ชาวแวนดัล

(เปลี่ยนทางจาก ชนแวนดัล)

แวนดัล (อังกฤษ: Vandals) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์เจอร์แมนิกตะวันออกที่เข้ามามีบทบาทในตอนปลายสมัยจักรวรรดิโรมัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 กษัตริย์ชาวกอทพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชพระเจ้าแผ่นดินของชาวออสโตรกอทและผู้สำเร็จราชการของชาววิซิกอทเป็นพันธมิตรของแวนดัลโดยการสมรส และเป็นพันธมิตรกับเบอร์กันดีและแฟรงก์ภายใต้การปกครองของโคลวิสที่ 1

การโจมตีกรุงโรม โดยไฮน์ริช ลอยเตอมันน์ ราว ค.ศ. 1860–ค.ศ. 1880
กลุ่มชนเจอร์แมนิกในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 1 แวนดัล/ลูกีอี สีเขียวในบริเวณโปแลนด์ปัจจุบัน

แวนดัลอาจจะมีชื่อเสียงจากการโจมตีกรุงโรม (Sack of Rome) ในปี ค.ศ. 455 แม้ว่าการทำลายจะไม่มากไปการทำลายเมืองอื่นที่เกิดขึ้น แต่วัฒนธรรมยุโรปนำการทำลายของชาวแวนดัลไปเชื่อมโยงกับการทำลายอย่างรุนแรงไม่สมเหตุสมผล ในคำว่า "Vandalism" ที่ยังคงใช้อยู่จนทุกวันนี้

ที่มา

แก้

นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าแวนดัลมีความเกี่ยวข้องกับอารยธรรมปแชวอสก์ (Przeworsk culture) และอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มอื่นที่อาจจะเป็น กลุ่มผสมระหว่างสลาฟ กับเจอร์แมนิก[1] ลูกีอี (Lugii) ที่นักเขียนโรมันกล่าวว่าตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเดียวกัน นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าลูกีอีอาจจะเป็นชื่อเดิมของแวนดัล หรือแวนดัลอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์ลีกูเรียที่ประกอบด้วยชนเจอร์แมนิกและชนสลาฟ นักประวัติศาสตร์โรมันจอร์เดนส์ (Jordanes) กล่าวว่าแวนดัลเป็นกลุ่มชนที่พูดภาษากอทิก และการศึกษาศัพท์มูลวิทยาสนับสนุนความคิดที่ว่าภาษาแวนดัลมีความเกี่ยวข้องกับภาษากอทิก ผู้ที่เป็นเจ้าของอารยธรรมปแชวอสก์ (อาจจะเป็นลูกีอี) มีประเพณีการเผาศพ[1] ประเพณีการเผาศพเป็นประเพณีของชนกลุ่มปรัสเซียบอลติก แต่ชนปรัสเซียใช้ทั้งการเผาศพและการฝังศพ เมื่อโรมันกล่าวถึงลูกีอีซึ่งอาจจะเป็นอารยธรรมปแชวอสก์ที่สืบไปได้ถึงบริเวณที่เป็นที่ลุ่ม

จากการศึกษาที่มาของชื่อทางภูมิศาสตร์ทำให้เชื่อว่าแวนดัลอาจจะมาจากนอร์เวย์ ("Hallingdal"), สวีเดน ("Vendel") หรือ เดนมาร์ก ("Vendsyssel") และสรุปกันว่าแวนดัลข้ามทะเลบอลติกไปยังบริเวณที่เป็นโปแลนด์ปัจจุบันราวสองร้อยปีก่อนคริสต์ศตวรรษ และไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในไซลีเชียตั้งแต่ราว 120 ก่อนคริสต์ศตวรรษ และตามทฤษฎีนี้แวนดัลก็มีความเกี่ยวข้องกับอารยธรรมปแชวอสก์ เพราะอารยธรรมวีลบาร์คของกอทดูเหมือนจะมาแทนสาขาหนึ่งของอารยธรรมปแชวอสก์

นักประพันธ์ยุคกลางใช้คำว่า "แวนดัล" ในการกล่าวถึงกลุ่มชนสลาฟบางกลุ่มที่รวมทั้งเวนด์, ซอร์บ หรือโพล[2][3][4]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Mallory & Adams "Encyclopedia of Indo-European Culture
  2. Annales Alamannici, 795 ad
  3. Gesta Hammaburgensis ecclesiae pontificum by Adam of Bremen 1075 ad
  4. Roland Steinacher under Reiner Protsch"Studien zur vandalischen Geschichte. Die Gleichsetzung der Ethnonyme Wenden, Slawen und Vandalen vom Mittelalter bis ins 18. Jahrhundert เก็บถาวร 2007-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", 2002