสังหารหมู่เป็นที่ถกเถียง ใน ค.ศ. 1926 แปตลูราถูกลอบสังหารในปารีสโดยนักอนาธิปไตยชาวยิวที่สูญเสียญาติพี่น้องจากการสังหารหมู่ตามคำสั่งของเขา
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Biography of Petlura. dead link
- ↑ Magocsi, Paul Robert. 2010. A History of Ukraine: The Land and Its Peoples. Toronto: University of Toronto Press, p. 538.
- ↑ Zamoyski, Adam. 2007. Warsaw 1920: Lenin's Failed Conquest of Europe. London: HarperPress, p. viii.
- ↑ Marples, David R. 2008. Heroes and Villains: Creating National History in Contemporary Ukraine. Budapest: Central European University Press, p. 57.
บรรณานุกรม
แก้- Danylevskyi/Danylevsky, Rev. Prof. K. (1947). Petliura v sertsiakh i pisniakh svoho narodu. Regensburg: Nakladom filii Tovarystva ukrayinskykh politychnykh v’iazniv v Regensburzi. P. 11.
- Danylevskyi/Danylevsky, Rev. Prof. K. O. (1951). Petliura v sertsiakh i pisniakh svoho narodu. Pittsburgh, USA: Vidbytka z Narodnoho Slova. P. 24.
- Encyclopedia of Ukraine – Paris-New York 1970, Volume 6, pp. 2029–30.
- Friedman, Saul S. (1976). Pogromchik: The Assassination of Simon Petlura. New York: Hart Publishing. ISBN 0805511628.
- Schwartzbard, Sholom: Over The Years (Inem Loif Fun Yoren). Excerpt from a book by Petliura's assassin explaining his actions.
- Strauss, Herbert A., บ.ก. (1993). Hostages of modernization: studies on modern antisemitism, 1870-1933/39. Vol. 2. Berlin: W. de Gruyter. ISBN 3110137151.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ภาษาอังกฤษ
แก้- (ในภาษาอังกฤษ) Symon Petliura, Yevhen Konovalets, Stepan Bandera - Three Leaders of Ukrainian Liberation Movement murdered by the Order of Moscow (audiobook).
- Biography of Petliura on website of the Ukrainian government
- Petliura site in Poltava (Documents, articles and photographs)
- "Petlura Trial". Time. November 7, 1927. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2005. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09. (Time magazine on the Petlura trial)
- Turning the pages back...May 25, 1926[ลิงก์เสีย] (Ukrainian Weekly account of shooting of Petliura)
- Review of books on Petliura[ลิงก์เสีย]
- Review of Henry Abramson's A Prayer for the Government: Ukrainians and Jews in Revolutionary Times
- The Odyssey of the Petliura Library and the Records of the Ukrainian National Republic during World War II
- Collier's New Encyclopedia. 1921. .
ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ
แก้- "Symon Petliura. Facts against myths" by Alik Gomelsky.
- "Unknown Symon Petliura: history of an interview," Zerkalo Nedeli (Mirror Weekly), July 7–13, 2001. Available online in Russian and in Ukrainian.
- "A Belated Idealist," Zerkalo Nedeli (Mirror Weekly), May 22–28, 2004. Available online in Russian and in Ukrainian.
- "Symon Petliura as opponent of Jewish pogroms," Zerkalo Nedeli (Mirror Weekly), July 25–31, 1996. Available online in Russian.
- Article published in the "Archives of the Ukrainian Security Service" on Petlura and the GPU re his assassination based on recently discovered materials from the vaults of the Ukrainian Security Service in Ukrainian.
- Symon Petliura in opposition to Jewish Pogroms (in Russian)
- Petliura web site in Poltava Web site of documents pertaining to Symon Petliura in Ukrainian, Russian and English.
- กฤตภาคจากหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ ซือมอน แปตลูรา ในหอจดหมายเหตุข่าวสารคริสต์ศตวรรษที่ 20 ของ ZBW