ซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3

ซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3 (อังกฤษ: C-17 Globemaster III) เป็นเครื่องบินขนส่งทางทหารขนาดใหญ่ ซี-17 นั้นถูกสร้างให้กับกองทัพอากาศสหรัฐตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2523-2533 โดยแมคดอนเนลล์ ดักลาส เครื่องบินนั้นใช้ชื่อเหมือนกับเครื่องบินสองรุ่นก่อนหน้าที่ใช้โดยกองทัพอากาศสหรัฐเช่นกัน นั่นคือซี-74 โกลบมาสเตอร์และซี-124 โกลบมาสเตอร์ 2 ซี-17 ถูกใช้เพื่อทำการลำเลียงอยู่บ่อยครั้ง ทั้งทหารและสินค้า เพื่อส่งไปยังฐานปฏิบัติการหลักหรือฐานปฏิบัติการในแนวหน้าทั่วโลก มันมีความสามารถในการขนส่งหน่วยรบเข้าสู่สมรภูมิได้อย่างต่อเนื่องพร้อมกับดำเนินการส่งเสบียงต่อไป ซี-17ยังสามารถให้การลำเลียงทางยุทธวิธี อพยพคนเจ็บ และการปล่อยพลร่ม[3]

ซี-17 โกลบมาสเตอร์ 3
บทบาทเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีและยุทธศาสตร์
ชาติกำเนิดสหรัฐอเมริกา
บริษัทผู้ผลิตแมคดอนเนลล์ ดักลาส
โบอิง
เริ่มใช้14 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
สถานะประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศสหรัฐ
กองทัพอากาศออสเตรเลีย
กองทัพอากาศแคนาดา
จำนวนที่ผลิต205 ลำเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552[1]
มูลค่า218 ล้านดอลลาร์ (เมื่อปี 2550)[2]
พัฒนามาจากแมคดอนเนลล์ ดักลาส วายซี-15

ซี-17 ถูกใช้โดยสหรัฐ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา[4] นาโต้[5] และกาตาร์,[1] ส่วนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพิ่งทำการสั่งซื้อ

การทดสอบ แก้

เครื่องซี-17 เครื่องทดสอบเครื่องแรกได้ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1991 ผลจาการทดสอบและการทดสอบภาคพื้นดินทำให้ทราบข้อบกพร่องหลายอย่าง โดยกระทรวงกลาโหมที่มองว่า ซี-17 เป็นเครื่องบินที่ไม่มีความปลอดภัย พบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นหลายอย่างเช่น แฟลบเกิดการอ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน มีรอยร้าวเกิดขึ้นที่ผิวปีกด้านบน ปัญหาเชื้อเพลิงรั่ว ปัญหาฐานล้อยุบตัวมากไป ซึ่งต่อมาบริษัทผู้ผลิตได้ทำการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แมคดอนเนลล์ ดักลาส ได้ส่งมอบ ซี-17 เครื่องแรกให้กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1993 โดยเข้าประจำการในกองบินลำเลียงที่ 437 และหลังจากมอบเข้าประจำการ ซี-17 ได้รับการทดสอบและใช้งานอย่างสมบุกสมบันเพื่อลบล้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในอดีตจนกระทั่งกลายเป็นเครื่องบินที่สร้างความพอใจกับกองทัพอากาศสหรัฐฯเป็นอย่างมาก โดยการทดสอบในสภาพอุณหภูมิทั้งร้อนจัดและหนาวจัด การนำไปปฏิบัติการในบอสเนียในปี ค.ศ. 1996

การออกแบบ แก้

 
ด้านในของซี-17

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา น้ำหนักและขนาดอำนาจการยิงและอุปกรณ์ของสหรัฐได้เพิ่มากขึ้น ซึ่งทำให้เครื่องบินต้องมีความสามารถมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะในเรื่องพื้นที่ของห้องเก็บสินค้า ซี-17 สามารถลำเลียงสินค้าดังกล่าวเข้าสู่สนามรบได้อย่างง่ายดาย

