กิเลส (บาลี: กิเลส; สันสกฤต: क्लेश เกฺลศ) หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง[1]

วจนัตถะแก้ไข

กิเลเสนฺติ อุปตาเปนฺตีติ = กิเลสา แปลว่า ธรรมชาติใดย่อมทำให้เร่าร้อน เศร้าหมอง ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กิเลส

กิลิสฺสติ เอเตหีติ = กิเลสา แปลว่า สัมปยุตธรรม คือ จิต เจตสิก ย่อมเศร้าหมอง เร่าร้อน ด้วยธรรมชาติใด ฉะนั้นธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองเร่าร้อนของสัมปยุตนั้น จึงชื่อว่า กิเลส

กิเลสวัตถุแก้ไข

ในวิภังคปกรณ์ระบุว่า กิเลสวัตถุ 10 ได้แก่[2]

  1. โลภะ ความอยากได้
  2. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
  3. โมหะ ความหลง
  4. มานะ ความถือตัว
  5. ทิฏฐิ ความเห็นผิด
  6. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
  7. ถีนะ ความหดหู่
  8. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
  9. อหิริกะ ความไม่ละอายบาป
  10. อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวบาป

อ้างอิงแก้ไข

  1. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), กิเลส 10, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
  2. ทสกนิเทศ, พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์