ชาฮัง (ญี่ปุ่น: チャーハン/炒飯โรมาจิChāhan) เป็นข้าวผัดแบบญี่ปุ่น มีส่วนประกอบหลักคือข้าว ผัดเข้ากับส่วนผสมอื่น ๆ และทำให้สุกในกระทะ คาดว่าชาฮังเกิดขึ้นราวปี ค.ศ. 1860 จากชาวจีนอพยพที่เมืองท่าโคเบะ และพัฒนาจนกลายเป็นอาหารหลักภายในครัวเรือนญี่ปุ่น[1] และมีในรายการอาหารชนิดนี้ตามภัตตาคารญี่ปุ่นบางแห่งนอกประเทศ

ชาฮังของภัตตาคารแห่งหนึ่งในนะฮะ จังหวัดโอะกินะวะ
การผัดชาฮัง
ข้าวผัดกิมจิโปะด้วยไข่ดาวยางมะตูม

นอกจากนี้ยังมีการดัดแปลงชาฮังเข้ากับกิมจิ เรียกว่าข้าวผัดกิมจิ

ประวัติ แก้

คาดกันว่า ชาฮัง เกิดขึ้นโดยชาวจีนอพยพที่เข้ามาทำงานที่เมืองท่าโคเบะช่วงปี ค.ศ. 1860 ในภาษาจีนจะเรียกข้าวผัดนี้ว่า "เฉ่าฟั่น" (炒飯) ในภาษาญี่ปุ่นแม้จะใช้ตัวคันจิสะกดแบบเดียวกัน แต่จะอ่านออกเสียงเป็น "ชาฮัง"[2]

ส่วนประกอบและวิธีทำ แก้

ชาฮังมีวิธีการทำอย่างข้าวผัดแบบทั่ว ๆ ไป ที่ปรุงสุกด้วยการผัดในกระทะ[3][1][3] โดยมีข้าวเป็นส่วนส่วนประกอบหลัก และเพิ่มเติมส่วนประกอบอื่น ๆ ได้ตามชอบ จำพวกผักและเนื้อ เป็นต้นว่า กระเทียม, หัวหอม, เห็ดต่าง ๆ (โดยเฉพาะเห็ดหอม), เต้าหู้, เนื้อหมู, หมูสามชั้น หรืออาจผัดกับส่วนประกอบของอาหารทะเลก็ได้ อาทิ เนื้อปู, ไข่ปลา, แซลมอน, กุ้ง และปลาหมึก, ไข่คน, เนื้อบด, น้ำซุปหลัก (น้ำต้มเนื้อไก่) และอื่น ๆ[1][4][5][6][7][8] ข้าวที่ใช้สำหรับผัดนั้นต้องเป็นข้าวที่สุกและหรือเป็นข้าวที่เหลืออยู่[1][2] โดยใช้น้ำมันคาโนลา, น้ำมันงา และน้ำมันทานตะวันในการผัด[1][7] ปรุงรสด้วยซีอิ๊ว, ซอสหอยนางรม, น้ำมันงา, เกลือ, พริกไทย และเนื้อปลาโออบแห้งหรือหรือปลาทูน่าอบแห้ง[7][8] อาจใช้ใบชิโซะมาแต่งกลิ่น[9] และสาหร่ายทะเลมาตกแต่งก็ได้[9]

ควรตั้งกระทะให้ร้อนก่อนที่จะทำชาฮัง และควรใช้ข้าวที่ยังอุ่น ๆ อยู่ เพราะวิธีการทั้งสองนั้นจะมิทำให้ข้าวนั้นติดกระทะ[2] ส่วนข้าวที่จะลงไปผัดนั้นควรแห้งซึ่งทำได้ด้วยการแช่เย็นเสียก่อนเพื่อให้สะดวกต่อกระบวนการปรุงอาหาร[1][9]

ความหลากหลาย แก้

นอกจากนี้ยังมีการดัดแปลงชาฮังเข้ากับกิมจิอันเป็นส่วนประกอบหลัก เรียกว่าข้าวผัดกิมจิ มีรสชาติตั้งแต่รสอ่อนจนถึงรสจัด[3]

ต่างประเทศ แก้

ชาฮังมีอยู่ในรายการอาหารในภัตตาคารบางแห่งในประเทศฟิลิปปินส์และสหรัฐ[10][11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Samuels, D.; Robbins, H. (2013). My Japanese Table: A Lifetime of Cooking with Friends and Family. Tuttle Publishing. p. pt272–273. ISBN 978-1-4629-0638-3.
  2. 2.0 2.1 2.2 Ono, T.; Salat, H. (2013). Japanese Soul Cooking: Ramen, Tonkatsu, Tempura, and More from the Streets and Kitchens of Tokyo and Beyond. Potter/TenSpeed/Harmony. pp. 397–398. ISBN 978-1-60774-353-8.
  3. 3.0 3.1 3.2 Sakamoto, T.; Ltd, M.C.I.P. (2013). Cook Japanese with Tamako: Hearty Meals for the Whole Family. Marshall Cavendish International (Asia) Private Limited. pp. 32–33. ISBN 978-981-4516-87-7.
  4. Hachisu, N.S.; Miura, K. (2012). Japanese Farm Food. Andrews McMeel Publishing. p. 152. ISBN 978-1-4494-1829-8.
  5. Stallings, D.; Butler, S.E. (2011). Fodor's Japan. Fodor's Japan. Fodor's. p. 834. ISBN 978-0-307-48049-1.
  6. "IN PHOTOS: Niu by Vikings debuts 9 new dishes for a limited time". Rappler. October 17, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-16. สืบค้นเมื่อ April 25, 2016.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Receita de tako chahan: arroz frito com polvo e cogumelo shitake". Mundo-Nipo (ภาษาโปรตุเกส). September 14, 2015. สืบค้นเมื่อ April 25, 2016.
  8. 8.0 8.1 "Receita de ninniku chahan: arroz frito com alho, shissô e katsuobushi". Mundo-Nipo (ภาษาโปรตุเกส). July 15, 2015. สืบค้นเมื่อ April 25, 2016.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Garlic Fried Rice (Chahan)". The Washington Post. April 22, 2016. สืบค้นเมื่อ April 25, 2016.
  10. "Heaven in bowl of ramen". Sun.Star Cebu. April 8, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-21. สืบค้นเมื่อ April 25, 2016.
  11. "Plate Lab: Izakaya Seki's garlic fried rice is a bowl of late-night comfort". The Washington Post. December 18, 2014. สืบค้นเมื่อ April 25, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้