ซี-17 มีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเอฟ117-พีดับบลิว-100 ที่ถอยหลังได้ แต่ละเครื่องให้แรงขับ 40,400 ปอนด์[6] ตัวขับถอยหลังจะบังคับทิศทางอากาศที่ไหลขึ้นไปทางด้านหน้า สิ่งนี้จะลดความเป็นไปได้ที่จะมีวัตถุแปลกปลอมกระเด็นเข้าไปและทำให้เครื่องบินสามารถถอยหลังได้ ระบบนี้ยังสามารถใช้ขณะบินได้อีกด้วย[6] สำหรับการเพิ่มแรงฉุด

เครื่องบินนั้นต้องการลูกเรือสามนาย (นักบิน นักบินผู้ช่วย และพลลำเลียง) สินค้าจะถูกบรรจุเข้าทางด้านหลัง พื้นของห้องเก็บสินค้าจะมีรางลูกเลื่อนซึ่งสามารถพับลงได้เพื่อทำให้พื้นเรียบ หนึ่งในสินค้าที่มันสามารถขนได้คือรถถังเอ็ม1 เอบรามส์ขนาด 70 ตัน

มันสามารถจุได้สูงสุด 77,500 กิโลกรัม และน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดคือ 265,350 กิโลกรัม ด้วยสินค้า 72,600 กิโลกรัมและบินที่ความสูง 28,000 ฟุต ซี-17 นั้นสามารถบินได้โดยไม่เติมเชื้อเพลิงเป็นระยะทาง 4,400 กิโลเมตรสำหรับ 71 ลำแรก และ 5,200 กิโลเมตรสำหรับรุ่นต่อๆ มาซึ่งมีส่วนปีกที่ใช้เป็นถังเชื้อเพลิง มันถูกเรียกว่าซี-17 อีอาร์โดยโบอิง[7] ซี-17 มีความเร็วร่อนอยู่ที่ประมาณ 0.76 มัค[3] ซี-17 นั้นถูกออกแบบมาเพื่อลำเลียงทหารพลร่มพร้อมอุปกรณ์ได้ 102 นาย

ซี-17 ถูกออกแบบมาเพื่อให้ปฏิบัติการได้บนทางวิ่งที่สั้นเพียง 1,064 เมตรและกว้างเพียง 27 เมตร นอกจากนี้แล้วซี-17 สามารถทำงานของมันได้บนทางวิ่งที่ไม่สมบูรณ์[3]

ปีก แก้

การออกแบบปีกของเครื่องบินนับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญ เพื่อให้ได้ตรงตามความต้องการของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งกำหนดให้ บริษัทแมคดอนเนลล ดักลาส ได้คิดค้นรูปแบบปีกต่างๆ เพื่อให้ปีกมีความแข็งแรงและมีแรงต้านน้อยที่สุด กองทัพอากาศสหรัฐฯกำหนดความกว้างไว้มากที่สุดเพียง 50 เมตร เพราะด้วยเหตุผลในเรื่องพื้นที่การจอดและการเคลื่อนที่บนพื้นในสนามบินบางแห่งที่อยู่ห่างไกล และกำหนดหลุมจอดของเครื่องซี-17 ไว้ที่ขนาด 90×122 เมตร สุดท้ายความยาวของปีกที่กางออกอยู่ที่ 50.3 เมตร โดยมีการเพิ่มปีกต่อจากปลายปีกงอขึ้นข้างบน ซึ่งรูปแบบปีกแบบนี้มีผลดีต่อเครื่องยนต์ในการลดความสินเปลืองในการเผาไหม้ได้ 2% เนื่องจากประสิทธิภาพในการบินในแนวระดับดีขึ้น แรงต้านลดลงขณะทำการเดินทาง 3% เมื่อเปรียบเทียบกับปีกที่ไม่มีปีกต่อจากปลายปีกงอขึ้นข้างบน ส่วนแพนหางได้สร้างเป็นรูปตัวที สูง 16.38 เมตร ลู่ไปข้างหลัง 41 อาศา และส่วนบนของแพนหางดิ่งติดแพนหางระดับ กางปีก 19.8 เมตร สร้างจากวัสดุผสมน้ำหนักเบา ซึ่งแพนหางรูปตัวทีขนาดใหญ่ช่วยทำให้เครื่องบินมีเสถียรภาพในการบินในระดับต่ำดีขึ้น ก่อนลงมือสร้างจริง แมคดอนเนลล์ ดักลาส ได้ทำการทดสอบแผนงานและรูปแบบต่างๆ กับเครื่องบินต้นแบบ วายซี-15ซึ่งมีขนาดครึ่งหนึ่งของเครื่อง ซี-17

