ชุมชนกุฎีจีน เป็นย่านชุมชนเก่าแก่ของฝั่งธนบุรีที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี และยังเป็นย่านชุมชนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรมอย่างมากแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ทั้งชาวไทย จีน ฝรั่ง ญวน มอญ ฯลฯ ที่อพยพจากกรุงเก่ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของคลองบางหลวง หรือคลองบางกอกใหญ่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา [1] จะเห็นได้จากเป็นแหล่งที่ตั้งศาสนสถานที่สำคัญหลายศาสนาทั้ง วัดประยุรวงศาวาส, วัดซางตาครู้ส, ศาลเจ้าเกียนอันเกง, วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร และ มัสยิดบางหลวง ตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา[2]

โบสถ์ซางตาครู้ส เมื่อมองจากฝั่งพระนคร

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

ชุมชนกุฎีจีน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ขึ้นกับแขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตดังนี้[3]

ประวัติ

แก้

ชุมชนกุฎีจีนเป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่อพยพมาจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 แต่ปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสเหล่านั้น แทบไม่เหลือเค้าลางของรูปร่างหน้าตาแบบตะวันตกแล้ว ชุมชนแห่งนี้มีโบสถ์ซางตาครู้ส เป็นศูนย์กลางของชุมชน ชุมชนแห่งนี้มีขนมฝรั่งกุฎีจีนขาย ซึ่งเป็นขนมพื้นเมืองของชุมชนนี้ และขนมกุฎีจีนถือได้ว่าเป็นขนมพื้นเมืองดั้งเดิมของกรุงเทพมหานคร จัดเป็นขนมโบราณที่ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาหรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยดัดแปลงมาจากขนมหลายชนิดของโปรตุเกสจากตำรับของท้าวทองกีบม้า ชุมชนกุฎีจีนตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ที่ถนนเทศบาลสาย 1 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตรงข้ามกับปากคลองตลาดในฝั่งพระนคร[4][5]

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
  1. ศาลเจ้าเกียนอันเกง
  2. โบสถ์ซางตาครู้ส
  3. พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน
  4. มัสยิดบางหลวง
  5. วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร หรือ วัดกัลยาณ์
  6. วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ชุมชนกุฎีจีน-(กะดีจีน) lovethailand.org
  2. "สถาปัตยกรรม "กะดีจีน" ชุมชน 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ". ประชาชาติธุรกิจ. 2012-02-17. สืบค้นเมื่อ 2018-01-07.
  3. นพวรรณ ศรีนรดิษฐ์เลิศ (2559). ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์เนื่องจากโครงการพื้นที่ส่วนขยายริมแม่น้ำเจ้าพระยา : บริเวณชุมชนและพาณิชยกรรมริมน้ำ (PDF). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 46. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-03. สืบค้นเมื่อ 2021-07-15.
  4. "ธนบุรี ราชธานีที่หายไป 1". พินิจนคร. 2009-02-09. สืบค้นเมื่อ 2018-01-07.
  5. "ธนบุรี ราชธานีที่หายไป 2". พินิจนคร. 2009-02-16. สืบค้นเมื่อ 2018-01-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°44′19″N 100°29′37″E / 13.738702°N 100.493723°E / 13.738702; 100.493723