ชิน อยู่ดี
ศาสตราจารย์ ชิน อยู่ดี (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2529) เป็นนักวิชาการด้านโบราณคดี ที่ทำหน้าที่ในการสำรวจทางด้านโบราณคดีในภาคต่างๆ ของประเทศไทย มีผลงานรายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ จำนวนมาก อาทิ ขุดค้นในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดราชบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2503-2505 ผลทำให้ทราบว่ามีคนก่อนประวัติศาสตร์ แต่สมัยหินเก่า สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่และยุคโลหะอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดราชบุรี รวมทั้งควบคุมดูแลการบูรณะโบราณสถานที่จังหวัดสุโขทัย นครเมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมืองกำแพงเพชร (พ.ศ. 2494-2512) ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และบริเวณเกาะใกล้เมือง เมื่อ พ.ศ. 2495-2504 กับดูแลการบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2517-2518 เป็นต้น ผลงานการขุดค้นต่าง ๆ มีผลต่อการส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี ที่มีผลต่อการศึกษาทางด้านสาขานี้มายุคต่อ ๆ มา
ประวัติ
แก้ชิน อยู่ดี เป็นบุตรของนายเชย และนางชอุ่ม อยู่ดี (สกุลเดิม:เอมะสุวรรณ) เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 ที่ตำบลวังไม้ขอน อำเภอเมืองสวรรคโลก จังหวัดสวรรคโลก (อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน)
ใน พ.ศ. 2496 เขาได้ค้นพบ ใบเสมา ซึ่งมีชื่อเรียกว่า จารึกเนินสระบัว โดยเป็นศิลาประเภทหินทรายสีเขียว พบที่จังหวัดปราจีนบุรี และเป็นจารึกทางพุทธศาสนาที่มีอายุตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 14 [1]
ผลงานทางวิชาการ
แก้- อดีต : รวมเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์. [กรุงเทพฯ]:ฝ่ายวิชาการนักศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2517.
- วัฒนธรรมบ้านเชียงในสมัยก่อนประวัติศาสตร์.นครหลวงฯ : กรมศิลปากร, 2515.
- สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย.พระนคร : การพิมพ์พระนคร, 2513.
- คนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย .[กรุงเทพฯ] : กรมศิลปากร, 2512.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้ชิน อยู่ดี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[2]
- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[3]
- พ.ศ. 2500 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ จารึกเนินสระบัว[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๓๙, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๖๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐ ง หน้า ๒๐๖, ๒๙ มกราคม ๒๕๐๖