ชัชนาถ เทพธรานนท์

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ชัชนาถ เทพธรานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย อดีตผู้เชี่ยวชาญสาขาเคมีอินทรีย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตรองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สมรสกับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ มีบุตรชาย 2 คน คือ นายศรวัส และนายอิทธิ เทพธรานนท์

ประวัติ

แก้

การศึกษา

แก้
  • พ.ศ. 2493-2499 - โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (ประถมศึกษาปีที่ 4)
  • พ.ศ. 2499-2502 - โรงเรียนโลเรตโต้คอนแวนต์ ดาร์จีลิ่ง ประเทศอินเดีย (เกรด 6)
  • พ.ศ. 2503-2507 - โรงเรียนเซนต์แบรนดอน ประเทศอังกฤษ (GCE O Level และ GCE A Level)
  • พ.ศ. 2508-2510 - วิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (ปัจจุบันคือคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
  • พ.ศ. 2511-2515 - ดุษฎีบัณฑิต (เคมีอินทรีย์) มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ (ได้รับทุนแผนโคลัมโบ)
  • พ.ศ. 2518-2519 - Post-doctoral Training มหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา (ได้รับทุนปิโตรเลียมรีเสิซ)

ประวัติการทำงาน

แก้

ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรอื่น ๆ

แก้
งานอุทยานวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน - President, The International Association of Science Parks (IASP)
  • พ.ศ. 2547-2549 - Vice President, The International Association of Science Parks (IASP)
  • พ.ศ. 2546-2549 - President, Asia Pacific Division of the International Association of Science Parks (IASP)
  • พ.ศ. 2543-2545 - Consulting Director ของ the International Board of the International Association of Science Parks (IASP)
  • พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน - คณะกรรมการอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน - คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาระบบบ่มเพาะวิสาหกิจ (incubator) ในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน - คณะทำงานศึกษาแนวทางการพัฒนาเขตอุตสาหกรรม Science and Technology Industrial Park สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
  • พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน - คณะกรรมการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน - คณะกรรมการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
งานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน - คณะอนุกรรมการประเด็นทางการค้า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน - คณะอนุกรมการพัฒนาอุตสาหกรรมนวัตกรรม (ในคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ภาคอุตสาหกรรม) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
  • พ.ศ. 2543-2545 - Scientific Committee of The International Center for Science and High Technology (ICS) ของ United Nations Industrial Development Organization (UNIDO)
  • พ.ศ. 2542-2544 - คณะกรรมการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  • พ.ศ. 2541-2543 - คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงอุตสาหกรรม
  • พ.ศ. 2538-2540 - คณะกรรมการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม หอการค้าไทย
งานสนับสนุนภาคเอกชนด้านการเงินและสิทธิประโยชน์
  • พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน - คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
  • พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน - คณะอนุกรรมการสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
  • พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน - คณะกรรมการพิจารณารายจ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน กรมสรรพากร
  • พ.ศ. 2540-2544 - คณะกรรมการกองทุนหมุนเวียนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
งานมหาวิทยาลัย

ผลงานดีเด่นที่สำคัญ

แก้

ผลงานด้านการวิจัย

แก้

ศ.เกียรติคุณ ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ เป็นผู้เชี่ยวชาญการวิจัยตัวยาจากสมุนไพรไทย การวิจัยวิธีการสังเคราะห์ใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้สังเคราะห์สารที่เป็นตัวยาและสารที่มีประโยชน์อื่นๆ การวิจัยปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์ เพื่อศึกษากลไกการเกิดปฏิกิริยาและเพื่อพัฒนาปฏิกิริยาไปใช้ประโยชน์ในเชิงสังเคราะห์ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2511-2538 จำนวน 40 เรื่อง แต่งหนังสือตำราเคมี 4 เล่ม เป็นตำราภาษาไทย 2 เล่ม และตำราภาษาอังกฤษ 2 เล่ม ผลงานเด่นที่เป็นที่ยอมรับในแวดวงเคมี คือ หนังสือของสำนักพิมพ์ CRC Press ชื่อ Cyclization Reactions พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1994 ความยาว 370 หน้า [1] ซึ่งได้ลางาน (Sabbatical) เป็นเวลา 1 ปี เพื่อเขียนหนังสือเล่มนี้ ร่วมกับ ศ.ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์ เป็นหนังสือที่ได้รับ review ที่ดีมาก นับเป็นเกียรติประวัติของนักวิจัยไทยที่ได้รับเชิญให้เขียนหนังสือในระดับ “New Directions” Series ของวงการหนังสือวิชาการแนวหน้าของโลก

ผลงานด้านการบุกเบิกอุทยานวิทยาศาสตร์

แก้

ก่อตั้งและพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก นำไปสู่การได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมอุทยานวิทยาศาสตร์นานาชาติ (International Association of Science Parks, IASP) ในการประชุมประจำปี ณ เมือง Helsinki เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 ซึ่งสมาคมประกอบด้วยสมาชิกกว่า 330 ราย จาก 67 ประเทศ นับเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ในเอเชียแห่งแรกที่ได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคม และเป็นประธานสตรีคนแรกของสมาคมด้วย นับเป็นความภาคภูมิใจของภูมิภาค ประเทศไทย และสตรีไทย

ผลงานด้านการบุกเบิก SME ในอุตสาหกรรมไทย

แก้

ก่อตั้งและพัฒนาโครงการ ITAP (Industrial Technology Assistance Program) ตาม model ของประเทศแคนาดา โดยมุ่งพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางให้สามารถแข่งขันได้ และส่งเสริมให้ก้าวขึ้นสู่การทำวิจัยและพัฒนา ในช่วงเริ่มต้นดำเนินโครงการ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว การนำผู้เชี่ยวชาญเข้าไปแก้ปัญหาเทคโนโลยีให้โรงงานต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศกว่า 80% แต่ปัจจุบันใช้ผู้เชี่ยวชาญชาวไทย ซึ่งส่วนมากเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ผลงานได้ให้ความช่วยเหลือไปกว่า 1,000 บริษัท ได้รับผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับในวงการอุตสาหกรรม

ศ.เกียรติคุณ ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ มีปณิธานที่ยึดถือในการทำงานและการดำรงชีวิต 4 ประการ คือ

  1. Excellence (ทำอะไร ทำให้ดีที่สุด)
  2. จิตว่าง
  3. Enjoy งาน, enjoy life
  4. รักษาความสะอาด (มือสะอาด, ใจสะอาด)

เกียรติคุณและรางวัล

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Cyclization Reactions (New Directions in Organic and Biological Chemistry series), C. Thebtaranonth, Y. Thebtaranonth, CRC Press, 1994.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๙, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้