ระบบควบคุม แก้

ห้องนักบิน แก้

 
ห้องนักบิน

ห้องนักบินของเครื่องบินลำเลียง ซี-17 มีการออกแบบและพัฒนาระบบอวิโอนิกส์ต่างๆ ขึ้นมาติดตั้งใช้งานโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลดภาระงานของนักบินและลดเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องให้น้อยลง โดย ซี-17 มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเพียง 3 คนเท่านั้น คือ นักบิน นักบินผู้ช่วย และ เจ้าหน้าที่ขนส่งทางอากาศ ซึ่งเครื่องบินลำเลียงโดยทั่วไปจะใช้เจ้าหน้าที่ 6-8 คน ระบบควบคุมการบินต่างๆของ ซี-17 คันบังคับเหมือนกับติดตั้งกับเครื่องบินรบไอพ่นซึ่งแตกต่างจากเครื่องบินลำเลียงทั่วไป และคันบังคับยังติดตั้งสวิทช์ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ มากมายประกอบด้วย สวิทช์ปรับเสถียรภาพของเครื่องบิน ไมโครโฟน สวิทช์เลือกโหมดการทำงานของระบบควบคุมการบินด้วยไฟฟ้า สวิทช์ระบบเติมเชื้อเพลิงในอากาศ/นักบินกล และ สวิทช์ระบบทิ้งสัมภาระในอากาศ ตรงหน้านักบินทั้งสองคนติดตั้งจอ HUD สามารถพับได้เมื่อไม่ใช้งาน จอ HUD เป็นเครื่องวัดประกอบการบินมูลฐานของ ซี-17 มีโหมดสำหรับตัดภาพฉากหลังออกไปเมื่อต้องปฏิบัติภารกิจในงานหนัก

ระบบควบคุมการบินดิจิทัล แก้

ซี-17 มีการติดตั้งระบบควบคุมการบินดิจิทัล fly-by-wire ที่ทันสมัย เป็นระบบดิจิทัลควบคุมการทำงาน 4 แกน และเป็นเครื่องบินขนาดใหญ่แบบแรกที่สร้างขึ้นในสหรัฐฯที่ได้ใช้ระบบนี้ ระบบควบคุมการบินจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ

ระบบคอมพิวเตอร์ แก้

ซี-17 ได้รับการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์จำนวน 3 ระบบ คอมพิวเตอร์ 1 ใน 3 ระบบ สามารถทำงานสนับสนุนในการทำงานของระบบต่างๆได้อย่างสมบูรณ์ และนอกจากนี้ยังมีคอมพิวเตอร์ระบบหลักอีก 4 ระบบ

  • การแสดงภารกิจ
  • การแจ้งเตือนและบอกเหตุ
  • การบริหารการสื่อสารทางวิทยุรวมการ
  • การควบคุมการบิน

