ชั้นไบวาลเวีย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคแคมเบรียน - ปัจจุบัน
ตัวอย่างของเปลือกหอยในชั้นไบวาลเวีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Bivalvia
Linnaeus, 1758
ชั้นย่อย
ชื่อพ้อง

ชั้นไบวาลเวีย (ชั้น: Bivalvia) เป็นมอลลัสคาชั้นหนึ่ง ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยวิวัฒนาการให้อาศัยอยู่ได้ทั้งในทะเลและน้ำจืด มีชื่อเรียกในภาษาสามัญว่า หอยฝาคู่ หรือ หอยสองฝา หรือ หอยเปลือกคู่ หรือ หอบกาบคู่

ความหมาย

แก้

ซึ่งคำว่า Bivalvia นั้น เป็นภาษาละติน มาจากคำว่า "bis" แปลว่า สอง สนธิกับคำว่า "valvae" ที่แปลว่า บานประตู

ลักษณะ

แก้

มีลักษณะทั่วไป คือ มีฝาสองข้างประกบเข้าด้วยกัน สามารถเปิดปิดได้ โดยมีโครงสร้างของจุดเชื่อมต่อคล้ายฟันสลักบานพับประตูที่ขั้วฝาทั้งสองที่ขบเกี่ยวกัน บางชนิดยึดติดเปลือกข้างหนึ่งไว้กับพื้นผิวที่แข็ง ใช้เหงือกกรองอาหารกินจากกระแสน้ำที่พัดผ่าน บางชนิดฝังตัวอยู่ใต้ทรายตลอดทั้งชีวิต โดยใช้เนื้อเท้าที่มีรูปร่างคล้ายใบขวานขุดแซะ เพื่อแทรกตัวลงไปใต้พื้นทราย โดยมีท่อน้ำดูดน้ำเข้าออกกรองอาหารกิน บางชนิดฝังตัวใต้ซากไม้ที่ผุพัง และบางชนิดก็ซุ่มซ่อนตัวเพื่อล่าเหยื่อ ขณะที่บางกลุ่มสามารถเปิดฝาปิดนี้อ้าและหุบเป็นจังหวะ เพื่อพ่นขับแรงดันน้ำจนเสมือนกับว่าได้ว่ายน้ำได้

ซึ่งมอลลัสคาที่อยู่ในชั้นนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ หอยนางรม, หอยแมลงภู่, หอยลาย, หอยมือเสือ, หอยคราง, หอยหลอด, หอยตลับ เป็นต้น ซึ่งแบ่งออกเป็นชั้นย่อยได้อีก 6 ชั้น (ดูในตาราง)

ปัจจุบันพบแล้วกว่า 30,000 ชนิด[2]

อ้างอิง

แก้
  1. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  2. คอลัมน์ Aqua Pets โดย จอม ปัทมคันธิน หน้า 100-108 นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 7 ปีที่ 1 ประจำเดือนมกราคม 2011

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้