จุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์

(เปลี่ยนทางจาก จุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฎ์)

จุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์ (เกิด 16 เมษายน พ.ศ. 2515) อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ อดีตรองผู้อำนวยการพรรค และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพังงา 2 สมัย

จุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 เมษายน พ.ศ. 2515 (52 ปี)
อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2542–ปัจจุบัน)

ประวัติ

แก้

จุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์ เกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2515 ที่ตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เป็นบุตรของวีระกับละเอียด ลักษณวิศิษฎ์ และเป็นน้องชายของจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร [2]

งานการเมือง

แก้

จุฤทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก แต่ในครั้งต่อมา (พ.ศ. 2548) ไม่ได้รับเลือกตั้ง และกลับมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2550

ใน พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 46 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคได้รับเลือกตั้งแค่ 44 คน ต่อมา ปัญญวัฒน์ บุญมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลำดับที่ 26 ได้เสียชีวิตลง จึงได้รับเลื่อนขึ้นมาเป็นแทน

ในปี 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 47[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

จุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดพังงา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดพังงา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (เลื่อนแทน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. "ประวัติ สภาผู้แทนราษฎรไทยชุดที่ 23". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-05-11.
  3. เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