อนุสัย 7 คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน เหมือนตะกอนนอนอยุ่ที่ก้นภาชนะ ตะกอนจะฟุ้งขึ้นมาทำน้ำให้ขุ่นเพราะมีคนไปกระทบหรือกวนภาชนะฉันใด อนุสัยกิเลสก็เช่นเดียวกัน จะฟุ้งขึ้นมาทำจิตให้ขุ่นมัว ต่อเมื่อมีอารมณ์ภายนอกมากระทบเช่นเดียวกันฉันนั้น[1]

อนุสัย 7 เป็นกิเลสที่มีความละเอียดที่สุด สามารถกำจัดได้ด้วยปัญญาเท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกิเลสที่มีในสังโยชน์ อนุสัย 7 นี้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังโยชน์ 7 ประกอบด้วย

  • ทิฏฐิ การหลงในความเห็น (สักกายทิฏฐิและสีลัพพัตตปรามาส)
  • วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
  • ปฏิฆะ ความไม่ยินดีพอใจ
  • ราคะ ความยินดีพอใจในกาม (กามราคะ)
  • ภวราคะ ความยินดีพอใจในภพ ทั้งภพที่ไม่สงบ (อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน) และภพที่สงบคือ รูปราคะและอรูปราคะ
  • มานะ ความสำคัญว่าดีกว่า เสมอกัน เลวกว่า ในสิ่งทั้งปวง
  • อวิชชา ความไม่รู้จริง

การถอนอนุสัย

แก้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย[2]

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.kanlayanatam.com/sara/sara46.htm
  2. พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ 19 หน้าที่ 342 ข้อที่ 1408
  • หนังสือเรียนนักธรรมชั้นโท
  • พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