หอยคราง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Bivalvia
ชั้นย่อย: Metabranchia
อันดับ: Pteriomorpha
วงศ์: Arcidae
สกุล: Anadara
สปีชีส์: A.  inaequivalvis
ชื่อทวินาม
Anadara inaequivalvis
(Bruguière, 1789)
ชื่อพ้อง[1]
  • Arca binakayanensis Faustino, 1932
  • Arca inaequivalvis Bruguière, 1789
  • Scapharca inaequivalvis (Bruguière, 1789)

หอยคราง หรือ หอยแครงขน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Anadara inaequivalvis)[1] เป็นหอยเปลือกคู่

ข้อมูล

แก้

หอยครางเป็นหอยในวงศ์ Arcidae มีลักษณะคล้ายหอยแครง แต่มีขนาดใหญ่กว่า[2]

  • ขอบเปลือกมีลักษณะเป็นรอยหยักเหมือนฟันปลา เปลือกมีสีต่าง ๆ เช่น สีขาว, สีชมพู, สีเขียว
  • จุดเด่นคือมีเส้นขนอยู่บนเปลือกด้านนอกทั่วทั้งเปลือก จนได้รับชื่อเรียกอีกชื่อว่า "หอยขน"
  • เปลือกของหอยครางมีลักษณะคล้ายหอยแครง จัดเป็นหอยจำพวกหอยแครง 5 ชนิด ที่พบได้ในน่านน้ำไทย
  • เปลือกหอยครางมีขนาดประมาณ 1.5–2 นิ้ว และเปลือกทั้ง 2 ข้างมีขนาดเล็ก–ใหญ่ไม่เท่ากัน
  • กินอาหารด้วยการกรองแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ รวมถึงซากพืชและซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย
  • เป็นหอยที่มีเพศแยกและมีสองเพศในตัวเดียวกัน เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อก่อนเพื่อกระตุ้นให้ตัวเมียปล่อยไข่แล้วผสมพันธุ์กันภายนอกตัว[3]

ถิ่นที่อยู่อาศัย

แก้

หอยคราง(หอยขลุ่ย)อาศัยตามแนวปะการังค่อนข้างลึกประมาณ 5–6 เมตร ซึ่งไม่เหมือนกับหอยแครงที่อาศัยอยู่ตามดินโคลน ซึ่งบางครั้งจะพบทรายหรือทรายปนโคลนปะปนอยู่ในเปลือกหอยด้านในด้วย พบในแถบจังหวัดตราด,เพชรบุรี, ภูเก็ต, สงขลา เป็นต้น[4]

วิธีการจับ

แก้

โดยมากแล้วชาวบ้านมักจะจับหอยครางได้ในช่วงก่อนวันเข้าพรรษา ซึ่งเป็นเวลาที่น้ำทะเลแห้ง จนกระทั่งหาดเลนที่หอยอาศัยอยู่มันโผล่ขึ้นมาหรือมีระดับน้ำปริ่ม ปัจจุบันยังไม่มีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์หอยครางอย่างจริงจังเหมือนหอยชนิดอื่นที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจ หอยครางจึงเป็นหอยที่นิยมบริโภคกันเฉพาะในท้องถิ่น ซึ่งเนื้อของหอยครางจะเหนียวกว่าหอยแครง นิยมนำไปลวกเหมือนหอยแครง [5] ราคาขายจะถูกกว่าหอยแครง หรือคัดเฉพาะเนื้อแล้วตัดเป็นชิ้น ๆ ขายปะปนกับเนื้อหอยแครง ปัจจุบันยังไม่มีการเพาะเลี้ยง หอยครางที่มีขายมาจากการจับจากแหล่งธรรมชาติ[3]

นิรุกติศาสตร์เปรียบเทียบ

แก้

สันนิษฐานว่าคำว่า "แครง" หรือ "คราง" นั้นมาจากภาษาชวามลายู ที่เรียกหอยจำพวกหอยแครงและหอยครางว่า "เกอรัง" หรือ "กรัง" (kerang, krang) จึงเพี้ยนเป็นแครงกับครางในที่สุด[6]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 WoRMS taxon details (อังกฤษ)
  2. "ความหมายของคำว่า แครง". พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.
  3. 3.0 3.1 หน้า 22 เกษตร, หอยคราง. "เรื่องน่ารู้". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,827: วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ปีระกา
  4. "หอยคราง และหอยแครง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-18. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16.
  5. 'หอยคราง' หอยที่บริโภคเฉพาะถิ่น
  6. หน้า 108, แฟนหอยพันธุ์แท้ โดย จอม ปัทมคันธิน (นนทบุรี, 2555) ISBN 978-616904682-0