มานะ 9 หมายถึง ความยึดถืออันเกิดจากการปรุงแต่ง คือ ราคะ การให้ค่าตีราคาว่าสิ่งต่าง ๆ หยาบ ประณีต ทั้งที่สิ่งทั้งปวงเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา) ดับไปได้ด้วยการมองทุกสรรพสิ่งเป็นดุจความว่าง (สุญญตา) การสิ้นไปของมานะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิราคะ

ประเภท

แก้
  • สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น
  • สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น
  • สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น
  • สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น
  • สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น
  • สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น
  • สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เลิศกว่าสิ่งนั้น
  • สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้เสมอสิ่งนั้น
  • สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น สำคัญว่า สิ่งนี้ด้อยกว่าสิ่งนั้น

อีกประการหนึ่ง ได้แก่

  • ถือว่าเราดีกว่าเขา
  • ถือว่าเราเสมอเขา
  • ถือว่าเราเลวกว่าเขา

เป็นกิเลสชั้นละเอียด กล่าวคือ เป็นทั้งอนุสัยกิเลส และ สังโยชน์ 10

การกำหนดรู้มานะ

แก้

สามารถกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา 3 คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา[1]

  • ญาตปริญญา นรชนย่อมรู้จักมานะ คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่าเป็นมานะ 10 อย่าง
  • ตีรณปริญญา นรชนรู้อย่างนี้แล้วย่อมพิจารณามานะโดยความเป็นของไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ โดยอุบายเป็นเครื่องสลัดทุกข์
  • ปหานปริญญา นรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งมานะ

มานะลักษณะต่าง ๆ

แก้
  • มานะอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความฟูขึ้นแห่งจิต
  • มานะ 2 อย่าง ได้แก่
    • มานะในความยกตน
    • มานะในความข่มผู้อื่น
  • มานะ 3 อย่าง ได้แก่
    • มานะว่าเราดีกว่าเขา
    • มานะว่าเราเสมอเขา
    • มานะว่าเราเลวกว่าเขา
  • มานะ 4 อย่าง ได้แก่
    • บุคคลให้มานะเกิดเพราะลาภ
    • บุคคลให้มานะเกิดเพราะยศ
    • บุคคลให้มานะเกิดเพราะสรรเสริญ
    • บุคคลให้มานะเกิดเพราะสุข
  • มานะ 5 อย่าง ได้แก่
    • บุคคลให้มานะเกิดว่าเราได้รูปที่ชอบใจ
    • บุคคลให้มานะเกิดว่าเราได้เสียงที่ชอบใจ
    • บุคคลให้มานะเกิดว่าได้กลิ่นที่ชอบใจ
    • บุคคลให้มานะเกิดว่าได้รสที่ชอบใจ
    • บุคคลให้มานะเกิดว่าได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ
  • มานะ 6 อย่าง ได้แก่
    • บุคคลให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจักษุ
    • บุคคลให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งหู
    • บุคคลให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจมูก
    • บุคคลให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งลิ้น
    • บุคคลให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งกาย
    • บุคคลให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งใจ
  • มานะ 7 อย่าง ได้แก่
    • ความถือตัว
    • ความดูหมิ่น
    • ความถือตัวและความดูหมิ่น
    • ความถือตัวต่ำ
    • ความถือตัวสูง
    • ความถือตัวว่าเรามั่งมี
    • ความถือตัวผิด
  • มานะ 8 อย่าง ได้แก่
    • บุคคลให้ความถือตัวเกิดเพราะลาภ
    • บุคคลให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมลาภ
    • บุคคลให้ความถือตัวเกิดเพราะยศ
    • บุคคลให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมยศ
    • บุคคลให้ความถือตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ
    • บุคคลให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความนินทา
    • บุคคลให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข
    • บุคคลให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะทุกข์
  • มานะ 9 อย่าง ได้แก่
    • เราดีกว่าคนที่ดี
    • เราเสมอกับคนที่ดี
    • เราเลวกว่าคนที่ดี
    • เราดีกว่าผู้เสมอกัน
    • เราเสมอกับผู้เสมอกัน
    • เราเสมอกับผู้เลว
    • เราดีกว่าผู้เลว
    • เราเสมอกับผู้เลว
    • เราเลวกว่าผู้เลว
  • มานะ 10 อย่าง ได้แก่

บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ความถือตัวเกิดขึ้น

    • เพราะกำเนิดบ้าง เพราะโคตรบ้าง เพราะความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง[2]
    • เพราะความเป็นผู้มีผิวพรรณงามบ้าง
    • เพราะทรัพย์บ้าง
    • เพราะความเชื้อเชิญบ้าง
    • เพราะบ่อเกิดแห่งการงานบ้าง
    • เพราะบ่อเกิดแห่งศิลปะบ้าง
    • เพราะฐานแห่งวิชชาบ้าง
    • เพราะการศึกษาเล่าเรียนบ้าง
    • เพราะปฏิภาณบ้าง
    • เพราะวัตถุอื่นบ้าง

อ้างอิง

แก้
  1. มหานิทเทส พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๙ ข้อที่ ๘๒๙ หน้า ๔๐๕- ๔๐๗
  2. โสฬสมาณวกปัญหานิทเทส พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๐ ข้อที่ ๕๗๘ หน้า ๒๒๒
  • หนังสือแบบเรียนนักธรรมโท