ซับโลน ซีมินตอฟ

ซับโลน ซีมินตอฟ (ฮีบรู: זבולון סימן-טוב ‎, ดารี/ปาทาน: زابلون سیمینتوف; เกิดใน ค.ศ. 1959) เป็นพ่อค้าพรมและเจ้าของร้านอาหารชาวอัฟกันที่เชื่อว่าเป็นชาวยิวคนสุดท้ายที่อยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน และเป็นผู้ดูแลธรรมศาลาแห่งเดียวที่คาบูล[3][4][5][6] ในวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 2021 เขาเดินทางออกจากอัฟกานิสถาน ด้วยความช่วยเหลือจากบริษัทความปลอดภัยส่วนตัวของนักธุรกิจชาวอิสราเอล-อเมริกัน โมตี คาฮานา[7][8]

ซับโลน ซีมินตอฟ
زابلون سیمینتوف
ซีมินตอฟในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2005
เกิดค.ศ. 1959 (อายุ 64–65 ปี)
เฮราต, ราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน[1]
สัญชาติอัฟกัน
มีชื่อเสียงจากเป็นชาวยิวคนสุดท้ายในประเทศอัฟกานิสถาน
บุตร2[2]

ประวัติ แก้

ก่อนย้ายไปที่คาบูล ซีมินตอฟเกิดและเติบโตในเมืองเฮราตฝั่งตะวันตก บ้านของเขาเสียหายในช่วงสงครามกลางเมือง (ทำให้ชาวยิวเกือบทั้งหมดออกจากประเทศ) บังคับให้เขาย้ายไปที่ธรรมศาลา เขาเคยอยู่ที่เติร์กเมนิสถานแล้วกลับไปที่คาบูลใน ค.ศ. 1998 ในช่วงสมัยของตอลิบาน เขาถูกพวกตอลิบานกักขังและทุบตีหลายครั้ง[9] ซีมินตอฟอาศัยอยู่ในธรรมศาลาคู่กับอิสฮาก (ไอแซก) เลวิน ที่เสียชีวิตในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2005 อายุประมาณ 80 ปี เรื่องราวของซีมินตอฟกับเลวินเป็นพื้นฐานของละครอังกฤษ[10] หลังเลวินเสียชีวิต ซีมินตอฟกล่าวว่าเขาไม่เสียใจและจะไม่คิดถึงเขา[11] ซีมินตอฟอาศัยอยู่ในห้องเล็กในธรรมศาลาที่ Flower Street ในคาบูลและได้เงินบริจาคจากกลุ่มชาวยิวต่างประเทศและมุสลิมท้องที่ที่เห็นใจ[1] ภรรยาและลูกสาวสองคนอาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล[12] เมื่อมีคนถามในระหว่างสัมภาษณ์ว่าเขาจะย้ายไปที่อิสราเอลไหม ซีมินตอฟตอบโต้ว่า "ไปอิสราเอล? ผมจะทำงานอะไรที่นั่น? ทำไมต้องออกไปจากที่นี่?"[1] ในวิดีโอการสัมภาษณ์โดย อัลจาซีรา เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2007 ซีมินตอฟแนะนำว่าเขาอาจสนใจที่จะย้ายไปที่อิสราเอลเพื่ออยู่ร่วมกับลูกสาวทั้งสองคน[13]

ซีมินตอฟได้กล่าวว่า: "ผมไม่อยากให้ประเพณีของชาวยิวถูกลบไป พ่อผมเป็นรับบี ปู่ผมก็เป็นรับบี พวกเราคือครอบครัวศาสนาที่ใหญ่..." อย่างไรก็ตาม เขาสวม กิปปะฮ์ ในที่ส่วนตัวและไม่ค่อยให้ผู้ชมเยี่ยมชมธรรมศาลาที่เขาเรียกว่าบ้าน[14] ในการสัมภาษณ์เมื่อ ค.ศ. 2019 ซีมินตอฟกล่าวว่า "ผมไม่พูดภาษาฮีบรู ผมเป็นชาวอัฟกัน" เขาอ้างว่ารู้จักกับประธานาธิบดีอัชราฟ ฆานีเป็นการส่วนตัวด้วย[15]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Jason Motlagh (September 2, 2007). "The last Jew in Afghanistan". San Francisco Chronicle.
  2. The Virtual Jewish History Tour (Afghanistan) by Alden Oreck, Jewish Virtual Library
  3. N.C. Aizenman (January 27, 2005). "Afghan Jew Becomes Country's One and Only". Washington Post. p. A10.
  4. "Now I'm the only Jew in the city". The Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 11, 2007.
  5. "'Only one Jew' now in Afghanistan". BBC News. January 25, 2005.
  6. Martin Fletcher (June 14, 2008). "The last Jew in Afghanistan". NBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2008.
  7. Sharon, Jeremy (8 September 2021). "Last Jew leaves Afghanistan". The Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 14 September 2021.
  8. "Afghanistan's last Jew finally leaves the country, reportedly headed to US". The Times of Israel. 7 September 2021. สืบค้นเมื่อ 14 September 2021.
  9. Laura E. Adkin (2019-10-31). "The last Jews in Afghanistan argued so much the Taliban kicked them out of prison and stole their Torah". Jewish Telegraphic Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-01. สืบค้นเมื่อ 2020-07-11. Unfortunately, their feuding also allowed the Taliban to run away with the synagogue’s Torah. Scribed in the 15th century, the scroll was allegedly taken by Taliban’s interior minister and sold on the black market.
  10. Hannah Schraer, Totally Jewish.com, August 15, 2006 Fringe Benefits
  11. https://www.washingtonpost.com/wp-dyn/articles/A39702-2005Jan26.html
  12. The Virtual Jewish History Tour (Afghanistan) by Alden Oreck, Jewish Virtual Library
  13. The last Jew in Afghanistan - 12 Sep 07 ที่ยูทูบ
  14. Garfinkel, Jonathan (May 29, 2013). A Congregation of One เก็บถาวร 2013-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. tabletmag.com.
  15. https://www.bild.de/politik/international/bild-international/zaboab-simintov-the-only-jew-who-lives-in-kabul-when-the-taliban-realized-i-was-61003116.bild.html

แหล่งข้อมูลอื่น แก้