คอมพิวเตอร์หลักจะใช้ในการสนับสนุนการทำงานของ digital line replacable unit จำนวน 56 ชุด ซึ่งได้รับการออกแบบมาสำหรับการถ่ายทอดสัญญาน การประมวลผล และ ส่งข้อมูลผ่านไปยัง เอ็มไอแอล-เอสทีดี-1553 บัส และ เออาร์ไอเอ็นซี 429 เพื่อทำหน้าที่ควบคุมเครื่องบินและแจ้งข้อมูลต่างๆให้กับน้กบิน

ระบบป้องกันอันตรายจากศัตรู แก้

เครื่องซี-17 มีระบบป้องกันอันตรายจากศัตรูทั้งจากปืนต่อสู้อากาศยาน และ อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ ซี-17 ออกแบบให้มีความอยู่รอดเมื่อถูกยิงจากกระสุนปืนเจาะเกราะขนาด 12.7 มม. และเมื่อระบบควบคุมการบินดิจิทัลได้รับความเสียหายไม่สามารถใช้งานได้ทั้ง 4 ระบบ ยังมีระบบไฮดรอลิกส์สำรอง ซึ่งนักบินสามารถทำการบินต่อไปได้ ระบบป้องกันตนเองได้แก่

  • ระบบแจ้งเตือนทิศทางเข้ามาของอาวุธนำวิถีข้าศึก
  • เครื่องรบกวนสัญญานอินฟราเรต
  • เครื่องปล่อยแชฟฟ์และแฟร์

เครื่องยนต์ แก้

 
เครื่องยนต์ แพรทแอนด์วิทนีย์ เอฟ-117 พีดับบลิว-100

ซี-17 ได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน แพทรแอนด์วิทนีย์ เอฟ-117 พีดับบลิว-100 ขนาดแรงขับเครื่องละ 181.0 กิโลนิวตัน เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานขับเคลื่อนติดอยู่ใต้ปีกข้างละ 2 เครื่อง ก่อนทำการติดตั้ง บริษัท แมคดอนเนลล์ ดักลาส ได้ทำการศึกษาผลดีผลเสียของติดตั้งเครื่องยนต์ในตำแหน่งอื่นๆ เช่น บริเวณตำแหน่งบนปีก ซึ่งทำให้เครื่องบินใช้ระยะในการวิ่งขึ้นและร่อนลงสั้น แต่จะทำให้เกิดแรงต้านมากขึ้นและประสิทธิภาพในการบินในแนวระดับต่ำลง

เครื่องยนต์แต่ละเครื่องจะมี fan reverser หรือ กรีบใบพัดผันกลับ ที่ด้านหน้าและ core reverser ติดตั้งที่ด้านหลังเครื่องยนต์ ทำงานด้วยระบบไฮดรอลิกส์ ทั้ง fan reverser และ core reverser จะทำให้แรงขับจากเครื่องยนต์กระทำในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางปกติของแรงขับ โดยนักบินจะใช้ในขณะลงสนาม ซึ่งทำให้เครื่องบินสามารถลดความเร็วได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเครื่องบินซี-17 ได้รับการพัฒนาให้สามารถทำการผันกลับแรงขับได้ทั้งขณะอยู่ที่พื้นหรือในอากาศ โดยแรงขับจากเครื่องยนต์จะขึ้นข้างบน 37 องศา ไม่ลงข้างล่างหรือออกด้านข้าง ทำให้ลดอันตรายที่จะเกิดจากก๊าชร้อนที่ปล่อยจากเครื่องยนต์ไปกระทบกับวัสดุหรือวัสถุที่อยู่บนพื้น ขณะอยู่บนพื้นดิน เครื่องซี-17 สามารถถอยวิ่งขึ้นเนิน 2 องศาได้ หรือ เลี้ยวกลับลำ 180 องศาได้ในตัวพร้อมรถถัง เอ็ม-1 บรรทุกอยู่ 1 คัน

