ชีนเต่ (พม่า: ခြင်္သေ့; ออกเสียง: [tɕʰɪ̀ɰ̃ðḛ]; มอญ: ဇာဒိသိုၚ် ออกเสียง: [cɛ̀atìʔsaŋ]; ไทใหญ่: သၢင်ႇသီႈ ออกเสียง [sàːŋ si]) เป็นคำพม่าที่แปลว่า 'สิงโต'[2][3] สัญลักษณ์สิงห์[4][5] ของ ชีนเต่ เป็นสิงห์ที่มีการออกแบบขั้นสูง[6][7] ปรากฏทั่วไปในรูปสัญลักษณ์และสถาปัตยกรรมของพม่า โดยเฉพาะเป็นคู่ผู้พิทักษ์ ขนาบข้างทางเข้าเจดีย์หรือวัดพุทธ

รูปหล่อชีนเต่ล้อมรอบอนุสาวรีย์เอกราชในสวนสาธารณะมหาพันธุละ หน้าศาลาว่าการย่างกุ้ง
ชินเต่ สองตัวเฝ้าทางเข้าเจดีย์ชเวดากอง[1]

สิงโตธรรมชาติ แก้

ขัดกับความเชื่อที่นิยม ชีนเต่ ไม่ใช่สัตว์จากตำนาน[8] แต่ทั้งหมดเป็นสิงโตตามธรรมชาติ[9] แม้ว่ามักจะเกี่ยวข้องกับความเชื่อและตำนานก็ตาม

รูปแบบสิงห์พม่า[10] มีความใกล้เคียงกับรูปแบบสิงห์อื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้ง สิงห์ ของ ไทย, กัมพูชา, ลาว และ สิมหะ (සිංහ) ของ ศรีลังกา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ชัดเจนบนเงินรูปีศรีลังกา นอกจากนี้ยังใกล้เคียงกับรูปแบบสิงห์ของเอเชียตะวันออก เช่นสิงห์ผู้พิทักษ์ของจีน โคไมนุ ของญี่ปุ่น ชีซา ของโอกินาวะ และสิงห์หิมะของทิเบต

ต้นกำเนิด แก้

เรื่องราวสิงห์เฝ้าทางเข้าเจดีย์และวัดมีกล่าวใน มหาวงศ์:

เจ้าหญิงสุปปะเทวีแห่งอาณาจักรวังคะ (ปัจจุบันคือเบงกอล) มีพระราชโอรสองค์หนึ่งชื่อสีหพาหุจากการแต่งงานกับราชสีห์ แต่ต่อมาได้ละทิ้งราชสีห์ซึ่งโกรธแค้นและได้ออกตามหาสร้างความหวาดกลัวไปทั่วดินแดน พระราชโอรสจึงออกไปสังหารราชสีห์ที่น่าสะพรึงกลัวตัวนี้ เมื่อพระราชโอรสกลับมาหาพระราชมารดาโดยบอกว่าพระองค์ฆ่าราชสีห์ แล้วทราบว่าพระองค์ฆ่าบิดาของตัวเอง พระองค์จึงได้สร้างรูปปั้นราชสีห์เป็นผู้พิทักษ์วัดเพื่อชดใช้บาปของพระองค์[11]

ในวัฒนธรรมพม่า แก้

สัญลักษณ์ชีนเต่บนตราแผ่นดิน[12]
ธนบัตร 1,000 จัต

รูปแบบสิงห์[10]ของ ชีนเต่ ปรากฏเป็นส่วนประกอบในวัตถุที่เคารพนับถือมากมาย รวมทั้ง ปะลีน (บัลลังก์พม่า) และระฆังพม่า[13]

ก่อนการใช้เหรียญเป็นเงิน ตุ้มน้ำหนักทองเหลืองที่หล่อเป็นรูปสัตว์อันเป็นเอกลักษณ์ เช่น ชีนเต่ มักใช้เพื่อวัดปริมาณสิ่งของตามหลักมาตรฐาน[14]

ในราศีพม่า สิงห์เป็นตัวแทนของบุคคลที่เกิดวันอังคาร[15]

