จักระ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
จักระ (อังกฤษ: Chakra, Cakra, Cakka) เป็นศูนย์รวมกายทิพย์ (subtle body) ที่เชื่อว่ามีพลังทางจิตในประเพณีลึกลับของศาสนาแบบอินเดีย[2][3][4]
ความคิดมักพบในประเพณีแบบตันตระของศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน จักระถูกมองว่าเป็นจุดรวมพลังงาน การทำงานของร่างกาย หรือจุดต่อทางจิตของกายทิพย์ ทฤษฎีจักระเป็นส่วนหนึ่งของระบบกุณฑลินี (Kundalini)[5] ทฤษฎีเหล่านี้ต่างกันไปตามแต่ละศาสนา เอกสารของศาสนาพุทธกล่าวถึงจักระทั้ง 4 ส่วนศาสนาฮินดูกล่าวถึงจักระทั้ง 7[2][3] โดยเชื่อว่าจักระเป็นส่วนหนึ่งของกายทิพย์ ไม่ใช่ร่างกาย และเชื่อมต่อโดยช่องทางพลังงานเรียกว่านาดิ (Nadi)[6][3] ส่วนนึงในโยคะแบบกุณฑลินีมีการฝึกรวบรวมพลังงานผ่านจักระ[5][7]
การกระตุ้นจักระภายในร่างกายของมนุษย์
แก้จักระคือศูนย์รวมของพลังงานภายในร่างกายของมนุษย์[8]ซึ่งเป็นศูนย์พลังอันละเอียดอ่อนที่โดยทั่วไปจะไม่สามารถสัมผัสได้ มนุษย์จะมีจักระจำนวนมากมายอยู่ภายในร่างกาย โยคีเชื่อว่าจักระที่สำคัญของมนุษย์เรานั้นมีอยู่ด้วยกัน 7 ตำแหน่ง จักระในแต่ละตำแหน่งจะดูแลและควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายของคนเราให้ทำงานเป็นปกติ
จักระแต่ละแห่งมีลักษณะคล้ายจักรที่หมุนในลักษณะตามเข็มนาฬิกาอยู่ตลอดเวลาและหมุนด้วยความถี่ที่แตกต่างกันไป ความถี่ในการหมุนของจักระแต่ละแห่งจะมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับระบบการทำงานของอวัยวะที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งความถี่ในการหมุนของจักระนอกจากจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพของมนุษย์ได้แล้วยังสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจของมนุษย์อีกด้วย เช่น การปล่อยให้เกิดอารมณ์ที่มีกิเลสตัณหา จะส่งผลให้จักระเกิดความไม่สมดุลได้
จักระในวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้จักระ เป็นพลังที่เกิดจากการผสมผสานของพลังทางร่างกายและพลังทางจิต ที่ปรากฏในเรื่องนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ จักระเป็นพลังที่ใช้สำหรับวิชานินจาต่าง ๆ ในบางครั้งจะเห็นมีใช้มือทำท่าทางต่าง ๆ จักระมีหลายชนิดได้แก่ จักระธรรมดา (จักระพื้นฐาน) สำหรับวิชาทั่วไป จักระร่างแฝง จักระของปีศาจจิ้งจอกเก้าหาง จักระในการรักษาโรคที่ซึนาเดะและชิซึเนะใช้ในการรักษาพยาบาล รวมถึงจักระของลี
จักระเป็นพลังที่ปรากฏในเนื้อเรื่องแสดงให้เห็นถึงความสามารถพิเศษของตัวละครนินจาเหนือคนธรรมดาทั่วไป เหมือนกับ "เน็น" ในเรื่องฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ "คิ" ในดราก้อนบอล หรือ MP ในเกมต่าง ๆ
ในเซนต์เซย่า ภาคเจ้าสมุทรโปเซดอน ดราก้อน ชิริว ได้ระเบิดพลังคอสโมเพื่อที่จะมองเห็นจักระในร่างกายของ คริสซาออร์ กฤษณะ ขุนพลมารีนเนอร์ผู้รักษาเสาค้ำมหาสมุทรอินเดีย
อ้างอิง
แก้- ↑ Sapta Chakra, The British Library, MS 24099
- ↑ 2.0 2.1 Chakra: Religion, Encyclopaedia Britannica
- ↑ 3.0 3.1 3.2 John A. Grimes (1996). A Concise Dictionary of Indian Philosophy: Sanskrit Terms Defined in English. State University of New York Press. pp. 100–101. ISBN 978-0-7914-3067-5.
- ↑ James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M. The Rosen Publishing Group. p. 137. ISBN 978-0-8239-3179-8.
- ↑ 5.0 5.1 Constance Jones; James D. Ryan (2006). Encyclopedia of Hinduism. Infobase Publishing. p. 102. ISBN 978-0-8160-7564-5.
- ↑ Wendy., Doniger,; inc., Encyclopaedia Britannica, (2006-01-01). Britannica encyclopedia of world religions. Encyclopaedia Britannica, Inc. ISBN 9781593394912. OCLC 319493641.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ Robert Beer (2003). The Handbook of Tibetan Buddhist Symbols. Serindia Publications, Inc. pp. 242–243. ISBN 978-1-932476-03-3.
- ↑ บูรพา ผดุงไทย, กินอย่างฤๅษีล้างพิษพิชิตโรค,หจก. ส เจริญการพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๕๐, หน้า ๗๖