สมรรถนะของเครื่องบิน ซี-17 มีความเร็วเดินทางปกติ 0.77 มัคที่ ความสูง 28,000 ฟุต ความเร็วสูงสุดที่ความสูงระดับต่ำ 648 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วในการลงสนามเมื่อบรรทุกน้ำหนักสูงสุด 213 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทางในการลงสนามเมื่อบรรทุกสัมภาระหนัก 75,750 กิโลกรัม และ เครื่องยนต์ผันกลับแรงขับ 915 เมตร พิสัยบินเมื่อบรรทุกสัมภาระหนัก 75,750 กิโลกรัม 4,445 กิโลเมตร ซี-17 สามารถปฏิบัติได้ในทางวิ่งทั้งที่ลาดยางและทางวิ่งไม่ราดผิว

แบบต่างๆ แก้

  • ซี-17เอ เป็นแบบแรกสำหรับกองทัพ
  • ซี-17เอ "อีอาร์" เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของรุ้นเอที่มีการเพิ่มส่วนกลางของถังเชื้อเพลิงภายในปีก[7][8] การพัฒนานี้เริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2544[8]
  • ซี-17บี เป็นรุ่นยุทธวิธีที่เสนอให้กับกองทัพ การออกแบบมีแฟลบพิเศษ ล้อเพิ่มบนลำตัว เครื่องยนต์ที่ทรงพลังกว่า และระบบอื่นๆ ที่ทำให้ขึ้น-ลงในระยะสั้นได้[9] โบอิงได้เสนอซี-17บีให้กับกองทัพสหรัฐในปีพ.ศ. 2550 ไว้สำหรับบรรทุกอาวุธและยุทธโธปกรณ์ในอนาคต[10]

อุบัติเหตุ แก้

  • ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2541 ซี-17 (หมายเลข 96-0006) ของกองทัพอากาศสหรัฐได้รับความเสียหายในอุปกรณ์ลงจอดเมื่อทำการบินลงที่ไอซ์แลนด์ บนทางวิ่งยาว 3,800 ฟุตเพื่อขนส่งวาฬ เครื่องบินได้รับความเสียหายมูลค่า 1 ล้านดอลลาร์ หลังจากได้รับการซ่อมแซมชั่วคราว มันก็ถูกขนไปซ่อมในไอซ์แลนด์[11][12]
  • ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ซี-17 (หมายเลข 98-0057) ของกองทัพอากาศสหรัฐถูกยิงโดยขีปนาวุธพื้นสู่อากาศหลังจากบินออกจากแบกแดดประเทศอิรัก เครื่องยนต์เครื่องหนึ่งเสียหาย แต่เครื่องบินก็ร่อนลงได้อย่างปลอดภัย[13][14] หลังจากที่ได้รับการซ่อมแซมมันก็กลับเข้าสู่ประจำการ[15]
  • ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ซี-17 (หมายเลข 01-0196) ของกองทัพอากาศสหรัฐได้วิ่งออกนอกทางที่ฐานทัพอากาศบาแกรมในอัฟกานิสถานในขณะที่พยายามจะลงจอด ส่วนจมูกและล้อนั้นได้รับความเสียหาย มันเป็นเหตุการณ์ที่ซี-17 ได้รับความเสียหายมากที่สุด[16] ทีมซ่อมแซมของโบอิงใช้เวลาสองเดือนในการซ่อมแซมให้เครื่องบินกลับมาบินได้อีก[17] มันใช้เวลา 5 วันในการบินกลับสหรัฐโดยมีนักบินทดสอบเป็นผู้ควบคุม เพราะว่าผลจากการซ่อมแซมชั่วคราวนั้นทำให้มันมีขีดจำกัด[18] การซ่อมแซมสิ้นสุดในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 และมันก็กลับเข้าประจำการอีกครั้ง
  • ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552 ซี-17 (หมายเลข96-0002) ของกองทัพอากาศสหรัฐได้ร่อนลงโดยไม่ใช้ล้อที่ฐานทัพอากาศบาแกรม[19][20] เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552 เครื่องบินได้บินออกจากบาแกรมและไปถึงโนว่า สโกเทียพร้อมกับหยุดพักเป็นระยะ มันถูกจำกัดให้บินไม่เกิน 10,000 ฟุต โดยมีความเร็วไม่เกิน 250 น็อต คาดว่าจะเข้าประจำการอีกครั้งเมื่อซ่อมแซมสมบูรณ์

