ชาดำ (จีน: 黒茶; พินอิน: hēi chá; เฮย์ฉา) เป็นชาจีนแบบหนึ่ง หมายถึงชาที่ทำโดยผ่านกรรมวิธีภายหลังการหมัก ด้วยชวี เป็นเวลานานกว่าหลายเดือน ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดได้แก่ ชาผูเอ่อร์ เป็นต้น

ชาผูเอ่อร์ที่นำมาทำเป็นชาอัดในรูปแบบต่าง ๆ
ผงชาผูเอ่อร์แบบซ่านฉา
ชาผูเอ่อร์

อนึ่ง ในภาษาทางตะวันตกมักเรียกชาดำด้วยคำที่แปลตรงตัวว่า "ชาหมัก" (เช่น fermented tea ในภาษาอังกฤษ) แต่จะใช้คำที่แปลตรงตัวว่า "ชาดำ" (เช่น black tea ในภาษาอังกฤษ) ในการเรียกชาแดง ดังนั้นระวังสับสน

ลักษณะเฉพาะ แก้

สีของใบชาของชาดำจะมีสีน้ำตาลถึงดำ และสีของน้ำที่ได้มักจะเป็นสีส้มเข้มหรือสีแดงเข้มคล้ายกับชาแดง หรือ ชาอูหลง[1] ในจำนวนนั้นยังมีชาฟางเปา (方包茶) ที่มีสีฟ้าอ่อนคล้ายกับชาเขียว และชาฮวาเจวี่ยน (花捲茶) ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปวงแหวนเมื่อสกัดออกมา กลิ่นหอมของชาดำจะเรียกว่า "เฉินเซียง" (陳香) โดยกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์นั้นถูกสร้างขึ้นระหว่างกระบวนการทำให้ตกตะกอน[1]

รสชาติของชาดำนั้นมีความโดดเด่นด้วยรสชาติกลมกล่อม มีความฝาดน้อยเมื่อเทียบกับชาชนิดอื่น ๆ เนื่องจากการลดลงของโพลีฟีนอลที่มีความขมและกรดอะมิโนที่มีรสอูมามิ เนื่องจากการเผาผลาญของจุลินทรีย์ในกระบวนการหมักและการเพิ่มขึ้นของน้ำตาลที่ละลายได้[1]

โดยทั่วไปแล้ว ชาจะมีมูลค่าสูงขึ้นเมื่อสดขึ้นและมียอดอ่อนมากขึ้น และเชื่อกันว่ามูลค่าจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่สำหรับชาดำซึ่งทำขึ้นจากการะบวนการหมักนั้นอาจใช้ใบชาที่สุกแล้ว โดยตัดพร้อมกับกิ่งแล้วนำมาผลิต[1] ความขมและความฝาดจะยิ่งหายไปเมื่อผลไม้ยิ่งสุก และรสชาติจะยิ่งเพิ่มขึ้น ทำให้ยิ่งเวลาผ่านไปนานจะยิ่งราคาสูงขึ้น[2]

ประเภทและสถานที่ผลิต แก้

โดยทั่วไปชาในจีนจะแบ่งออกเป็นหกประเภท ได้แก่ ชาฟ้า (ชาอูหลง), ชาเขียว, ชาขาว, ชาเหลือง, ชาดำ, และ ชาแดง ขึ้นอยู่กับวิธีการผลิต[3] ในจำนวนนั้น ชาดำและชาแดงเป็นชาหมัก แต่วิธีการหมักนั้นแตกต่างกัน รูปร่างของชาดำสามารถแบ่งออกอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น 2 ประเภท คือ ซ่านฉา (散茶) คือนำใบชามาทำเป็นผงทั้ง ๆ อย่างนั้นเลย และ จิ่นยาฉา (緊壓茶) หรือ ชาอัด คือใบชาที่ถูกบีบอัดให้แข็งเป็นก้อนก่อนนำไปหมัก[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Wenfei Guo, Yi Lu, Shaojun Luo, 坂田完三『微生物発酵茶 中国黒茶のすべて』 幸書房 2014 改訂第1刷 ISBN 978-4-7821-0378-4 pp.66-93.
  2. 2.0 2.1 Wenfei Guo, Yi Lu, Shaojun Luo, 坂田完三 (2003). "不思議な茶,"黒茶":食文化の視点から". 日本調理科学会誌. 日本調理科学会. 36 (4): 436–442. doi:10.11402/cookeryscience1995.36.4_436.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. 小柳, 田村 (2007) p.291
  4. 4.0 4.1 加藤 (1996) p.45
  5. 大石貞男著作集1 日本茶業発達史 農山漁村文化協会 2004.3 ISBN 4-540-03162-7 p.108
  6. 参勤交代と日本の文化 เก็บถาวร 2018-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนコンスタンティン・ノミコス・ヴァポリス(メリーランド大学準教授)日文研フォーラム、第169回pp.1 - 29, 2004-10, 国際日本文化研究センター
  7. 日本人と参勤交代 コンスタンチン ヴァポリス 柏書房 2010.6 ISBN 978-4-7601-3821-0 p.377