สัญลักษณ์สิงห์แสดงเด่นชัดบนตราประทับของรัฐหลังเอกราชที่ต่อเนื่องกัน รวมถึงตราแผ่นดินของพม่าในปัจจุบัน และในธนบัตรส่วนใหญ่ของเงินจัตพม่า เป็นรูปปั้นผู้พิทักษ์เจดีย์และวัดส่วนใหญ่

ชีนเต่กับสงครามโลกครั้งที่สอง แก้

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นายพลจัตวาออร์ด วินเกตของอังกฤษ ได้รับคำสั่งให้กองกำลังโจมตีทะลวงระยะไกลหลังแนวรบญี่ปุ่นในพม่า ตามคำแนะนำของกัปตันออง ทินแห่งกองปืนไรเฟิลพม่า วินเกตจึงตัดสินใจเรียกกองกำลังนี้ว่า "เดอะ ชีนเต่" (The Lions)[16] ซึ่งเป็นชื่อที่กลายมาเป็น "เดอะ ชินดิต " (Chindits) และได้รับการบันทึกไว้ในประวัติสงครามโลกครั้งที่สอง[3]

ชีนเต่ยังเป็นชื่อเล่นของกองบิน 435 ของแคนาดา ซึ่งก่อตั้งครั้งแรกปี ค.ศ. 1944 ในประเทศอินเดีย ตราของ RCAF 435th มีชีนเต่อยู่บนฐาน[17]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Shwedagon, Symbol of Strength and Serenity. Yangon, Burma: Yangon City Development Committee. 1997. p. 25.
  2. Myanmar-English Official Dictionary. Yangon, Burma: Department of the Myanmar Language Commission. 1993. p. 79.
  3. 3.0 3.1 United States, Congress (1945). Hearings. Washington, USA: U.S. Government Printing Office. p. 3.
  4. Archaeological Department of Burma (1902). Report on Archaeological Work in Burma. Yangon, Burma: Superintendent, Government Printing. p. 22.
  5. Session, I.A.H Congress (1996). Proceedings of the 4th Session of Indian Art History Congress. Virginia, USA: University of Virginia. p. 100.
  6. Arts of Asia: Volume 35, Issues 1-2. Virginia, USA: AOA Publications. 2005. p. 111.
  7. Ralph Isaacs, T.Tichard Blurton (2000). Visions from the Golden Land: Burma and the Art of Lacquer. Landon, England: British Museum. p. 169. ISBN 9780714114736.
  8. Sergei Sergeevich Ozhegov, Irene Moilanen (1999). Mirrorred in Wood: Burmese Art and Architecture. White Lotus Press. p. 67. ISBN 9789747534009.
  9. Bunyard, Britt A. (2000). Walking to Singapore: A Year off the Beathen Path in Southeast Asia. U.S.A: Writers Club Press of iUniverse. p. 401. ISBN 9781469772981.
  10. 10.0 10.1 Southeast Asia Handbook. Michigan, USA: Moon Publications. 1994. p. 91. ISBN 9781566910026.
  11. "Image 5 of 20". myanmar-image.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-11. สืบค้นเมื่อ 2010-09-17.
  12. Burma, Information and Broadcasting Department (1948). Burma's Fight for Freedom: Independence Commemoration. Yangon, Burma: Superintendent, Government Print. and Stationery. p. 119.
  13. Dr., Tin Mg Oo (2005). Aspects of Myanmar Culture. Yangon, Burma: Cho-Tay-Than Bookhouse. p. 28.
  14. Shwechinthe Birmans[ลิงก์เสีย]
  15. Sir., James George Scott (1882). The Burman: His Life and Notions, Volume 2. London, England: Macmillan and Company. p. 94.
  16. Duckworth, L.B (1945). Your Men in Battle: The Story of the South Staffordshire Regiment- 1939–45. Michigan, USA: Express and Star. p. 17.
  17. National Defence, Royal Canadian Air Force (2013-04-30). "435 Transport and Rescue Squadron - Royal Canadian Air Force". www.canada.ca. สืบค้นเมื่อ 2023-06-06.