รายละเอียด ซี-17 แก้

ข้อมูลจำเพาะ[3][21][22][23]

  • ลูกเรือ 3 นาย นักบิน 2 นาย พลลำเลียง 1 นาย
  • ความจุ
    • ทหาร 102 นาย สำหรับที่นั่งตรงกลาง หรือ
    • ทหาร 134 นาย สำหรับที่นั่งแบบนอน หรือ
    • ผู้บาดเจ็บบนเปล 36 คนและผู้บาดเจ็บที่ยืนได้ 54 คน หรือ
    • สินค้าอย่าง รถถังเอ็ม1 เอบรามส์
  • น้ำหนักบรรทุก 77,519 กิโลกรัม
  • ความยาว 53 เมตร
  • ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสอง 51.75 เมตร
  • ความสูง 16.8 เมตร
  • พื้นที่ปีก 353 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 128,100 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 265,350 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพนทท์ แอนด์ วิทนีย์ เอฟ117-พีดับบลิว-100 สี่เครื่องยนต์ ให้กำลังเครื่องละ 40,440 ปอนด์
  • ความจุเชื้อเพลิง 35,546 แกลลอน
  • พิสัย 4,482 กิโลเมตร
  • เพดานบินทำการ 45,000 ฟุต
  • น้ำหนักบรรทุกสูงสุดบนปีก 750 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  • อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 0.277

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Boeing Delivers Qatar's 1st C-17 Globemaster III"Boeing, 11 August 2009
  2. "FY 2009 Budget Estimates." p. 2–1. เก็บถาวร 2008-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน United States Air Force. February 2008.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 C-17 fact sheet. US Air Force, October 2008.
  4. "Boeing Delivers Canada's First C-17"
  5. "Multinational Alliance's 1st Boeing C-17 Joins Heavy Airlift Wing in Hungary". Boeing, 27 July 2009.
  6. 6.0 6.1 Pratt & Whitney's F117 page
  7. 7.0 7.1 "C-17/C-17 ER Flammable Material Locations". Boeing Integrated Defense Systems. 1 May 2005.
  8. 8.0 8.1 Norton 2001, p. 93.
  9. Trimble, Stephen. "Boeing offers C-17B as piecemeal upgrade". Flight International, 19 August 2008.
  10. Trimble, Stephen. "Boeing offers C-17B to US Army". Flight International, 16 October 2007.
  11. C-17A S/N 96-0006
  12. ""C-17 Accident During Whale Lift Due To Design Flaw"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-29. สืบค้นเมื่อ 2012-05-29.
  13. "SAM incidents". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-10. สืบค้นเมื่อ 2009-10-01.
  14. Information on 98-0057 incident เก็บถาวร 2008-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Aviation-Safety.net
  15. C-17, tail 98-0057 image from 2004, airliners.net.
  16. "Bagram Runway Reopens After C-17 Incident - DefendAmerica News Article". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-18. สืบค้นเมื่อ 2009-10-01.
  17. "The Big Fix", Boeing Frontiers Online, February 2006.
  18. Skypark Pilots Honored เก็บถาวร 2009-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, skypark.org
  19. "Bagram Air Base runway recovery". US Air Force, 4 February 2009.
  20. "Bagram C-17 Accident Investigation Board complete". US Air Force, 7 May 2009.
  21. "Boeing C-17 backgrounder" (PDF). Boeing. May 2008.
  22. C-17 Globemaster III, Technical Specifications. Boeing
  23. C-17 Globemaster III page. Aerospaceweb.org.