ฉบับร่าง:ลมหายใจเฮือกสุดท้ายของสามย่าน

  • ความคิดเห็น: ไม่น่าผ่าน วิกิพีเดีย:โครงการวิกิภาพยนตร์ หนังฉายวงจำกัด / ปรากฏแต่ใช้อ้างอิงในแง่คำวิจารณ์ ซึ่งใช้พิจารณาความโดดเด่นไม่ได้ บางคำวิจารณ์มาจากทวิตเตอร์ Sry85 (คุย) 15:31, 31 สิงหาคม 2566 (+07)
  • ความคิดเห็น: ผ่าน วิกิพีเดีย:โครงการวิกิภาพยนตร์ เห็นตรงข้าม สารคดีพูดถึงประเด็นสาธารณะที่รู้จักและถูกถกเถียงกว้างขวางในสังคม รวมถึงมีบุคคลสาธารณะปรากฏอยู่จำนวนมาก และได้รับการฉายในประเทศและต่างประเทศ Tanast3452 (คุย) 15:43, 31 สิงหาคม 2566 (+07)

ลมหายใจเฮือกสุดท้ายของสามย่าน
กำกับเปรมปพัทธ ผลิตพลการพิมพ์
อำนวยการสร้างเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล และเสฏฐนันท์ ธนกิจโกเศรษฐ์
วันฉาย15 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ความยาว75 นาที
ประเทศไทย ไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจาก IMDb

ลมหายใจเฮือกสุดท้ายของสามย่าน (อังกฤษ: The Last Breath of Sam Yan) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวสารคดี กำกับโดยเปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ ผลิตโดย เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล และเสฏฐนันท์ ธนกิจโกเศรษฐ์ ว่าด้วยประเด็นความขัดแย้งระหว่างศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะสำนักงานทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดฉายเป็นการทั่วไปตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 [1] รอบฉายปฐมทัศน์ที่โรงภาพยนตร์เฮาส์ สามย่านมิตรทาวน์

ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวของกลุ่มนิสิตที่คัดค้านการรื้อถอนศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง มีบทสัมภาษณ์ของผู้ดูแลศาล นักวิชาการ เช่น สุลักษณ์ ศิวรักษ์, วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ [en] และ พรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ และนักการเมือง เช่น ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และรสนา โตสิตระกูล เป็นต้น รวมถึงแผนพัฒนาโครงการ สมาร์ทซิตี้ ของ บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรื่องย่อ แก้

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีคำสั่งให้ย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลืองออกจากพื้นที่ เพื่อก่อสร้างตึกสูงแทน รวมทั้งฟ้องเรียกค่าเสียหาย 4.6 พันล้านบาทผู้ดูแลศาล นำไปสู่ แฮชแท็ก #saveศาลเจ้าแม่ทับทิม และการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องลมหายใจสุดท้ายของพื้นที่ทางประวัติศาสตร์โดยผู้คนในละแวกและนิสิตนักศึกษา

การฉาย แก้

  • ฉายรอบปฐมทัศน์ ณ โรงภาพยนตร์เฮาส์ สามย่านมิตรทาวน์ วันที่ 13 มิถุนายน 2566
  • ฉายเชิงพาณิชย์รอบทั่วไป ณ โรงภาพยนตร์เฮาส์ สามย่านมิตรทาวน์ และ Doc Club and Pub. ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2566
  • ฉายรอบพิเศษ ณ สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (The Foreign Correspondents' Club of Thailand: FCCThai) วันที่ 29 มิถุนายน 2566
  • ฉายรอบพิเศษ ณ จังหวัดสงขลา, จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดนครราชสีมา
  • ได้รับเลือกให้ฉายอย่างเป็นทางการ (Official Selection) ในเทศกาล Student World Impact Film Festival 2023 ประเทศสหรัฐอเมริกา และเทศกาล Jagran Film Festival 2023 ประเทศอินเดีย

บทวิจารณ์ แก้

ศาสตราจารย์ ชาตรี ประกิตนนทการ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขียนถึงภาพยนตร์สารคดีในมติชนว่า เรื่องนี้ว่าสะท้อนปรากฏการณ์ที่นับวันจะหนักหน่วงรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมไทย โดยเฉพาะในย่านที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงมาก[2] กษาปณ์ หาญดิฐกุล เขียนใน The Standard ว่าเป็น "บันทึกความคับแค้นของคนตัวเล็ก เมื่อการทำหนังคือการเรียกร้องความเป็นธรรม" [3] ส่วนนักวิจารณ์ภาพยนตร์ ศาสวัต บุญศรี อาจารย์ประจำคณะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรมองว่าเป็น "สารคดีที่ควรถูกฉายในงานปฐมนิเทศให้นิสิตจุฬาทุกคนได้ดูว่ามหาวิทยาลัยอันเป็นที่รักของท่านทำอะไรไว้บ้าง ความภูมิใจในฐานะเสาหลักของแผ่นดินโดยแท้" ในส่วนคำวิจารณืจากต่างประเทศ ศาสตราจารย์ไมเคิล เฮิร์ซเฟล นักวิชาการด้านมานุษวิทยา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเขียนว่า "สารคดีจับภาพมหาวิทยาลัยที่ขับเคลื่อนด้วยผลกำไรมีส่วนลบเลือนประวัติศาสตร์ผ่านการทำลายวัฒนธรรมได้อย่างไร สารคดียังพูดถึงความมุ่งมั่นของนิสิตนักศึกษาเพื่อต่อสู้ให้ได้ความยุติธรรม เผยการต่อสู้ระดับโลกต่อต้านการพัฒนาเมืองที่ให้ผลร้าย" [4]

อ้างอิง แก้