ซามูไร อโยธยา (อังกฤษ: YAMADA) เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ของไทย โดยเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับยามาดะ นางามาสะ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีอยู่จริงในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นำแสดงโดยเซกิ โอเซกิ[2] กำกับโดยนพพร วาทิน และกำหนดฉายในประเทศไทยครั้งแรก 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553 [3]

ซามูไร อโยธยา
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับนพพร วาทิน
นักแสดงนำเซกิ โอเซกิ
บัวขาว ป.ประมุข
ธรรมรส ใจชื่น
สรพงษ์ ชาตรี
วินัย ไกรบุตร
ธนาวุฒิ เกสโร
วันฉาย2 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ประเทศ ไทย
ภาษาไทย
ทุนสร้าง100 ล้านบาท[1]
ทำเงิน7.5 ล้านบาท
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

เนื้อเรื่องย่อ

แก้

เป็นเรื่องราวของยามาดะ นางามาสะ ซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แม้ว่าเขาจะเป็นชาวญี่ปุ่น แต่ก็รักเมืองไทยมาก และได้เรียนรู้วิชามวยไทย (แบบโบราณ) ทั้งยังเป็นเข้าร่วมกองอาสาออกรบให้อยุธยาหลายคราว ซึ่งต่อมาได้เป็น "ออกญาเสนาภิมุข" มีหน้าที่ในการคุมกองอาสาญี่ปุ่น ต่อมา ได้มีการกบฏเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งยามาดะได้เดินทางมาปราบกบฏได้สำเร็จ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้เป็นเจ้าแห่งเมืองนครศรีธรรมราชในเวลาต่อมา[4]

การสร้าง

แก้

ทางฝ่ายจัดสร้างมีความต้องการที่จะถ่ายทอดวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยในสมัยก่อนให้ชาวต่างชาติได้รับชม โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอในต่างประเทศ ทั้งการนำเสนอศิลปะมวยไทย, ฟันดาบ, การใช้สมุนไพร ตลอดจนวัฒนธรรมไทยรวมถึงชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านของชาวญี่ปุ่นในสมัยอยุธยา โดยใช้งบประมาณในการสร้าง 100 ล้านบาท[1]

การประชาสัมพันธ์

แก้

ทางผู้จัดสร้างได้นำนักแสดงนำอย่าง เซกิ โอเซกิ รวมทั้งธรรมรส ใจชื่น ได้มีส่วนร่วมในการเปิดตัวภาพยนตร์ โดยได้เดินทางเข้าร่วมงาน "เทศกาลนางามาสะ มิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 23"[1] ที่จังหวัดชิสึโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบ้านเกิดของยามาดะ นางามาสะ เพื่อสร้างสายสัมพันธ์อันดีต่อชาวญี่ปุ่นและชาวไทย และมีทีมข่าว NHK ทำการบันทึกภาพในการนำเสนอดังกล่าว รวมทั้งทางประเทศญี่ปุ่นได้ตกลงทำสัญญาซื้อภาพยนตร์ชุดนี้ เพื่อจัดฉายในประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน[1]

นักแสดงนำ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ยามาดะ ซามูไรแห่งอโยธยา[ลิงก์เสีย]
  2. "ซามูไร อโยธยา เปิดตัวอลังการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-12-17.
  3. ซามูไรอโยธยา (2010)
  4. 4.0 4.1 เรื่องย่อหนัง ซามูไร อโยธยา
  5. "แม้มิใช่แผ่นดินเกิด แต่ขอเป็นแผ่นดินตาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-09. สืบค้นเมื่อ 2010-12-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้